ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 14 ปี 2566

การประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 14 ปี 2566 Thumb HealthServ.net
การประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 14 ปี 2566 ThumbMobile HealthServ.net

การท่องเที่ยวของไทยกลับมาสู่เส้นทางยิ่งใหญ่อีกครั้ง เมื่อเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลก และอีกครั้งของการกลับมาของการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566 รางวัลด้านการท่องเที่ยวที่จะยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยสู่ระดับโลก

The 14th  Thailand Tourism Awards 2023  หรือ รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย เป็นรางวัลที่รับรองคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว ด้วยมาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม (Responsible Tourism) เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ และบริการที่ดี เพื่อยกระดับและพัฒนาการท่องเที่ยว ที่ได้มาตรฐาน “การท่องเที่ยวสีขาว” ที่มีทั้งความสะดวก สะอาด ปลอดภัย เป็นธรรม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าของสินค้าทางการท่องเที่ยวไทยสู่ระดับสากล


 
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ขอเชิญผู้ประกอบการมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนมีหัวใจหลักสำคัญในการขับเคลื่อนพื่อการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมตามยุทธศาสตร์ STGs (Sustainable Tourism Goals) ที่มาพร้อมกับรางวัลการันตีคุณภาพทั้ง 5 ประเภท ได้แก่
 
  1. ประเภทแหล่งท่องเที่ยว (Attraction)
  2. ประเภทที่พักนักท่องเที่ยว (Accommodation)
  3. ประเภทการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health and Wellness Tourism)
  4. ประเภทรายการนำเที่ยว (Tour Programmes)
  5. ประเภทการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเพื่อความยั่งยืน (Low Carbon & Sustainability)
 
 
 
 

สิทธิประโยชน์จากทางโครงการ ฯ

  • ส่งเสริมการขายและการตลาด ผลงานที่ได้รับรางวัลได้รับสิทธิ์ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการขายและการตลาดกับ ททท.
  • ประชาสัมพันธ์ ผลงานที่ได้รับรางวัลจะได้รับการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ
  • ยกระดับพัฒนาองค์กร Upskill - Reskill
 

สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ - 30 เมษายน 2566
ช่องทางการสมัคร: www.thailandtourismawards.com
 
สามารถติดตามรายละเอียดการสมัครเพิ่มเติมได้ที่
Website : www.thailandtourismawards.com
FB : ThailandTourismAwardsNew
Line Official : @tourismawards
การประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 14 ปี 2566 HealthServ

กำหนดการชี้แจงรายละเอียดโครงการประกวด ผ่าน Online ทางระบบ Webex Meeting LINK

กำหนดการชี้แจงรายละเอียดโครงการประกวด ผ่าน Online ทางระบบ Webex Meeting การประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 14 ปี 2566
กำหนดการชี้แจงรายละเอียดโครงการประกวด ผ่าน Online ทางระบบ Webex Meeting การประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 14 ปี 2566
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ขอเชิญผู้ประกอบการท่องเที่ยวเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงรายละเอียดโครงการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566 ผ่าน Online ทางระบบ Webex Meeting 
รายละเอียดกำหนดการ
วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 66 
เวลา 13.30 - 15.00 น. ประเภทการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และประเภทการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเพื่อความยั่งยืน

วันอังคารที่ 14 มีนาคม 66 
 เวลา 09.00 - 10.30 น. ประเภทที่พักนักท่องเที่ยว และประเภทการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเพื่อความยั่งยืน
 เวลา 13.30 - 15.00 น. ประเภทรายการนำเที่ยวและประเภทการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเพื่อความยั่งยืน 

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 66
เวลา 13.30 - 15.00 น. ประเภทแหล่งท่องเที่ยว และประเภทการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเพื่อความยั่งยืน 

รายละเอียดแต่ละประเภท (จาก 5 ประเภท)

 

1.ประเภทแหล่งท่องเที่ยว (Attraction) LINK

 แบ่งประเภทรางวัลย่อยออกเป็น 6 สาขา ดังนี้
1. สาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการผจญภัย (Outdoor & Adventure Activities)
2. สาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ (Learning & Doing)
3. สาขาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ (Nature & Park)
4. สาขาแหล่งท่องเที่ยวนันทนาการและความบันเทิง (Recreation & Entertainment)
5. สาขาแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical & Culture)
6. สาขาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (Local & Community)
 
นิยาม
1. สาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการผจญภัย (Outdoor & Adventure Activities) - กิจกรรมหรือ สถานที่ท่องเที่ยวที่มนุษย์พัฒนาขึ้นหรือดัดแปลงธรรมชาติอย่างกลมกลืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเน้นให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ใช้บริการได้ดำเนินกิจกรรมที่ท้าทาย ตื่นเต้น ได้รับประสบการณ์แปลกใหม่ สนุกสนานเพลิดเพลิน เช่น แหล่งหรือบริเวณที่ปีนหน้าผา ดำน้ำ ล่องแก่ง แคนู คายัก Bungee Jumping และอุทยานผจญภัย
 
2. สาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ (Learning & Doing) - กิจกรรมหรือสถานที่ท่องเที่ยว ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อเน้นการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้กับกิจกรรมหรือสถานที่ ท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและการเรียนรู้ให้แก่นักท่องเที่ยว เช่น กิจกรรม workshop เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ และศูนย์การเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
 
3. สาขาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ (Nature & Park) - สถานที่หรือบริเวณพื้นที่ทางบกหรือ ทางทะเลที่มีความเป็นธรรมชาติและเปิดให้สาธารณชนเข้ามาใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยวหรือพักผ่อน หรือสัมผัสเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติหรือระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น อุทยานแห่งชาติทางบกและทางทะเล วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า แหล่งน้ำ ลำธาร ถ้ำ น้ำตก ลำน้ำ ทะเลสาบ โป่งพุร้อน แหล่งโบราณชีววิทยา ป่าชายเลน เกาะ ชายหาด แนวปะการัง และธรรมชาติในท้องทะเล
 
4. สาขาแหล่งท่องเที่ยวนันทนาการและความบันเทิง (Recreation & Entertainment) - กิจกรรมหรือสถานที่ท่องเที่ยวที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อเน้นการให้ความบันเทิงหรือความสนุกสนาน แก่นักท่องเที่ยว เช่น สวนสนุก สวนน้ำ การแสดงต่าง ๆ ตลาดน้ำ และตลาดย้อนยุค
 
5. สาขาแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical & Culture) - สถานที่ที่เป็น แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณคดี หรือศาสนสถาน และอาจรวมถึงสถานที่ที่มีการจัดตกแต่งหรือรวบรวม งานด้านศิลปะหรือวัฒนธรรมของประเทศหรือของท้องถิ่น โดยมีการจัดการเพื่อเปิดให้สาธารณชนเข้ามาใช้ เพื่อการท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้ แหล่งท่องเที่ยวประเภทนี้อาจอยู่ในความรับผิดชอบดูแลโดย หน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ได้ เช่น อุทยานประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี อนุสาวรีย์ ศาสนสถาน กำแพงเมือง คูเมือง
 
6. สาขาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (Local & Community) - ชุมชนในเขตเมืองหรือชุมชนในท้องถิ่น ที่เปิดให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวเพื่อจะได้สัมผัสเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตหรืออัตลักษณ์ของชุมชน เป็นเครื่องมือที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยมีสมาชิกของ ชุมชนเป็นผู้กำหนดทิศทางแผนงาน เช่น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน และแหล่งท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ของชุมชน

2.ประเภทที่พักนักท่องเที่ยว (Accommodation) LINK

 แบ่งประเภทรางวัลย่อยออกเป็น 4 สาขา ดังนี้
1. สาขาลักซ์ชัวรี โฮเทล (Luxury Hotel)
2. สาขาโลเคชัน โฮเทล (Location Hotel)
3. สาขารีสอร์ต (Resort)
4. สาขาดิไซน์ โฮเทล (Design Hotel)
 
นิยาม
1. สาขาลักซ์ชัวรี โฮเทล (Luxury Hotel) - ที่พักที่มีภาพลักษณ์หรูหราทั้งภายนอกและภายใน มี ความพิเศษเฉพาะตัวทางด้านกายภาพและการบริการ พร้อมมีสิ่งอำนวยความสะดวกในระดับดีเยี่ยม เทียบเท่า 5 ดาว (ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล)
 
2. สาขาโลเคชัน โฮเทล (Location Hotel) - ที่พักตั้งอยู่ในเขตเมือง ศูนย์กลางธุรกิจ ชุมชน หรือ แหล่งท่องเที่ยว มีความสะดวกและมีทางเลือกในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ มีบริการและสิ่งอำนวยความ สะดวกที่เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มผู้ใช้บริการ
 
3. สาขารีสอร์ต (Resort) - ที่พักตั้งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ และจัดให้มีสิ่งอำนวย ความสะดวกหรือกิจกรรมนันทนาการ เพื่อตอบสนองการพักผ่อนของผู้ใช้บริการ
 
4. สาขาดิไซน์ โฮเทล (Design Hotel) - ที่พักเน้นการออกแบบ มีเอกลักษณ์เฉพาะทั้งภายนอกและ ภายใน ที่ให้ประสบการณ์เฉพาะกับผู้ใช้บริการ 
 
***ทั้งนี้ นิยามดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการส่งผลงานเข้าประกวด โดยเกณฑ์การให้ คะแนนยังคำนึงถึงการพิจารณาในด้านอื่นควบคู่กันไปด้วย

3. ประเภทการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health and Wellness Tourism) LINK

 แบ่งประเภทรางวัลย่อยออกเป็น 4 สาขา ดังนี้
1. สาขาสปา (Spa)
2. สาขาเวลเนส สปา (Wellness Spa)
3. สาขาเวลเนส แอนด์ สปา รีทรีต (Wellness & Spa Retreat)
4. สาขานวดไทย (Nuad Thai for Health)
 
นิยาม
1. สาขาสปา (Spa) - สถานบริการสปาที่ให้บริการดูแลและเสริมสร้างสุขภาพ การผ่อนคลาย รวมถึง การบริการเพื่อความงาม โดยใช้เวลาในการให้บริการเพียงระยะสั้น ๆ เช่น อบไอน้ำ พอกตัว ขัดตัว นวดหน้า นวดตัว โดยต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ จากกระทรวงสาธารณสุข
 
2. สาขาเวลเนส สปา (Wellness Spa) - สถานบริการสปาที่ให้บริการดูแลและเสริมสร้างสุขภาพ การ ผ่อนคลาย รวมถึงการบริการเพื่อความงาม เช่น อบไอน้ำ พอกตัว ขัดตัว นวดหน้า นวดตัว และมีบริการสร้าง เสริมสุขภาพแก่ร่างกายและจิตใจ โดยมีการออกแบบโปรแกรมเฉพาะบุคคลที่มีจุดประสงค์ในการบำบัดสุขภาพ การพักผ่อนเพื่อสุขภาพ และการผ่อนคลายความเครียด โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพเป็นผู้ให้ คำปรึกษาและประเมินการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ โดยต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการ สปาเพื่อสุขภาพ และใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลหรือใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลจาก กระทรวงสาธารณสุข
 
3. สาขาเวลเนส แอนด์ สปา รีทรีต (Wellness & Spa Retreat) - สถานบริการสปาและบริการ สุขภาพแบบองค์รวมที่เน้นสร้างเสริมสุขภาพแก่ร่างกายและจิตใจ โดยมีการออกแบบโปรแกรมเฉพาะบุคคลที่ มีจุดประสงค์ในการบำบัดสุขภาพ การพักผ่อนเพื่อสุขภาพ และการผ่อนคลายความเครียด รวมถึงให้บริการ กิจกรรมเพื่อสุขภาพต่าง ๆ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพเป็นผู้ให้คำปรึกษาและประเมินการ เปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ เช่น การล้างพิษ (Detoxification) การลดน้ำหนัก การฝึกโยคะ การนั่งสมาธิ และ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม และใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลหรือใบอนุญาตให้ดำเนินการ สถานพยาบาลจากกระทรวงสาธารณสุข 
 
4. สาขานวดไทย (Nuad Thai for Health) - สถานบริการนวดไทยเพื่อสุขภาพที่ให้บริการดูแลและ ส่งเสริมสุขภาพ การผ่อนคลาย โดยมีการออกแบบเมนูที่ใช้เวลาในการให้บริการเพียงระยะสั้น ๆ เช่น การนวด ไทย นวดไทยประคบ หรือการผสมผสานศาสตร์การนวดไทยที่เป็นภูมิปัญญาไทย (ฤาษีดัดตน นวดตอกเส้น หรือนวดย ่าขาง เป็นต้น) โดยต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพ จาก กระทรวงสาธารณสุข

4.ประเภทรายการนำเที่ยว (Tour Programmes) LINK

นิยาม รายการนำเที่ยวที่จัดขึ้นเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์การท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบและ/หรือ ความรู้ด้านธรรมชาติ ระบบนิเวศ วัฒนธรรม วิถีชุมชน ประวัติศาสตร์ ให้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งรายการ นำเที่ยวที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยเท่านั้น และจะต้องมีการดำเนินการและ ให้บริการมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี

5.ประเภทการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเพื่อความยั่งยืน (Low Carbon & Sustainability)

นิยาม แหล่งท่องเที่ยว ที่พักนักท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รายการนำเที่ยว หรือสถานประกอบอื่น ๆ ที่ดำเนินธุรกิจโดยมีนโยบาย มาตรการ ความคิดริเริ่ม ในการจัดการคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) อย่างเป็น รูปธรรม ใส่ใจต่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Emergency) สอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ คำนึงถึงความสมดุลสู่ความยั่งยืน (Sustainability) ใน 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม มิติเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีการกระจายรายได้เอื้อ ประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ มิติสิ่งแวดล้อม การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการปล่อยมลพิษใน ระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ มิติสังคม การพัฒนาสังคมยั่งยืน พัฒนาคนให้มีความรู้ มีสมรรถนะ และผลิตภาพสูง เกิดสังคมที่มี คุณภาพ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด