ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

วันสุขภาพจิตโลก World Mental Health Day 2020 (10 ตุลาคม 63)

วันสุขภาพจิตโลก World Mental Health Day 2020 (10 ตุลาคม 63) Thumb HealthServ.net
วันสุขภาพจิตโลก World Mental Health Day 2020 (10 ตุลาคม 63) ThumbMobile HealthServ.net

รณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของความหวังและพลังใจในการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆไปได้ด้วยสุขภาพจิตที่ดี + กรมสุขภาพจิต จับมือกองปราบและเพจดัง เปิดตัว ทีมปฏิบัติการพิเศษป้องกันการฆ่าตัวตาย HOPE Task Force

วันสุขภาพจิตโลก World Mental Health Day 2020 (10 ตุลาคม 63) HealthServ
10 ตุลาคม 2563 วันสุขภาพจิตโลก : World Mental Health Day 2020
รณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของความหวังและพลังใจในการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆไปได้ด้วยสุขภาพจิตที่ดี
สัญลักษณ์ริบบิ้นสีเขียว : ริบบิ้นสีเขียวเป็นสัญลักษณ์การรับรู้สุขภาพจิต เพื่อแสดงให้คนที่คุณรักหรือคนรอบข้างใส่ใจในสุขภาพจิต

 
วันสุขภาพจิตโลก World Mental Health Day 2020 (10 ตุลาคม 63) HealthServ

กรมสุขภาพจิต จับมือกองปราบและเพจดัง เปิดตัว ทีมปฏิบัติการพิเศษป้องกันการฆ่าตัวตาย HOPE Task Force LINK

กรมสุขภาพจิต จับมือกองปราบและเพจดัง เปิดตัว ทีมปฏิบัติการพิเศษป้องกันการฆ่าตัวตาย HOPE Task Force วันสุขภาพจิตโลก World Mental Health Day 2020 (10 ตุลาคม 63)
กรมสุขภาพจิต จับมือกองปราบและเพจดัง เปิดตัว ทีมปฏิบัติการพิเศษป้องกันการฆ่าตัวตาย HOPE Task Force วันสุขภาพจิตโลก World Mental Health Day 2020 (10 ตุลาคม 63)
กรมสุขภาพจิต จับมือกองปราบและเพจดัง เปิดตัว ทีมปฏิบัติการพิเศษป้องกันการฆ่าตัวตาย HOPE Task Force
 
วันนี้ (9 ตุลาคม 2563) ในงานวันสุขภาพจิตโลก 2563 กรมสุขภาพจิตเปิดตัวนวัตกรรมด้านสุขภาพจิตรูปแบบใหม่ภายใต้ความร่วมมือกับ กองบังคับการปราบปราบ และ Social Influencer ชื่อดัง 3 เพจ ได้แก่ หมอแล็บแพนด้า Drama-addict และ แหม่มโพธิ์ดำ จัดตั้งทีมปฏิบัติการพิเศษป้องกันการฆ่าตัวตาย หรือ HOPE Task Force โดยคำว่า HOPE ย่อมาจาก Helpers of Psychiatric Emergency ซึ่งหมายถึง ผู้ช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตฉุกเฉิน โดยทีมปฏิบัติการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อนำมาใช้ดูแลช่วยเหลือผู้ที่กำลังได้รับผลกระทบหรือมีสัญญานเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในโลกโซเชียลให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
 
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ภารกิจของ HOPE Task Force จะเริ่มตั้งแต่ประชาชนสามารถส่งข้อมูลบุคคลที่มีสัญญานเสี่ยงการฆ่าตัวตายที่ปรากฏอยู่บนโลกโซเชียลให้กับเฟสบุ๊คเพจ หมอแล็บแพนด้า Drama-addict และ แหม่มโพธิ์ดำ เพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม หลังจากนั้นในส่วนกองปราบปรามและกรมสุขภาพจิตจะร่วมกันวางแผนเข้าช่วยเหลือเร่งด่วนในพื้นที่ โดยมีการประสานกับตำรวจในท้องที่และโรงพยาบาลในพื้นที่เพื่อรองรับบุคคลที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายและให้การดูแลจนหมดภาวะฉุกเฉิน และมีการจัดทีมเยียวยาด้านสุขภาพจิตดูแลอย่างต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายซ้ำ นับว่าความร่วมมือในครั้งนี้เป็นนิมิตหมายอันดีในการทำงานด้านสุขภาพจิต ถือเป็นโมเดลต้นแบบในการทำงานด้านสุขภาพจิตแบบบูรณาการในอนาคต และยังจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมไทยอย่างมากมาย โดยทำให้เกิดระบบการช่วยชีวิตที่รวดเร็ว ได้รับความช่วยเหลือทางด้านสุขภาพจิตอย่างฉับไว และมีการติดตามดูแลรักษาและบำบัดเยียวยาในระยะยาวเพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายซ้ำในอนาคต
 
พญ.พรรณพิมล  วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การจัดตั้ง HOPE Task Force ในครั้งนี้ เป็นการรวมตัวกันของ 3 ภาคส่วนที่มีเป้าหมายเดียวกันในการรักษาชีวิตประชาชน และเป็นการนำจุดแข็งของทั้ง 3 ภาคส่วนมารวมไว้ในที่เดียวกัน กรมสุขภาพจิตมีศักยภาพในการเยียวยารักษาปัญหาด้านสุขภาพจิตของประชาชน และบำบัดฟื้นฟูในระยะยาวเพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ด้านกองบังคับการปราบปรามมีศักยภาพในการสืบสวนและประสานงานในการเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วทั่วประเทศ และในด้าน social influencer มีความสามารถในการเข้าถึงสัญญาณเตือนที่ถูกส่งมาจากพี่น้องประชาชนได้อย่างรวดเร็ว เมื่อนำความเข้มแข็งของทั้งสามส่วนมารวมเข้าไว้ด้วยกัน จึงเกิดนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นที่ใดมาก่อน ทีมปฏิบัติการพิเศษป้องกันการฆ่าตัวตายนั้น ในระยะต้นจะเน้นการช่วยเหลือบุคคลที่ส่งสัญญาณความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในโลกออนไลน์เป็นสำคัญ แต่ในอนาคตนั้นจะสามารถขยายความช่วยเหลือไปยังภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพจิตอื่น ๆ นอกจากนั้นในระยะยาว กรมสุขภาพจิตยังมีแผนที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดการกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตายให้กับเจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบปราม เจ้าหน้าที่ตำรวจที่สนใจ และ social influencers อีกด้วย กรมสุขภาพจิตจึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนให้เป็นส่วนนึงของทีมปฏิบัติการพิเศษนี้ เพราะทุกคนสามารถเป็นความหวังแห่งชีวิตของใครสักคนได้เสมอ
 
พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม ผู้บังคับการปราบปราม กล่าวว่า การดำเนินงานนำร่องของ HOPE Task Force ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาและทดสอบความเป็นไปได้ของระบบนี้ จากทีมเล็ก ๆ จากหลายภาคส่วนที่มีความตั้งใจจริงในการช่วยเหลือประชาชน และเราก็เรียนรู้ว่าถ้าเราประสานพลังกัน การดำเนินงานรูปแบบใหม่นี้จะมีความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อประชาชน โดยตั้งแต่ต้นปีชุดเฉพาะกิจก็สามารถช่วยเหลือชีวิตคนที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายไปแล้วไม่น้อยกว่า 60 ราย พี่น้องประชาชนอาจคุ้นเคยกับกองปราบปรามที่ปฏิบัติภารกิจด้านคดีอาชญากรรม แต่กองปราบปรามถือว่าการช่วยเหลือบุคคลที่ส่งสัญญาณความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายบนโลกโซเชียลนั้น ก็เป็นอีกหนึ่งในภารกิจที่สำคัญของหน่วยงาน เพราะเราเล็งเห็นว่าไม่ว่าการช่วยเหลือประชาชนนั้นจะมาจากรูปแบบใดหรือเรื่องใด หากประชาชนสามารถคลายความทุกข์ได้ ก็ถือเป็นหน้าที่ที่พึงกระทำของพวกเรา
 
นทพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน หรือ หมอแล็บแพนด้า กล่าวว่า ในฐานะที่ผมเป็นตัวแทนของภาคส่วนที่เป็น Social influencers ทั้ง 3 เพจ ได้แก่ หมอแล็บแพนด้า Drama-addict และ แหม่มโพธิ์ดำ ต้องขอเรียนว่าพวกเรารู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมปฏิบัติการพิเศษนี้ ความร่วมมือในครั้งมีลักษณะที่แตกต่างจากความร่วมมือด้านการประชาสัมพันธ์หรือให้ความรู้ทั่วๆไป เพราะ Social influencers และ เพจต่างๆ นั้นจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการพิเศษด้วยตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งพลังของโลกโซเชียลนั้นทำให้เราสามารถรวบรวมข้อมูลได้มหาศาลในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นก็เกิดจากความรักและความห่วงใยที่พวกเรามีให้กันในสังคม ผมเชื่อว่าเราทุกคนคงอยากเห็นความร่วมมือดีดีแบบนี้ถูกพัฒนาต่อไปในอนาคต
 
9 ตุลาคม 2563

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด