จากสถานการณ์ฝุ่นละอองเกินมาตรฐานในช่วงต้นปีของทุกปีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนดแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร/ปริมณฑล และในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางและมาตรการฯ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์2562 และต่อมาในวันที่ 12 กุมภาพันธ์
2562 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ “การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละออง” เป็นวาระแห่งชาติกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ "การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง" และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 5/2562 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562 มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” เพื่อใช้เปนแนวทางปฏิบัติ ในการดําเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในภาพรวมของประเทศ และในพื้นที่วิกฤต โดยการบูรณาการการดําเนินงานร่วมกันในทุกภาคส่วน และเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีขั้นตอน/การปฏิบัติงานที่ชัดเจนในช่วงสถานการณ์วิกฤตปัญหาฝุ่นละอองด้วย 3 มาตรการ ได้แก่
- การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่
- การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) และ
- การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
สารบัญ
บทที่ 1 - บทนำ
1. ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 พิจารณาเห็นว่าปัญหาฝุ่นละอองมีค่าสูงเกินค่ามาตรฐานที่เกิดขึ้นเป็นประจำและเป็นปัญหาในหลายจังหวัดของพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสุขภาพของประชาชนและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเป็นปัญหาสำคัญไปยังจังหวัดข้างเคียงในภูมิภาคอีกด้วย โดยแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองที่สำคัญได้แก่ การเผาในที่โล่ง การจราจรขนส่ง และอุตสาหกรรม การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เป็นระบบ โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติเพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกลไกหลักร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
2. แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ“การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง”
การขับเคลื่อนวาระแห่งชาติฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 จะดำเนินการโดยจัดทำ แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” พ.ศ. 2562 - 2567 เพื่อให้ทุกภาคส่วนใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว นำ ไปสู่เป้าหมายประเทศ “สร้างอากาศดีเพื่อคนไทย และผู้มาเยือน”
3. สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก
ฝุ่นละออง หมายถึงอนุภาคของแข็งหรือของเหลวที่มีอยู่ในอากาศ ฝุ่นละอองเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ทั้งโดยธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์สำหรับปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองมักเกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่ เกิดจากการเผาไหม้ต่างๆ เช่น การเผาไหม้ของน้ำ มันดีเซล การเผาเศษวัชพืช ขยะ และปฏิกิริยาเคมีในอากาศโดยมีแหล่งกำเนิดมาจาก
- การคมนาคมและขนส่ง
จากสถิติกรมการขนส่งทางบก รายงานสถิติจำนวนรถจดทะเบียนใหม่ในแต่ละปี แนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี2561 มีจำนวนรถจดทะเบียนใหม่ 3.09 ล้านคัน และ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2562 มีจำนวนรถจดทะเบียนใหม่ 0.54 ล้านคัน จากสถิติรถจดทะเบียน พบว่าจำนวนรถที่จดทะเบียนสะสมทั่วประเทศ ณ กุมภาพันธ์ 2562 มี 39.72 ล้านคัน เป็นรถดีเซล 10.93 ล้านคัน โดยในกรุงเทพมหานคร มี 10.33 ล้านคันและเป็นรถดีเซล 2.7 ล้านคัน ซึ่งปริมาณการจำหน่ายน้ำ มันดีเซลในปี2561 ทั่วประเทศ จำนวน 23.09 พันล้านลิตร แบ่งเป็นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 7.09 พันล้านลิตร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ซึ่งปริมาณการจำหน่ายน้ำมันดีเซลทั่วประเทศ จำนวน 22.68 พันล้านลิตร แบ่งเป็นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 6.86 พันล้านลิตร
- การเผาในที่โล่ง
จากข้อมูลสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ที่ได้มีการติดตามตรวจสอบสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ประเทศไทยจากดาวเทียม TERRA และ AQUA ระบบ MODIS ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2561 พบว่า มีจุดความร้อนสะสม (Hotspot) จำนวน 14,565 จุด โดยส่วนใหญ่เกิดจุดความร้อนสะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5,085 จุด และพบสูงสุดในเดือนมีนาคม โดยเมื่อวิเคราะห์แยกตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบจุดความร้อนสะสมสูงสุดในพื้นที่เกษตร ร้อยละ 50 รองลงมาเป็นพื้นที่ สปก.ร้อยละ 19 พื้นที่ชุมชน ร้อยละ 11 พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติร้อยละ 10 พื้นที่ป่าอนุรักษ์ร้อยละ 8 และพื้นที่ริมทางหลวง (50 เมตร) ร้อยละ 2 ตามลำดับ
- ภาคอุตสาหกรรม
จากข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งรายงานสถิติสะสมของโรงงานอุตสาหกรรม ในปี 2560 มีจำนวน 139,446 แห่ง โดยเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 เป็นโรงงานขนาดใหญ่ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องได้รับอนุญาตประกอบกิจการก่อนถึงจะประกอบกิจการได้จำนวน 78,798 โรง การก่อสร้าง มีทั้งกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองโดยตรง เช่น ฝุ่นที่เกิดจากกิจกรรมการก่อสร้าง ฝุ่นจากการทำงานของเครื่องจักร ฝุ่นจากการขนส่งวัสดุก่อสร้าง ฝุ่นจากการเปิดหน้าดิน ฝุ่นที่เกิดจากการเข้า-ออกพื้นที่โครงการก่อสร้าง และในทางอ้อม โดยการก่อสร้างซึ่งทำให้พื้นผิวจราจรลดลง ทำให้การจราจรติดขัด ส่งผลให้การระบายมลพิษจากยานพาหนะสูงขึ้น
- หมอกควันข้ามแดน
เนื่องจากมลพิษทางอากาศสามารถแพร่กระจายไปได้ในระยะไกล ทำให้ในช่วงต้นปี ระหว่างเดือนมกราคม - เมษายน ที่ประเทศไทยเกิดปัญหาสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากหมอกควันข้ามแดนจากข้อมูลสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ที่ได้มีการติดตามตรวจสอบสถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ประเทศไทยและประเทศในอนุภูมิภาคแม่โขง จากดาวเทียม TERRA และ AQUA ระบบ MODIS ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2561 พบว่า
• ประเทศเมียนมา มีจุดความร้อนสะสมสูงที่สุด จำนวน 41,204 จุด ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2560 ที่พบจุดความร้อนสะสม 48,041 จุด
• รองลงมา คือ สปป.ลาว พบจุดความร้อนสะสม 27,417 จุด ลดลงจากปี 2560 ที่พบจุดความร้อน 28,496 จุด
• ประเทศกัมพูชา พบจุดความร้อนสะสม 23,106 จุด เพิ่มขึ้นจากปี2560 ที่พบจุดความร้อน 20,890 จุด
• ประเทศไทย พบจุดความร้อนสะสม 14,565 จุด ลดลงจากปี2560 ที่พบจุดความร้อน16,006 จุด
• ประเทศเวียดนาม พบจุดความร้อนสะสม 9,593 จุด เพิ่มขึ้นจากปี2560 ที่พบจุดความร้อน 8,867 จุด ตามลำดับ
สำหรับสถานการณ์หมอกควันภาคใต้ประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบในช่วงกลางปีระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเผาป่าพรุบนเกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียวในประเทศอินโดนีเซียในช่วงฤดูแล้งซึ่งเมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าวจะพัดเอาหมอกควันจากเกาะสุมาตราเข้าสูุ่ ภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้หลายจังหวัดภาคใต้ได้รับผลกระทบไปด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังสถานการณ์ต่อเนื่อง แบ่งเป็น
- ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เป็นฝุ่นละอองที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากเมื่อหายใจเข้าไปสามารถเข้าไปสะสมในระบบทางเดินหายใจ
- ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นฝุ่นละอองที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่า เนื่องจากสามารถเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้
จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศโดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติจำนวน 63 สถานีใน 33 จังหวัด พบว่าสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะในช่วงต้นปี และปลายปีโดยพื้นที่ที่มีปัญหามลพิษทางอากาศจะเป็นพื้นที่เมืองใหญ่ที่มีการจราจรหรือบรรทุกขนส่งหนาแน่น เช่น กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา ขอนแก่น เป็นต้น และพื้นที่ที่มีการเผาในที่โล่ง เช่น พื้นที่ภาคเหนือ กาญจนบุรี ขอนแก่น เป็นต้น พื้นที่เขตอุตสาหกรรม เช่น สระบุรี เป็นต้น
สาเหตุหลักของปัญหาฝุ่นละออง
- แหล่งกำเนิด : ฝุ่นละอองมีแหล่งกำเนิดมาจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล การเผาในที่โล่ง (การเผาวัสดุการเกษตร การเกิดไฟป่า การเผาขยะกิ่งไม้ใบไม้) โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
- สภาวะทางอุตุนิยมวิทยา : ในช่วงปลายฤดูหนาวของทุกปีบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมเป็นระลอกๆ ทำให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงโดยทั่วไป โดยมีอากาศเย็นถึงหนาวและหนาวจัดบางพื้นที่ แต่มีบางช่วงความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าวมีกำลังอ่อนลงจึงส่งผลให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนลงหรือมีลมสงบตามไปด้วย ประกอบกับมีการผกผันกลับของอุณหภูมิ(Inversion) ในระดับล่าง ส่งผลให้ระดับเพดานการลอยตัวและการกระจายตัวของฝุ่นละอองอยู่ในระดับต่ำ การไหลเวียนและถ่ายเทของอากาศไม่ดีจึงทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละอองในบรรยากาศและมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น
โดยพื้นที่ที่มีปัญหา/พื้นที่เสี่ยงต่อปัญหาฝุ่นละอองซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบสถานการณ์ฝุ่นละอองเกินมาตรฐานในบางช่วงเวลา ได้แก่
- พื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด
ช่วงหน้าแล้งตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายนของทุกปีมักพบการเพิ่มสูงขึ้นของฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยเนื่องจากความแห้งแล้ง ประกอบกับเกษตรกรจะทำการเผาเศษวัสดุเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกสภาวะอากาศที่แห้งและนิ่ง ภูมิประเทศบางแห่งเป็นแอ่งกระทะทำให้ฝุ่นละอองไม่แพร่กระจายและแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศได้นาน โดยสาเหตุหลักของปัญหาหมอกควันในแต่ละพื้นที่มีดังนี้
(1) พื้นที่ป่าอนุรักษ์และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
เกิดจากการเผาเพื่อบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำกินการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แต่ด้วยความสูงและความลาดชัน เกษตรกรจึงต้องใช้วิธีการเผาเพื่อกำจัดเศษวัสดุการเกษตร การเผาเพื่อหาของป่าและล่าสัตว์รวมถึงการเผาพื้นที่รอบป่าและลุกลามเข้าสู่ป่าเกิดเป็นไฟป่า
(2) พื้นที่เกษตร
จากข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินใน 9 จังหวัดภาคเหนือ และเนื้อที่ประเทศไทย ปี 2556 พบพื้นที่ปลูกข้าวและข้าวโพดคิดเป็นร้อยละ 34 และ 26 ของพื้นที่การเกษตรในภาคเหนือตามลำดับ ซึ่งเกษตรกรจะเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกและกำจัดเศษวัสดุเช่นเดียวกับการเกษตรในพื้นที่ป่า
- กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ในปี 2560 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังคงพบว่าปริมาณฝุ่นละออง มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานในช่วงต้นปี ทั้งนี้แหล่งกำเนิดหลักมาจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล การเผาในที่โล่ง โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสถิติจำนวนรถที่จดทะเบียนสะสม ณ เดือนธันวาคม 2561 พบว่ามีมากกว่า 12 ล้านคัน นอกจากนี้ยังมาจากการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้า อาคารสูง ระบบสาธารณูปโภค ยังส่งผลให้การจราจรติดขัดทำให้ปริมาณการระบายมลพิษเพิ่มขึ้น
- พื้นที่เสี่ยงปัญหาหมอกควันภาคใต้
พื้นที่ภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองที่มีสาเหตุหลักมาจากการเผาพื้นที่พรุในประเทศอินโดนีเซีย
- พื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสระบุรี
พื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสระบุรีเป็นพื้นที่ที่มีการประกอบกิจการโรงโม่บดหรือย่อยหิน เหมืองหิน โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานปูนขาว โรงแต่งแร่ และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งการจราจรและบรรทุกขนส่งในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาฝุ่นละออง PM10
- พื้นที่จังหวัดอื่นๆ ที่เสี่ยงปัญหาฝุ่นละออง
นอกจากพื้นที่ที่มีปัญหาฝุ่นละอองซึ่งนำ ไปสู่การระดมสรรพกำลังในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องยังพบว่ายังมีพื้นที่จังหวัดอื่นๆ อีกหลายพื้นที่ที่ประสบปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในบางช่วงเวลา เช่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดกาญจนบุรีเป็นต้น ซึ่งในปี 2561 และปี 2562 ที่ผ่านมาพบว่า พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าฝุ่นละอองเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินมาตรฐานในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม ซึ่งเป็นช่วงที่พบจำนวนจุดความร้อนสะสมในพื้นที่สูง เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนจุดความร้อนตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่าในพื้นที่เกษตรมีจุดความร้อนสูงสุดถึงร้อยละ 50 ของจำนวนจุดความร้อนในพื้นที่ทั้งหมด
จังหวัดกาญจนบุรีเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มักพบปริมาณฝุ่นละอองเกินมาตรฐานในช่วงระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม ซึ่งเมื่อพิจารณาจำนวนจุดความร้อน พบว่าจำนวนจุดความร้อนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีมีจำนวน 562 จุด โดยอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ร้อยละ 56 พื้นที่เกษตร ร้อยละ 14 พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติร้อยละ 11 พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ ร้อยละ 13
4. ขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง”
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีการดำเนินงาน โดยสรุปได้ดังนี้
- 4.1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง (พ.ศ. 2562 - 2564) และระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2567) เพื่อนำ ไปสู่เป้าหมายในการ “สร้างอากาศดีเพื่อคนไทย และผู้มาเยือน”
- 4.2 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 2/2562 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 มีมติ
1) เห็นชอบกับแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระยะเร่งด่วน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
2) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ นำ ความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไปปรับปรุงมาตรการระยะกลางและระยะยาว เสนอคณะกรรมการควบคุมมลพิษพิจารณาในรายละเอียด พร้อมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนนำ เสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาต่อไป และ
3) มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ นำ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นวาระเร่งด่วนในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562
- 4.3 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้นำ มติและความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไปปรับปรุงแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร/ปริมณฑลและผนวกพื้นที่ จังหวัดอื่นเข้ามาด้วย และนำ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นวาระเร่งด่วน
- 4.4 คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์2562 มีมติ
1) รับทราบแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร/ปริมณฑลและในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ทั้งนี้ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงแนวทางและมาตรการฯ ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยในส่วนของมาตรการระยะเร่งด่วน ขั้นปฏิบัติการ ระดับที่ 2 ระดับที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีค่ามากกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ให้พิจารณากำหนดแนวทางและมาตรการเพิ่มเติมเพื่อขอความร่วมมือให้ประชาชนใช้รถยนต์ดีเซลเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เนื่องจากไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซลเป็นสาเหตุสำ คัญประการหนึ่งของการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 รวมทั้งให้ปรับเพิ่มแนวทางและมาตรการฯ ให้ครอบคลุมถึงการดำเนินการด้านสาธารณสุขในการป้องกันและดูแลสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ด้วย และ
2) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนให้ถูกต้องและชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินการตามแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ดังกล่าว รวมทั้งมาตรการเร่งด่วนต่างๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น กรณีการปิดสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและกรุงเทพมหานคร มิใช่เป็นการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 หรือลดสาเหตุของการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กโดยตรง แต่มีเจตนารมณ์สำ คัญที่จะปกป้องคุ้มครองเด็กที่ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีความเปราะบางและอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว และกรณีการฉีดพ่นละอองน้ำ ในอากาศจากอาคารสูงและโดยเครื่องบินในพื้นที่ต่างๆ อาจไม่สามารถลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ได้โดยตรงแต่เป็นการดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับมาตรการอื่นอีกหลายมาตรการที่หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการอยู่ซึ่งจะช่วยให้ลดปริมาณฝุ่นละอองในภาพรวมลงได้
- 4.5 คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 พิจารณาเห็นว่าปัญหาฝุ่นละอองสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกำลังเป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวไปยังจังหวัดอื่นในภูมิภาคอีกด้วย การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เป็นระบบ โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติเพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกลไกหลักร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป
- 4.6 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้นำ มติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 ยกร่างแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร/ปริมณฑล และในพื้นที่จังหวัดต่างๆ เสนอคณะกรรมการควบคุมมลพิษในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งคณะกรรมการควบคุมมลพิษมีมติให้กรมควบคุมมลพิษนำ ความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมมลพิษไปปรับปรุงและจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง”
- 4.7 นายกรัฐมนตรีได้มีคำ สั่งเห็นชอบ/ดำเนินการตามที่คณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษของนายกรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนเกินมาตรฐาน และเสนอให้ปี 2562 เป็น “ปีแห่งความร่วมมือต่อต้านการเกิดมลพิษทางอากาศของอาเซียน”
- 4.8 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมควบคุมมลพิษ ได้นำ ความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมมลพิษไปปรับปรุงและจัดทำร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ“การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” โดยได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กองบังคับการตำ รวจจราจร กรมธุรกิจพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้กรมทางหลวง กรมการปกครอง พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติฯ แล้ว เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2562
- 4.9 กรมควบคุมมลพิษ ได้นำ ร่างแผนปฏิบัติการฯ เสนอคณะกรรมการควบคุมมลพิษในการประชุมเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 โดยคณะกรรมการควบคุมมลพิษ มีมติเห็นชอบและให้รับข้อสังเกตของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ไปปรับปรุงและแจ้งเวียนให้หน่วยงาน และเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต่อไป โดยกรมควบคุมมลพิษได้ปรับปรุงตามความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ
- 4.10 วันที่ 22 เมษายน 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบแนวทางในการปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการฯ โดยให้กรมควบคุมมลพิษปรับแก้ไขมาตรการให้ชัดเจน กำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน วิธีการดำเนินงาน และกรอบเวลา และเสนอเข้าคณะกรรมการควบคุมมลพิษ และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
- 4.11 วันที่ 15 พฤษภาคม 2562 คณะกรรมการควบคุมมลพิษให้ความเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการฯ และให้ปรับแก้ไขตามความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ และนำ เสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
บทที่ 2 - แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง”
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ“การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” เป็นการแก้ไขปัญหาซึ่งจะต้องพิจารณาผลกระทบในทุกมิติโดยเฉพาะผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตปกติมากเกินไป โดยมีเป้าหมาย “สร้างอากาศดีเพื่อคนไทย และผู้มาเยือน”
2.1 กรอบแนวคิด
การป้องกันไว้ก่อน (Precautionary Principle) เป็นหลักการจัดการเชิงรุกที่เน้นการป้องกันผลกระทบล่วงหน้าโดยการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง เพื่อป้องกันความเสียหาย/ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และคำนึงถึงกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือสิ่งแวดล้อมเพื่อนำ ไปสู่เป้าหมายระดับชาติ แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาตินี้ จึงได้กำ หนดมาตรการ/แนวทางการดำ เนินงานในการจัดการคุณภาพอากาศเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของประเทศไทยในอนาคตให้มีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มตั้งแต่พัฒนาระบบการบริหารจัดการมลพิษ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือกลไก ระบบฐานข้อมูล การเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงและใช้ในการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์วิกฤต การพัฒนาอุตสาหกรรม/เทคโนโลยีเพื่อลดและควบคุมการระบายมลพิษจากแหล่งกำเนิด และจัดการมลพิษในพื้นที่เสี่ยง การส่งเสริมทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมและจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะการให้ความสำ คัญกับการจัดการปัญหามลพิษในเชิงพื้นที่ รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดนวัตกรรมและให้นำ ไปประยุกต์ใช้ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคุณภาพอากาศให้ดียิ่งขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของแหล่งกำเนิดผู้ประกอบการ และประชาชนด้วยการจูงใจ การออกกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และกำหนดบทลงโทษแก่ผู้ก่อมลพิษเพื่อลดมลพิษตั้งแต่ต้นทาง
2.2 ตัวชี้วัด
- จำนวนวันที่ปริมาณฝุ่นละอองอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้น
- จำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ภายในประเทศลดลง
- จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ (ที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ) ลดลง
2.3 วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการดําเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในภาพรวมของประเทศ และในพื้นที่วิกฤตโดยการบูรณาการการดําเนินงานร่วมกันในทุกภาคส่วน
- เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีขั้นตอน/การปฏิบัติงานที่ชัดเจนในช่วงสถานการณ์วิกฤตปัญหาฝุ่นละออง
2.4 มาตรการและแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ มาตรการและแนวทางการดำ เนินงานขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง”
เป็นมาตรการที่กำหนดขึ้นโดยมุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปัญหา/พื้นที่เสี่ยงปัญหาฝุ่นละอองในช่วงวิกฤต ได้แก่ พื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พื้นที่จังหวัดอื่นๆ ที่เสี่ยงปัญหาฝุ่นละออง เช่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดกาญจนบุรีเป็นต้น การป้องกันและลดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำ เนิด) ซึ่งจะพิจารณาจากแหล่งกำ เนิดหลักที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง เช่น ยานพาหนะ การเผาในที่โล่ง ภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง หมอกควันข้ามแดน รวมถึงภาคครัวเรือน และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยประกอบด้วย 3 มาตรการ
- มาตรการที่1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่
- มาตรการที่ 2 การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด)
- มาตรการที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ
มาตรการที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่
ผลผลิต : จำนวนวันที่ฝุ่นละอองอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานในช่วงวิกฤต เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี
หน่วยงานหลัก: กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร จังหวัด
มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ มุ่งเน้นการบริหารจัดการ/ควบคุมมลพิษจากแหล่งกำ เนิดในเชิงพื้นที่ โดยการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาในช่วงวิกฤตสถานการณ์ รวมถึงการดำเนินงานในระยะเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อรองรับสถานการณ์ในช่วงวิกฤตในพื้นที่ที่มีปัญหาและพื้นที่เสี่ยงปัญหาฝุ่นละออง ได้แก่
- พื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ
- พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- พื้นที่ประสบปัญหาหมอกควันภาคใต้
- พื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสระบุรี
- พื้นที่จังหวัดอื่นที่เสี่ยงปัญหาฝุ่นละออง เช่น จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาญจนบุรีเป็นต้น
โดยมีแนวทางการดำ เนินงานในการบริหารจัดการดังนี้
1.1 ทบทวน วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลสถานการณ์ PM2.5 ที่เกิดขึ้นและการดำเนินการที่ผ่านมาเพื่อถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองที่ผ่านมา
1.2 ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉินและจัดทำแผนเผชิญเหตุ/แผนตอบโต้สถานการณ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยแบ่งการทำ งานออกเป็น 3 ช่วง คือ
- 1) ช่วงก่อนวิกฤต
- 2) ช่วงระหว่างเกิดสถานการณ์วิกฤต (กำหนดให้มีโครงสร้าง/กลไกการบริหารจัดการแผนเผชิญเหตุ/มาตรการตอบโต้สถานการณ์ที่จะดำ เนินการในแต่ละช่วงระดับของฝุ่นละอองหรือ AQI) และ
- 3) ช่วงหลังวิกฤต
1.3 การดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ/แผนตอบโต้สถานการณ์ในช่วงวิกฤตตามที่กำหนดไว้
ใช้ระบบบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) เป็นกลไกจัดการปัญหาฝุ่นละอองโดยจัดตั้งศูนย์บัญชาการระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร/ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบปัญหาเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์เพื่อให้การอำนวยการสั่งการในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองมีเอกภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างเกิดสถานการณ์วิกฤต (ธันวาคม - เมษายน) เป็นขั้นปฏิบัติการช่วงปริมาณ PM2.5 เกินมาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ สามารถปฏิบัติได้ทันทีตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ฝุ่นละอองโดยได้กำหนดเป็น 4 ระดับ ดังนี้
- ระดับที่ 1 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ให้ส่วนราชการทุกหน่วยต้องดำ เนินการตามภารกิจ อำนาจหน้าที่และกฎหมายที่มีอยู่ให้ครบถ้วนตามสภาวการณ์ปกติ เพื่อควบคุมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑลให้อยู่ในระดับปกติ
- ระดับที่ 2 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าระหว่าง 51 - 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ให้ทุกส่วนราชการต้องดำ เนินการเพิ่มและยกระดับมาตรการต่างๆ ให้เข้มงวดขึ้น ในระดับนี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบปัญหาฝุ่นละอองเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ สำหรับส่วนราชการอื่นๆเช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยสนับสนุนในการปฏิบัติการ
- ระดับที่ 3 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าระหว่าง 76 - 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
และได้มีการดำเนินการในระดับที่ 2 แล้ว แต่สถานการณ์ฝุ่นละอองยังไม่ลดลง และเมื่อคาดการณ์แล้วพบว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบปัญหาฝุ่นละอองในการใช้กฎหมายที่มีอยู่ เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติพ.ศ. 2550 เป็นต้น เพื่อเข้าไปควบคุมพื้นที่หรือควบคุมแหล่งกำเนิดที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือมีผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดอาจสั่งการตามกฎหมายให้หยุดกิจกรรมใดๆ เพื่อให้คุณภาพอากาศกลับสู่สภาวะปกติโดยคำ แนะนำ ของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ในการให้ข้อเสนอแนะ สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการและพิจารณากำ หนดมาตรการควบคุมแหล่งกำ เนิดมลพิษ เพื่อระงับยับยั้งสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
- ระดับที่ 4 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีค่ามากกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและมีการดำเนินการในระดับที่ 3 แล้ว แต่สถานการณ์ฝุ่นละอองยังไม่ลดลงและมีแนวโน้มสูงขึ้นมากกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ต่อเนื่อง แนวทางปฏิบัติกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกรณีเร่งด่วนพิเศษ และพิจารณากลั่นกรองแนวทางในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยจะต้องนำ กราบเรียนนายกรัฐมนตรี เป็นการเร่งด่วน เพื่อพิจารณาในการสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นแนวทางหรือมาตรการในการลดมลพิษจากแหล่งกำเนิดของหน่วยงานต่างๆ ต่อไป
มาตรการที่ 2 การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด)
มุ่งให้ความสำคัญในการควบคุมและลดการระบายมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดรวมถึงลดจำนวนแหล่งกำเนิดมลพิษ
- มีการนำน้ำมันเชื้อเพลิงมีกำมะถันไม่เกิน 10 ppm มาใช้ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลก่อนกฎหมายบังคับใช้และกำหนดใช้ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567
หน่วยงานหลัก : กระทรวงพลังงาน
- ไม่ให้มีการเผาในไร่อ้อยร้อยละ 100 ภายในปี พ.ศ. 2565
หน่วยงานหลัก : กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย)
- บังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษจากรถยนต์ใหม่ Euro 6/VI ภายในปี พ.ศ. 2565
หน่วยงานหลัก : กระทรวงอุตสาหกรรม
- จำนวนจุดความร้อนในพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร พื้นที่ริมทาง และพื้นที่ชุมชน ลดลง
หน่วยงานหลัก : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร จังหวัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงคมนาคม
- จำนวนวันที่ฝุ่นละอองอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ในช่วงวิกฤตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี
หน่วยงานหลัก : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพลังงาน
กระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร
กระทรวงพาณิชย์กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานตำรวจแห่งชาติกระทรวงสาธารณสุข
โดยมีแนวทางการดำเนินงานในการควบคุมและลดมลพิษจากแหล่งกำ เนิดแต่ละประเภท ซึ่งประกอบด้วยมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้
- 2.1 ควบคุมและลดมลพิษจากยานพาหนะ
มาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 - 2564) ประกอบด้วย
• ให้ใช้มาตรการจูงใจเพื่อส่งเสริมให้มีการนำ น้ำ มันเชื้อเพลิงมีกำ มะถันไม่เกิน 10 ppm มาจำหน่ายก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้บังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ Euro 5 ภายในปี 2564
• ให้เร่งรัดให้มีการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ทั้งระบบหลักและระบบรองให้มีประสิทธิภาพ ปลอดมลพิษ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ เพิ่มความเข้มงวดมาตรฐานและวิธีการตรวจวัดการระบายมลพิษจากรถยนต์ ปรับลดอายุรถที่จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถประจำ ปีพัฒนาระบบการตรวจสภาพรถยนต์ให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลผลการตรวจสภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มทางเลือกในการเดินทางสัญจรให้ประชาชนที่สะดวกและปลอดภัย เช่น ทางจักรยาน ทางเดินเท้าที่สะดวกและปลอดภัย เป็นต้น
• การศึกษาความเหมาะสมในการจำกัดอายุการใช้งานรถยนต์ รวมถึงระบบการจัดการซากรถยนต์ที่หมดอายุการใช้งาน
• การจัดการคมนาคมขนส่งด้าน Demand Side Management ให้ควบคุมการนำ รถยนต์ใช้แล้วในต่างประเทศ (ใช้ส่วนตัว) เข้ามาในประเทศ
• การควบคุมการนำ เข้าเครื่องยนต์เก่าใช้แล้ว (ทั้งรถและเรือ) โดยต้องเป็นไปตามมาตรฐานการระบายมลพิษสำหรับรถผลิตใหม่ที่ประเทศไทยบังคับใช้อยู่ ณ เวลาที่นำเข้า และต้องมีอายุไม่เกิน 5 ปีใช้มาตรการจูงใจเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า
• ให้กำหนดพื้นที่และมาตรการในการจำกัดจำนวนรถเข้าในเขตใจกลางเมือง ให้มีการซื้อทดแทนรถราชการเก่าด้วยรถยนต์ไฟฟ้า
มาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2567) ประกอบด้วย
• ปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันไม่เกิน 10 ppm ให้แล้วเสร็จภายในปีพ.ศ. 2566 และบังคับใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันไม่เกิน 10 ppm ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
• บังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ Euro 6 ภายในปี 2565
• ใช้มาตรการจูงใจเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า
• การเชื่อมโยงโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะทั้งระบบหลัก และระบบรองให้มีประสิทธิภาพ ปลอดมลพิษ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ
• เปลี่ยนรถโดยสารประจำทางของ ขสมก. ทั้งหมดให้เป็นรถที่มีมลพิษต่ำ (รถไฟฟ้า/NGV/มาตรฐาน Euro VI)
• การจัดการคมนาคมขนส่งด้าน Demand Side Management เพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงบริการของประชาชนผู้ใช้บริการ ปรับปรุง/แก้ไขการเก็บภาษีประจำปี
• สำหรับรถยนต์ใช้งาน การควบคุมการระบายฝุ่นจากการขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือและจากเรือสู่เรือ
• การพิจารณาการย้ายท่าเรือคลองเตยออกจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การห้ามนำ เข้าเครื่องยนต์ใช้แล้วทุกประเภท
• การซื้อทดแทนรถราชการเก่าด้วยรถยนต์ไฟฟ้า
• ส่งเสริม/สนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ
• การควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจาก Non-road Engine
- 2.2 ควบคุมและลดมลพิษจากการเผาในที่โล่ง/ภาคการเกษตร
มาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 - 2564) ประกอบด้วย
• ส่งเสริมให้มีการจัดการเศษวัสดุทางการทำ เกษตร โดยการนำ มาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการเผาในที่โล่ง
• ห้ามไม่ให้มีการเผาในพื้นที่ชุมชน ริมทาง และเผาขยะโดยเด็ดขาด
• การเพิ่มประสิทธิภาพของท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอย
• ยกระดับการป้องกันไฟป่าและจัดการไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพ
• การใช้มาตรการทางสังคมกับผู้ลักลอบเผาป่า •
กำหนดมาตรการทางกฎหมายโดยการออกระเบียบกำหนดให้โรงงานน้ำตาลรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกินร้อยละ 20 ต่อวัน ภายในปี2564
• กำหนดมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐในการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้
• กำหนดพื้นที่ปลอดการเผาอ้อยเพื่อเป็นจังหวัดต้นแบบปลอดการเผาอ้อย ร้อยละ 100 จำนวน 5 จังหวัด ในปี 2563
• ส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร
• การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ที่มีการเผา
• การเพิ่มประสิทธิภาพของท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อไม่ให้มีการกำจัดโดยการเผา
• ควบคุมเตาเผามูลฝอยติดเชื้อของสถานพยาบาลเพื่อไม่ให้มีการกำจัดโดยการเผาในที่โล่ง
มาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2567) ประกอบด้วย
• ให้มีการกำหนดระเบียบหรือแนวปฏิบัติในการจัดการเศษวัสดุจากการทำเกษตรประเภทต่างๆ โดยให้มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้มีการเผาในที่โล่ง
• ห้ามไม่ให้มีการเผาในที่โล่งและเผาขยะโดยเด็ดขาด
• ให้มีการพิจารณาการพัฒนาระบบหรือยกระดับโดยผนวกมิติด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในกระบวนการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีหรือมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร
• สำหรับพืชเกษตรที่มักมีการเผาวัสดุการเกษตรก่อนหรือหลังการเก็บเกี่ยวให้มีความเข้มงวดขึ้น
• ใช้มาตรการหรือกลไกทางเศรษฐศาสตร์หรือมาตรการทางสังคมผลักดันให้เกิดแนวทางรับซื้อสินค้าจากเกษตรกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานทางการเกษตร
• การใช้มาตรการทางสังคมกับผู้ลักลอบเผาป่า
• การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ที่มีการเผา
• กำหนดมาตรการทางกฎหมายโดยการออกระเบียบ กำหนดให้โรงงานน้ำตาลรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกินร้อยละ 0 - 5 ต่อวัน ภายในปี 2565 เพื่อให้อ้อยไฟไหม้หมดไปภายในปี 2565
• ป้องกันไฟป่าและจัดการไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพ
• การเพิ่มประสิทธิภาพของท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อไม่ให้มีการกำจัดโดยการเผา
• ควบคุมเตาเผามูลฝอยติดเชื้อของสถานพยาบาลเพื่อไม่ให้มีการกำจัดโดยการเผาในที่โล่ง
• กำหนดแนวทางการจัดการปุ๋ยไนโตรเจน รวมถึงปรับปรุงการจัดการมูลสัตว์ในภาคปศุสัตว์
- 2.3 ควบคุมและลดมลพิษจากการก่อสร้างและผังเมือง
มาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 - 2564) ประกอบด้วย
• กำหนดกฎระเบียบมาตรการและเกณฑ์ปฏิบัติที่ดีในการควบคุมฝุ่นละอองจากการก่อสร้างประเภทต่างๆ
• ส่งเสริมให้มีการจัดทำผังเมืองและการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะมีผลต่อการระบายอากาศและการสะสมของมลพิษทางอากาศ
• การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ที่ทำ ให้กรวด หิน ดิน เลน ทราย หรือเศษวัตถุก่อสร้างตกหล่น รั่วไหล ปลิว ฟุ้งกระจายลงบนถนน
• ส่งเสริมการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองให้ได้ตามมาตรฐานสากล รวมถึงรณรงค์และสร้างแรงจูงใจให้องค์กรรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการในลักษณะการดำ เนินกิจกรรมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในการเพิ่มและการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน
มาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2567) ประกอบด้วย
• บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ที่กระทำ การใดๆ ที่ทำ ให้กรวด หิน ดิน เลน ทราย หรือเศษวัตถุก่อสร้าง ตกหล่น รั่วไหล ปลิว ฟุ้งกระจายลงบนถนน
• ส่งเสริมการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองให้ได้ตามมาตรฐานสากล รวมถึงรณรงค์และสร้างแรงจูงใจให้องค์กรรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการในลักษณะการดำ เนินกิจกรรมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในการเพิ่มและการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน
- 2.4 ควบคุมและลดมลพิษจากอุตสาหกรรม
มาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 - 2564) ประกอบด้วย
• กำหนดมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศในรูป Loading ในพื้นที่ที่มีปัญหาฝุ่นละอองโดยคำ นึงถึงความสามารถหรือศักยภาพในการรองรับมลพิษทางอากาศของพื้นที่
• ติดตั้งระบบตรวจสอบการระบายมลพิษทางอากาศแบบอัตโนมัติต่อเนื่องที่ปล่องของโรงงานอุตสาหกรรม จำพวก 3 เตาเผาเชื้อเพลิงและหม้อไอน้ำ หรือแหล่งกำเนิดความร้อนที่มีขนาดตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด และรายงานผลผ่านระบบ on-line ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม การจัดทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ
มาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2567) ประกอบด้วย
• ทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล
• ปรับปรุงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรม เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือกในการผลิตไฟฟ้า
- 2.5 ควบคุมและลดมลพิษจากภาคครัวเรือน
มาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 - 2564) และมาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2567)
• โดยเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องในการสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน
• พัฒนาและส่งเสริมการใช้เตาหุงต้มและเตาปิ้งย่าง ปลอดมลพิษ
• พัฒนาและส่งเสริมการใช้เตาเผาอิฐและถ่านปลอดมลพิษ
มาตรการที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ
เป็นการพัฒนาระบบ เครื่องมือ กลไกในการบริหารจัดการ รวมถึงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจและกำหนดแนวทางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาในอนาคต ประกอบด้วยมาตรการระยะสั้นและระยะยาว
- เครือข่ายการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ภายในปี2567
หน่วยงานหลัก :
• กระทรวงมหาดไทย
• กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- มีเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการ
• ระบบฐานข้อมูลด้านมลพิษ/สิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสุขภาพ 1 ระบบ
• ระบบคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละออง 1 ระบบ
• กลไกความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อลดมลพิษข้ามแดน
หน่วยงานหลัก :
• กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
• กระทรวงสาธารณสุข
• กระทรวงการอุดมศึกษา
• วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
• กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม
• กระทรวงต่างประเทศ
• กระทรวงกลาโหม
• กระทรวงมหาดไทย
• กระทรวงคมนาคม
โดยมีแนวทางการดำเนินงานในการพัฒนาระบบ เครื่องมือ กลไกในการบริหารจัดการมลพิษ ดังนี้
- 3.1 พัฒนาเครือข่ายการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ
มาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 - 2564) และมาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2567)
โดยเป็นการดำ เนินงานต่อเนื่องในการขยายเครือข่ายการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศและให้ท้องถิ่นติดตามตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ของตนเอง พัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการดำ เนินการติดตามการตรวจสอบคุณภาพอากาศเพื่อให้มีการเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่
- 3.2 ทบทวน/ปรับปรุงกฎหมาย/มาตรฐาน/แนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับสถานการณ์
มาตรการระยะสั้น (พ.ศ.2562 - 2564) ประกอบด้วย
• การกำหนดค่ามาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศเฉลี่ยรายปีให้เป็นไปตามเป้าหมายระยะที่ 3 ขององค์การอนามัยโลก (WHO IT-3)
• การปรับปรุง พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 รวมทั้งศึกษาความเหมาะสมเรื่องกฎหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) รวมถึงการพิจารณาความเหมาะสมในการจัดระเบียบการเผาภาคการเกษตร
มาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2567) ประกอบด้วย
• พิจารณากำหนดค่ามาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ให้เป็นไปตามเป้าหมายระยะที่ 3 ขององค์การอนามัยโลก (WHO IT-3)
- 3.3 ส่งเสริมการวิจัย/พัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการติดตามตรวจสอบ การตรวจวิเคราะห์และนวัตกรรมเพื่อลดมลพิษทางอากาศ เพื่อนำ ไปประยุกต์ใช้ด้านการจัดการคุณภาพอากาศ รวมถึงเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดองค์ความรู้
มาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 - 2564) ประกอบด้วย
• ดำเนินโครงการนำ ร่องเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการติดตั้งอุปกรณ์กรองฝุ่น (Diesel Particulate Filter,DPF) ในรถใช้งาน
• การจัดทำคู่มือการเรียนการสอนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและข้อควรปฏิบัติในการร่วมกันลดโลกร้อนเพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการลดมลพิษทางอากาศ (รวมถึงสาเหตุ/การป้องกันการเกิดฝุ่นละออง) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายประชาสังคมเพื่อสร้างความตระหนักรู้และสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน ประชาชน
• ส่งเสริมการมีส่วนร่วมสร้างความตระหนักและปรับพฤติกรรมของประชาชนในการลดการปล่อยมลพิษจากกิจกรรมต่างๆ
มาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2567) ประกอบด้วย
• ศึกษาความเหมาะสมในการใช้เครื่องมือการตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบเซนเซอร์
• การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดองค์ความรู้รวมทั้งสร้างเครือข่ายประชาสังคม เพื่อสร้างความตระหนักรู้และสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน ประชาชน
- 3.4 การแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดน
มาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 - 2564) ประกอบด้วย
• การขับเคลื่อนการดำ เนินงานตามข้อตกลงเรื่องมลพิษหมอกควันข้ามแดน : ขับเคลื่อนการดำ เนินงานตามโรดแมปอาเซียนปลอดหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Transboundary Haze - Free Roadmap) และขับเคลื่อนการดำ เนินงานตามแผนปฏิบัติการเชียงราย 2017 เพื่อป้องกันมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน (ChiangRai 2017 Plan of Action for Transboundary Haze Pollution Control in the Mekong Sub-Region)
• การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ โดยใช้กลไกในทุกระดับ ได้แก่ ระดับอาเซียน ระดับคณะกรรมการชายแดนภายใต้กระทรวงกลาโหม และระดับจังหวัดชายแดนคู่ขนานระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดนจากการขนส่ง
มาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2567) ประกอบด้วย
• การขับเคลื่อนการดำ เนินงานตามข้อตกลงเรื่องมลพิษหมอกควันข้ามแดน : ขับเคลื่อนการดำ เนินงานตามโรดแมปอาเซียนปลอดหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Transboundary Haze - Free Roadmap) ขับเคลื่อนการดำ เนินงานตามแผนปฏิบัติการเชียงราย 2017 เพื่อป้องกันมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน (ChiangRai 2017 Plan of Action for Transboundary Haze Pollution Control in the Mekong Sub-Region)
• การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ โดยใช้กลไกในทุกระดับ ได้แก่ ระดับอาเซียน ระดับคณะกรรมการชายแดนภายใต้กระทรวงกลาโหม และระดับจังหวัดชายแดนคู่ขนานระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
- 3.5 จัดทำบัญชีการระบายมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำ เนิด
มาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 - 2564)
• การจัดทำบัญชีการระบายมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำ เนิดเป็นระยะๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนด/ปรับปรุงแนวทางและมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ
- 3.6 พัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบเฝ้าระวังที่เป็นหนึ่งเดียว
มาตรการระยะสั้น (พ.ศ.2562 - 2564) และระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2567)
• บูรณาการระบบข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบทั้งแหล่งกำ เนิด ปริมาณมลพิษในบรรยากาศ และผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อการวางแผนการบริหารจัดการและสื่อสารแจ้งเตือน พัฒนาระบบ
• เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากมลพิษทางอากาศและการรายงานผล สร้างความเข้มแข็งของประชาชน ชุมชนในการดูแลป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ
- 3.7 พัฒนาระบบคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละออง
มาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 - 2564) ประกอบด้วย
• การพัฒนาระบบคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละออง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการทบทวน/ปรับปรุงมาตรการและแนวทางการดำ เนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษในระยะต่อไป
บทที่ 3 - แนวทางการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้อาศัยมติคณะรัฐมนตรีเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการดำ เนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำมาตรการและแนวทางการดำ เนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการฉบับนี้ไปปฏิบัติ
- 3.1 กลไกและแนวทางการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง
1. กลไกในการขับเคลื่อนมาตรการที่1
ใช้กลไกของระบบศูนย์สั่งการแบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) ภายใต้พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ในการเข้าควบคุมสถานการณ์อำนวยการ สั่งการประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงาน ส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
2. กลไกในการขับเคลื่อนมาตรการที่ 2
ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตามกฎหมายออกกฎระเบียบ/แนวทาง/ข้อบังคับในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง
3. กลไกในการขับเคลื่อนมาตรการที่ 3
ใช้กลไกคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกลไกหลักร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำ เนินงานเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
- 3.2 การติดตามประเมินผล
ตามที่คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 มีมติให้การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้การดำ