ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

นานาประเทศให้คำมั่น ยกเลิกรถยนต์เครื่องยนต์ ก้าวสำคัญสู่ยุคยานยนต์สมัยใหม่

นานาประเทศให้คำมั่น ยกเลิกรถยนต์เครื่องยนต์ ก้าวสำคัญสู่ยุคยานยนต์สมัยใหม่ Thumb HealthServ.net
นานาประเทศให้คำมั่น ยกเลิกรถยนต์เครื่องยนต์ ก้าวสำคัญสู่ยุคยานยนต์สมัยใหม่ ThumbMobile HealthServ.net

ในช่วงนี้เริ่มมีกระแสในหลายประเทศประกาศการยกเลิกการจำ หน่ายรถยนต์เบนซินและดีเซลในอีก10-20 ปี ข้างหน้าโดยสาเหตุของการประกาศของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ส่วนใหญ่เกิดจากประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลักตั้งแต่การแสดงความตั้งใจของแต่ละประเทศที่จะต่อสู้กับปัญหาโลกร้อนในระดับโลกรวมไปถึงปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นในประเทศนั้นเอง

นานาประเทศให้คำมั่น ยกเลิกรถยนต์เครื่องยนต์ ก้าวสำคัญสู่ยุคยานยนต์สมัยใหม่ HealthServ
 
 
หนึ่งในปัญหามลพิษที่เป็นความกังวลในหลายประเทศขณะนี้ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนหรือPM2.5 โดยทั่วไปฝุ่นละอองPM 2.5 นั้นมีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าและมีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ ได้แก่ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและหัวใจเป็นต้น
 
ทั้งนี้จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่า มีหลายประเทศประกาศยกเลิกรถยนต์เครื่องยนต์โดยมีผลตั้งแต่ค.ศ. 2025-2040 นั้นหมายถึงการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามาทดแทนการใช้รถยนต์เครื่องยนต์นั้นเอง
 
โดยในช่วงกลางปีที่ผ่านมา (ค.ศ. 2016) ประเทศนอร์เวย์(Norway) น่าจะเป็นประเทศแรกๆ ที่ประกาศยกเลิกการจำหน่ายรถยนต์เบนซินและดีเซล ซึ่งจะเริ่มห้ามจำหน่ายในปีค.ศ. 2025 ทั้งนี้ในปี ค.ศ. 2016 ที่ผ่านมา ประเทศนอร์เวย์ มีสัดส่วนการจำ หน่ายรถยนต์ไฟฟ้าประเภท PHEV & BEV สูงถึง 29% ของรถยนต์ใหม่ทั้งหมดซึ่งถือว่า ขณะนี้เป็นประเทศที่มีสัดส่วนของการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดในโลกจากนั้นประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands) มีการประกาศยกเลิกการใช้รถยนต์เครื่องยนต์โดยจะเริ่มบังคับในปีค.ศ. 2025 เช่นเดียวกัน
 
ซึ่งประเทศเนเธอร์แลนด์มีสัดส่วนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าประเภท PHEV & BEV เป็นอันดับสองของโลก โดยในปี ค.ศ. 2016 มีการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในสัดส่วนประมาณ 6.4% ของรถยนต์ใหม่ทั้งหมดนอกจากนี้เมื่อเดือน ธ.ค.ของปีที่ผ่านมา (ค.ศ.2016) นายกเทศมนตรีของทั้ง 4 เมืองได้แก่ ปารีส (Paris) มาดริด (Madrid) เอเธนส์ (Athens) และเม็กซิโกซิตี้ (Mexico City) ได้ร่วมมือกันประกาศนโยบายห้ามไม่ให้รถยนต์ดีเซลเข้าไปในเขตเมือง ณ งานประชุมสุดยอดนายกเทศมนตรี40 เมือง (C40 Mayor Summit) โดยจะเริ่มบังคับใช้ภายในปีค.ศ. 2025
   สำหรับประเทศเยอรมนีอินเดีย และสวีเดน มีการประกาศยกเลิกการจำหน่ายรถยนต์เครื่องยนต์ ภายในปี ค.ศ. 2030 ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรหรือประเทศอังกฤษจะมีการยกเลิกในปี ค.ศ. 2040 ทั้งนี้ประเทศกลุ่มนี้ยังมีการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในสัดส่วนที่ยังน้อยกว่า 5% ของรถยนต์ใหม่ อย่างไรก็ดีในช่วงเดือนกันยายนของปีนี้ (ค.ศ. 2017) ประเทศจีนเพิ่งมีการประกาศว่าจะมีแผนการยกเลิกรถยนต์เครื่องยนต์ในไม่ช้า ซึ่งคงต้องติดตามกันว่าจะเริ่มมีผลบังคับในปีใด
 
 ทั้งนี้คงเริ่มมีคำถามต่อว่า ประเทศไทยควรพิจารณายกเลิกการจำหน่ายรถยนต์เครื่องยนต์ในอนาคตหรือไม่ประเด็นที่สำคัญที่เราควรพิจารณาคือความรุนแรงของปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของประเทศไทยยกตัวอย่างกรณีปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)
 
 จากการพิจารณาข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษในการตรวจวัด PM 2.5 ตั้งแต่กรกฎาคม 2559 - มิถุนายน
2560 พบว่ามี 6 จังหวัดที่มีค่า PM2.5 อยู่ในช่วง 19-39 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มก./ลบ.ม.) และ มีค่าเฉลี่ย1 ปี เกินค่ามาตรฐานของไทยที่กำ หนดไว้ที่ 25 มก./ลบ.ม.
 
 ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้15 และ10 มก./ลบ.ม. ตามลำดับนั้นหมายถึงว่ามีโอกาสที่ในหลายเมืองของประเทศไทยที่ค่า PM 2.5 จะมีค่าเกินมาตรฐานสากลและเราควรหาวิธีการป้องกันร่วมกันก่อนที่จะสายเกินไป
 
 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยควรเริ่มตระหนักถึงปัญหาและสาเหตุของ PM2.5 ที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง โดยคำ ตอบส่วนหนึ่งของสาเหตุของPM 2.5 นั้นมาจากภาคขนส่งโดยเฉพาะมลพิษจากเครื่องยนต์ดีเซลซึ่งการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือการพิจารณายกเลิกรถยนต์เครื่องยนต์ในเมืองที่มีปัญหาเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและลดความรุนแรงของปัญหาในอนาคตของประเทศอีกด้วย
 
โดย ยศพงษ์ ลออนวล
นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
คุยกับนายก EVAT
เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2560

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด