ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กรม สบส.แนะประชาชนเช็คหลักฐาน 5 อย่าง เสริมภูมิคุ้มกันคลินิก/หมอเถื่อน

กรม สบส.แนะประชาชนเช็คหลักฐาน 5 อย่าง เสริมภูมิคุ้มกันคลินิก/หมอเถื่อน Thumb HealthServ.net
กรม สบส.แนะประชาชนเช็คหลักฐาน 5 อย่าง เสริมภูมิคุ้มกันคลินิก/หมอเถื่อน ThumbMobile HealthServ.net

แจ้งมาที่สายด่วนกรม สบส. 1426 + ตรวจสอบชื่อแพทย์ได้ที่เว็บไซต์แพทยสภา

กรม สบส.แนะประชาชนเช็คหลักฐาน 5 อย่าง เสริมภูมิคุ้มกันคลินิก/หมอเถื่อน HealthServ
กรม สบส.แนะประชาชนเช็คหลักฐาน 5 อย่าง เสริมภูมิคุ้มกันคลินิก/หมอเถื่อน

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แนะประชาชนเช็คหลักฐาน 5 อย่าง ก่อนตัดสินใจรับบริการทางการแพทย์ ป้องกันอันตรายจากคลินิกเถื่อน หมอเถื่อน พร้อมชวนประชาชนร่วมเป็นเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค หากพบเบาะแสการกระทำผิดอย่ารอช้าให้แจ้งที่สายด่วนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 1426

 
           นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากกรณี การจับกุมอดีตบุรุษพยาบาล วัย 41 ปี ซึ่งแอบสวมรอยเป็นแพทย์ลักลอบให้บริการฉีดสารเสริมความงาม อาทิ ฟิลเลอร์/โบท็อกซ์ จนมีผู้ได้รับผลกระทบหลายราย ทั้งเกิดอาการอักเสบ ติดเชื้อ หรือในบางรายถึงขั้นตาบอดสนิท เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 นั้น ต้องยอมรับว่าในยุคปัจจุบันที่ผู้คนต่างให้ความสำคัญกับสุขภาพและรูปลักษณ์ ย่อมมีผู้ไม่ประสงค์ดีนำกระแสนิยมดังกล่าวมาตักตวงผลประโยชน์โดยไม่คิดถึงผลกระทบที่จะเกิด ไม่ว่าจะเป็นการเปิดคลินิกเถื่อน ให้บริการรักษาพยาบาล/เสริมความงามทั้งที่ตนไม่ใช่แพทย์ จนมีผู้ได้รับผลกระทบทั้งจากการติดเชื้อ แผลเน่า ใบหน้าผิดรูป ตาบอด หรืออันตรายถึงแก่ชีวิต แม้ว่ากรม สบส.จะมีการดำเนินงานเฝ้าระวัง ตรวจสอบ ไขข้อกระจ่าง และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเพียงการกวดขันของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวอาจจะไม่เพียงพอ จะต้องมีการสร้างเสริมความรู้แก่ประชาชนให้เป็นภูมิคุ้มกันจากอันตรายดังกล่าวด้วย ในวันนี้ตนจึงขอยกแนวทางการเลือกรับบริการทางการแพทย์ มาเน้นย้ำกับพี่น้องประชาชนอีกครั้ง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นวิธีการที่ซับซ้อนแต่อย่างใด เพียงประชาชนสละเวลาเล็กน้อยตรวจสอบหลักฐานสำคัญ 5 อย่างที่สถานพยาบาลต้องมี ก็สามารถป้องกันตนเองได้แล้ว ซึ่งหลักฐานทั้ง 5 อย่างประกอบด้วย
  1. ป้ายชื่อคลินิกต้องแสดงเลขที่ใบอนุญาต 11 หลัก
  2. มีการแสดงใบอนุญาตเปิดกิจการคลินิก เลขใบอนุญาตต้องตรงกับเลขที่ที่ติดที่ป้ายชื่อคลินิก
  3. มีการแสดงใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลซึ่งต้องมีการระบุชื่อผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบโรคศิลปะและต้องมีความเป็นปัจจุบัน
  4. มีการแสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมคลินิกที่เป็นปีปัจจุบัน และ
  5. )มีการแสดงหลักฐานของแพทย์ที่ให้บริการในคลินิก โดยมี ชื่อ-นามสกุล และภาพถ่ายติดที่หน้าห้องตรวจ โดยสามารถตรวจสอบชื่อคลินิกได้ที่เว็บไซต์กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (www.mrd-hss.moph.go.th) และ ตรวจสอบชื่อแพทย์ได้ที่เว็บไซต์แพทยสภา (checkmd.tmc.or.th/)

หากพบว่าสถานพยาบาลมีหลักฐานที่ต้องแสดงครบถ้วนก็สามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับบริการจากสถานพยาบาลที่ถูกต้องและได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด  แต่หากไม่พบหลักฐานข้างต้นหรือขาดหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ควรรับบริการโดยเด็ดขาด
 
           ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีผู้ได้รับผลกระทบ หรือสูญเสียจากบริการทางการแพทย์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และเป็นการตัดตอนกระบวนการทำงานของเหล่ามิจฉาชีพ กรม สบส.ขอเชิญชวนประชาชนมาร่วมเป็นหูเป็นตาในฐานะเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค หากพบเห็นเบาะแสการกระทำผิดของ คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน อย่านิ่งดูดายให้ใช้สมาร์ทโฟน (Smartphone) เก็บภาพไว้เป็นหลักฐานหากอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ให้แจ้งมาที่สายด่วนกรม สบส. 1426 แต่หากอยู่ในส่วนภูมิภาคสามารถแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ นำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

4 มีนาคม 2564

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด