แถลงการณ์ร่วมระหว่าง กรมควบคุมโรค และแอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย
Joint Statement by Department of Disease Control of Thailand and AstraZeneca (Thailand)
1.จากผลการสอบสวนกรณีที่มีผู้เสียชีวิตหลังจากได้รับวัคซีนที่ประเทศเดนมาร์ก พบว่าไม่ได้มีสาเหตุมาจากวัคซีนแต่อย่างใด สำหรับประเทศไทย โดยคณะกรรมการด้านวิชาการ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เห็นควรให้มีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 60 ปีขึ้นไปในจังหวัดเป้าหมายตามแผนกำหนดการเดิมต่อไป โดยวานนี้ (16 มีนาคม 2564) เริ่มดำเนินการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ของแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวันแรก ให้กับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี 17 ท่าน รวมถึงอาจารย์แพทย์อีก 5 ท่าน ได้แก่ ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร, ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ, ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา, ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา และ นพ.โสภณ เมฆธน ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ก่อนเข้าประชุม ครม. เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน
1.The investigation of the post-vaccination adverse events in Denmark has indicated no link to the vaccine. In Thailand, the academic committee under the Communicable Disease Act B.E. 2558 (A.D. 2015) approves vaccinations to continue in upper-risk people aged 60 years and older in high-risk provinces as planned. Today (March 16, 2021) marks the official beginning of COVID-19 Vaccine AstraZeneca rollout in Thailand, with the first recipients being Prime Minister H.E. General Prayut Chan-o-cha, 17 cabinet members and 5 medical advisors including Clinical Prof. Emeritus Piyasakol Sakolsatayadorn, Prof. Yong Poovorawan, Prof. Prasit Watanapa, Prof. Piyamitr Sritara, and Dr. Sophon Mekthon. To stregnthen public confidence, the vaccination rollout took place at Santi Maitri Building at Government House before the cabinet meeting.
2.เพื่อบริหารจัดการการให้วัคซีนโควิด 19 แก่ประชาชน โดยคำนึงถึงหลักจริยธรรม ความเท่าเทียม หลักฐานทางวิชาการ ปริมาณวัคซีนที่จัดหาได้ และความสามารถในการบริหารจัดการภายใต้บริบทของประเทศ ประเทศไทยได้มีการดำเนินงานภายใต้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมีนายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ซึ่งมีคณะทำงานด้านต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานวัคซีนในประเทศไทยทั้งหมด มีเป้าหมายเพื่อลดการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต รักษาความมั่นคงระบบสุขภาพ ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งผ่านการพิจารณาจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 และ เห็นชอบจาก ครม. ในการอนุมัติงบประมาณจัดซื้อวัคซีนเพื่อครอบคลุมประชาชนในประเทศไทยและ มีแผนการดำเนินการฉีดครบทั้งประเทศภายในปี 2564 นี้
2.To make COVID-19 vaccines available for people residing in Thailand on a foundation of ethics, equality, academic-based evidences, accessible supply, and management capability in national context, Thailand has been working under the Communicable Disease Act B.E. 2558 (A.D. 2015). On January 14, 2021, the National Communicable Diseases Committee (NCDC) has formed a sub-committee and tasked it with overseeing the rollout of COVID-19 vaccinations. Chaired by Public Health Vice Minister Dr. Sophon Mekthon, the sub-committee comprises all Thailand’s vaccine frontliners and aims at mitigating severe illness and death, stabilizing healthcare system, reducing virus transmission risk, and sustaining economic and social stability. All operations are under the consideration of Centre for COVID-19 Situation Administration (CCSA) and with the cabinet’s approval of budget for vaccines to be available for the people across Thailand. The nation-wide vaccination program is scheduled to be completed in 2021.
3.ก่อนที่วัคซีนจะได้รับการอนุญาตให้ใช้จริงต้องผ่านการทดลองในมนุษย์ เพื่อให้แน่ใจว่าได้ผลและไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง สำหรับแอสตร้าเซนเนก้าได้ผ่านขั้นตอนนั้นแล้ว และได้รับการรับรองในความปลอดภัย จากหน่วยงานกำกับดูแลด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของสหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และองค์การอนามัยโลก รวมถึงประเทศอื่นๆกว่า 70 ประเทศทั่วโลก
3.Before being approved for public use, the vaccines must be put through many phases of clinical trials to ensure efficacy and safety. AstraZeneca with its vaccines has passed such critical process and been approved from Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA), European Medicines Agency (EMA), World Health Organization (WHO) and regulators in over 70 countries.
4.เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้วัคซีน สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาทั่วโลก และเกือบทั้งหมดไม่มีอาการรุนแรง ส่วนกรณีอุบัติการณ์การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันของคนไทย มีน้อยมากเมื่อเทียบกับชาวต่างชาติ โดยพบว่าน้อยกว่าคนยุโรปและอเมริกาถึง 3 เท่า และการเกิดภาวะนี้มักพบเพิ่มขึ้น 4.5 เท่าในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น แพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง (autoimmune disease) โรคมะเร็งบางชนิด (solid tumor) การกินยาคุมกำเนิด และมีประวัติครอบครัวเป็นภาวะอุดตันลิ่มเลือด เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว โดยจากฐานข้อมูลของแอสตร้าเซนเนก้าที่มีรวบรวมรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากประเทศต่างๆทั่วโลกในช่วงตลอดเดือนกุมภาพันธ์ ต่อเนื่องถึงต้นเดือนมีนาคม 2564 พบรายงานการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำทั้งหมด 29 ราย ซึ่งตามอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะนี้ตามปกติในภาวะที่ไม่มีวัคซีนในจำนวนประชากรเท่ากับที่ได้รับวัคซีนคาดการณ์ว่าอาจพบได้ถึง 916 ราย ซึ่งนับว่าอุบัติการณ์การพบภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำในครั้งนี้น้อยกว่าที่คาดการณ์ว่าจะพบได้ในภาวะปกติมาก โดยพบเพียง 0.03 เท่าของภาวะปกติเท่านั้น
4.Adverse events from vaccinations can happen at anytime and in anywhere across the world, with most of them being non-severe. In Thailand, thrombotic events occur at a very low rate in comparison to western countries; 3 times lower than in Europe and United States. Compared to those without underlying diseases, it is likely to be found 4.5 times higher in people with underlying diseases such as autoimmune disease or solid tumor, people on contraceptive pill, and people who have family history with thrombosis. Based on the global adverse-event reports AstraZeneca has received in February and early March, there have been 29 events of Deep Vein Thrombosis or DVT. This 29-event rate is only 0.03 time of 916 people expected to occur naturally in a general population of the same size.
5.มีผู้ได้รับวัคซีนแล้ว มากกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก เฉพาะในเอเชียฉีดไปกว่า 6 ล้านคนแล้ว ในจำนวนวัคซีนที่ฉีดไปทั่วโลกนี้เป็นวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า 34 ล้านโดส ซึ่งฉีดในประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม สหราชอาณาจักร เยอรมนี สเปน เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา ออสเตรีย และเกาหลี ยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นเหตุให้เกิดอันตรายรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิต สำหรับข่าวที่มีผู้เสียชีวิต 7 รายหลังได้รับวัคซีนที่ในประเทศเกาหลี และบางประเทศในยุโรป (ออสเตรีย 2 ราย) ได้มีการสอบสวนกรณีดังกล่าวแล้ว ผลคือไม่ได้เสียชีวิตจากการได้รับวัคซีน และอัตราการเสียชีวิตที่พบในผู้รับวัคซีนในเกาหลีใต้ถือว่าน้อยกว่าอัตราการเสียชีวิตโดยทั่วไปของชาวเกาหลีมาก
5.Over 300 million people have been vaccinated worldwide, more than 6 million people in Asia. Amongst the given vaccines, 34 million doses are of AstraZeneca used in France, Norway, Belgium, UK, Germany, Spain, the Netherlands, Australia, Canada, Austria and South Korea. No evidence links COVID-19 Vaccine AstraZeneca to severe adverse events or death. Regarding the seven post-vaccination deaths in South Korea and some European countries (2 cases in Austria), the investigation has been conducted with a conclusion that confirms the deaths as non-vaccination related. Furthermore, the rate of post-vaccination deaths in South Korea is much lower than the normal death rate of the country.
6.การสั่งให้ชะลอการฉีดในบางประเทศ เช่น เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และอินโดนีเซีย เป็นมาตรการปกติเพื่อพิสูจน์ว่าเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนหรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันแถลงการณ์ล่าสุดขององค์การอนามัยโลก (WHO) และหน่วยงานกำกับดูแลด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ให้ความเห็นที่ตรงกันว่าการให้วัคซีนควรจะดำเนินต่อไปเนื่องจากประโยชน์ที่จะได้มีมากกว่าความเสี่ยง
6.Suspensions in a number of countries including Denmark, Norway, France, Germany, Italy and Indonesia are normal procedures to be taken while waiting for evidence that proves the role of vaccination in the incidents. As of today, WHO and EMA have both approved for the vaccinations to be continued as the benefits still outweigh the risks.
17 มีนาคม 2564