การรับบริการ
การเตรียมตัวก่อนมาโรงพยาบาล
- ก่อนมาโรงพยาบาล เพื่อเข้ารับบริการ กรุณาเตรียมใบนัด (ถ้ามี) พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน ไว้ แนะนำให้มาก่อนเวลานัด 30 นาที - 1 ชั่วโมง
- กรณีไม่มีใบนัด/ไม่ได้นัดหมายแพทย์ไว้ หรือเป็นผู้ป่วยใหม่ สามารถติดต่อที่เจ้าหน้าที่ได้จุดคัดกรอง
- อาคารทีปังกร ชั้น 1
- อาคารเพชรรัตน์ ชั้น 1
สะดวกมากกว่า เมื่อใช้ Vajira Mobile Application ทั้งการใช้บริการที่โรงพยาบาล และการพบหมอที่บ้านผ่านโทรศัพท์มือถือ คลิกเลย
1. การเดินทางมาโรงพยาบาล
เดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะ
- รถเมล์สาธารณะที่ผ่านหน้าป้ายโรงพยาบาล มีสาย 3 65 32 16 505 49 33 9 30 64 524
เดินทางด้วยเรือด่วนเจ้าพระยา
- ลงที่ท่าพายัพ สายธงสีเขียว สีส้ม เเละสีเหลือง เดินย้อนมาประมาณ 15 นาที (ตามแผนที่ด้านล่าง)
2. สถานที่จอดรถ
สถานที่จอดรถยนต์ส่วนตัว สำหรับผู้มาใช้บริการ สามารถจอดรถได้ที่
2.1. ซอยสามเสน 13 ให้บริการ วันจันทร์-ศุกร์ ในเวลาราชการ 6.00 -18.30 น.
ท่านสามารถจอดรถยนต์ส่วนตัวได้ที่ซอยสามเสน 13 จากนั้นจะมีรถ Shuttle Bus ไว้บริการท่านมาลงที่อาคารทีปังกรรัศมีโชติ (ตึกผู้ป่วยนอก) ค่าที่จอดรถจะคิดบริการชั่วโมงละ 20 บาท
2.2. อาคารเพชรรัตน์ ให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งเเต่เวลา 15.30 - 20.00 น. (คิดค่าบริการชั่วโมงละ 20 บาท) ลานจอดรถที่อาคารเพชรรัตน์
2.3 พื้นที่จอดรถใกล้เคียงโรงพยาบาล
- Market Place สาขาดุสิต (ค่าบริการสอบถามได้ที่จุดจอด)
- Supreme Complex (ค่าบริการสอบถามได้ที่จุดจอด)
3. ทำบัตรผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใหม่ ที่ยังไม่เคยมีบัตรโรงพยาบาล / ประวัติการรักษา
1. กรณีที่ไม่เคยมีบัตรผู้ป่วยหรือประวัติการรักษา สามารถลงทะเบียนบัตรใหม่ด้วยตัวเอง โดยใช้บัตรประชาชน ติดต่อที่แผนกเวชระเบียน
- อาคารทีปังกรรัศมีโชติ ชั้น G
- อาคารเพชรรัตน์ ชั้น 2
2. ผู้เข้ารับบริการสามารถทำบัตรโรงพยาบาลออนไลน์ได้ที่ลิงก์ ลงทะเบียนบัตรผู้ป่วยใหม่
3. เมื่อทำบัตรโรงพยาบาลผู้ป่วยเสร็จแล้ว สามารถยื่นเเจ้งเข้ารับบริการรักษาได้ที่จุดคัดกรองในวันที่ต้องการเข้ารับการรักษาที่
- อาคารทีปังกรรัศมีโชติ ชั้น G
- อาคารเพรรัตน์ ชั้น 1
ผู้ป่วยเดิมที่มีประวัติการรักษา
1. กรณีที่มีใบนัด สามารถนำใบนัดดังกล่าวติดต่อได้ที่จุดคัดกรอง
2. สำหรับผู้ป่วยเก่าที่ไม่ได้นัด หรือมาไม่ตรงวันนัด ผู้ป่วยจะต้องยื่นเเจ้งเข้ารับบริการรักษาได้ที่
- จุดคัดกรอง อาคารทีปังกรรัศมีโชติ ชั้น G
- จุดคัดกรอง อาคารเพชรรัตน์ ชั้น 1
4.ลงทะเบียนตรวจสอบสิทธิการรักษา
4.1. ผู้เข้ารับบริการที่มีสิทธิการรักษาสิทธิเบิกจ่ายตรง / สิทธิข้าราชการ กทม. สามารถเปิดสิทธิการรักษาที่ตู้ลงสิทธิอัตโนมัติ (ตู้สีน้ำเงิน)
- อาคารที่ปังกรรัศมีโชติ ชั้น M
- อาคารเพชรรัตน์ ชั้น 1
4.2. ผู้เข้ารับบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท) / ประกันสังคมวชิรพยาบาล / สิทธิว่าง หรือสิทธิอื่นๆ สามารถเปิดสิทธิได้ที่
- หน้าแผนกเวชระเบียน ชั้น G อาคารทีปังกรรัศมีโชติ
- หน้าหน่วยยา อาคารเพชรรัตน์ ชั้น 1
การเปิดสิทธิการรักษา ต้องนำใบนัด / บัตรประชาชนเปิดสิทธิการรักษาที่ตู้สีน้ำเงิน ก่อนขึ้นไปห้องตรวจทุกครั้ง (ยกเว้นผู้ที่ใช้สิทธิชำระเงินสด)
5. รอคิวพบแพทย์
5.1. กรณีผู้ป่วยเดิม ที่มีใบนัดเมื่อเปิดสิทธิที่ตู้เปิดสิทธิอัตโนมัติแล้ว สามารถนำใบไปยื่นที่จุดรับบัตรคิวหน้าห้องตรวจ เพื่อรอคิวเข้าพบแพทย์
5.2. กรณีผู้ป่วยใหม่ เมื่อติดต่อทำบัตรผู้ป่วยใหม่ และติดต่อที่จุดคัดกรอง จากนั้นเจ้าหน้าที่จะออกเอกสารใบนำทาง เพื่อนำไปยื่นที่จุดรับบัตรคิว ที่หน้าห้องตรวจ เพื่อรอคิวเข้าพบแพทย์
5.3. สำหรับผู้เข้ารับบริการที่มี Application Vajira Smileสามารถดูสถานะคิวออนไลน์การเข้ารับการรักษาได้ที่แอปพลิเคชั่น
6.เข้าพบแพทย์
6.1. เมื่อถึงคิวที่เข้ารับการรักษา เจ้าหน้าที่จะเรียก / หรือเมื่อถึงคิวการรักษาจะเตือนผ่านแอพ Vajira Smile
6.2. เข้าพบแพทย์
6.3. รับใบนัดครั้งต่อไป (ถ้ามี) หรือรับสลิป เพื่อไปยื่นคิวรับยาที่หน่วยจ่ายยา
7.ยื่นเอกสารใบสั่งยา
เมื่อผู้เข้ารับบริการพบแพทย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถนำสลิปจากห้องตรวจการรักษามายื่นได้ที่
- ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก ช่องหมายเลข 14 15 ชั้น G อาคารทีปังกรรัศมีโชติ
- หน่วยจ่ายยา อาคารเพชรรัตน์ ชั้น 1
การบริการห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก มี 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ยื่นใบสั่งยา เพื่อรับบัตรคิวที่ห้องยา ช่องหมายเลข 14 และ 15
ขั้นตอนที่ 2 หากมีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่สิทธิชำระเงินสด ให้ติดต่อชำระเงินที่การเงิน ช่องหมายเลข 1 – 3
ขั้นตอนที่ 3 ผู้ป่วยสิทธิเบิกจ่ายตรง (กรมบัญชีกลาง) / สิทธิข้างราชการ กทม. นำบัตรบัตรประชาชนมา รับใบสรุปค่าใช้จ่ายการรักษาที่การเงิน หรือที่ตู้ยืนยันสิทธิการรักษาพยาบา
ขั้นตอนที่ 4 รอเรียกตามบัตรคิว / ดูคิวได้ผ่านแอพ Vajira Smile
อย่าลืม!! ยื่นบัตรประชาชนให้เภสัชกรทุกครั้งที่รับยา
8.การเงิน
8.1. ผู้เข้ารับบริการใช้สิทธิการรักษาชำระเงินสดต้องติดต่อที่การเงินก่อนรับยา
8.2. ผู้เข้ารับบริการตามสิทธิการรักษา กรณีที่มีค่าใช้จ่ายส่วนเกินต้องติดต่อการเงินก่อน
8.3. สามารถชำระค่าใช้จ่ายส่วนเกินได้ผ่านช่องทางเงินสด / บัตรเครดิต / Mobile Banking ธนาคารต่างๆ
สามารถชำระค่ายาผ่านการสแกนบาร์โค้ดของแอป Mobile Banking ธนาคารต่างๆ ได้
9. รับยา / ปิดสิทธิการรักษา
9.1. ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิชำระเงินสด หลังจากติดต่อการเงินแล้วสามารถรอเรียกตามคิวที่หน่วยจ่ายยาได้เลย
คิวด่วน (FT) ติดต่อช่องหมายเลข 2-3
คิวเลขคู่ ติดต่อช่องหมายเลข 4-6
คิวเลขคี่ ติดต่อช่องหมายเลข 7-10
9.2. ผู้เข้าบริการสามารถติดต่อขอรับยาทางไปรษณีย์ได้ที่
- หน่วยจ่ายยา ชั้น G อาคารทีปังกรรัศมีโชติ
- หน่วยจ่ายยา ชั้น 1 อาคารเพรชรัตน์
9.3. ผู้เข้ารับบริการที่ใช้สิทธิการรักษากรมบัญชีกลาง/เบิกจ่ายตรง ต้องผิดสิทธิการรักษาทุกครั้งที่ตู้สีฟ้า ด้านหน้าการเงิน โดยใช้บัตรประชาชนในการปิดสิทธิ
10. ติดตามการรักษา
1. กรณีมีนัดติดตามการรักษา ผู้เข้ารับบริการจะได้ใบนัดจากห้องตรวจ เพื่อใช้ยื่นเข้ารับการรักษาในครั้งถัดไป
2. ถ้าท่านไม่สะดวกเข้ารับบริการพบแพทย์ที่โรงพยาบาล สามารถพบแพทย์ผ่านทางโทรเวชกรรมหรือเทเลเมดิซีน ผ่าน Application Vajira@Home ได้
Vajira @ Home นวัตกรรมที่ให้ผู้ป่วยพบหมอได้จากที่บ้าน สะดวกสบาย ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้ป่วยสามารถนัดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลวชิรพยาบาล ให้คำปรึกษา วินิจฉัยโรค รักษา และจ่ายยาผ่านแอปพลิเคชันเดียว ไม่ว่าจะเป็น
- การนัดหมาย
- ประวัติการรักษาของตนเอง
- คิวการรับบริการในจุดต่างๆ ในโรงพยาบาลวชิรพยาบาล
- บันทึกค่าต่างๆ ให้แพทย์ติดตามความคืบหน้าของอาการ
- บันทึกค่าบางค่าผ่านการเชื่อมต่อกับเครื่องมืออื่น ๆ เช่น นาฬิกาดิจิตอลและเครื่องตรวจน้ำตาลดิจิตอล
- แจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินเพื่อเรียกรถพยาบาล (Emergency Medical Service)
- ระบบการติดตามการส่งยาผ่านไปรษณีย์
- ระบบ e-KYC ผ่านแอปพลิเคชัน และอื่นๆ อีกมากมายที่จะเข้ามาในอนาคต
- สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS หรือระบบ Android
Vajira@Home ไกลเหมือนใกล้ พร้อมให้บริการ จากโรงพยาบาลสู่บ้านคุณ
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
681 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
Tel 0 2244 3000