ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคฝีดาษลิง Monkeypox กลุ่มเสี่ยงมากที่สุดคือเด็กเล็ก

โรคฝีดาษลิง Monkeypox กลุ่มเสี่ยงมากที่สุดคือเด็กเล็ก HealthServ.net
โรคฝีดาษลิง Monkeypox กลุ่มเสี่ยงมากที่สุดคือเด็กเล็ก ThumbMobile HealthServ.net

เกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus พบในสัตว์ตระกูลฟันแทะ ลิง กระต่าย ติดต่อได้จากสัตว์สู่คนและจากคนสู่คนด้วยกันเองผ่านทางการหายใจ ผิวหนัง เลือดหรือสารคัดหลั่ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายเองได้ กลุ่มเสี่ยงมากที่สุดคือเด็กเล็ก



สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus ธรรมชาติของเชื้อไวรัสก่อโรคนี้ มีรังโรคอยู่ในสัตว์ตระกูลฟันแทะและติดต่อไปยังสัตว์อื่นในตระกูลลิงไม่มีหาง กระต่ายและสัตว์ฟันแทะอื่น เช่น กระรอกดิน
 
 
อาการ
 
  • ไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ
  • อ่อนเผลียและมีต่อมน้ำเหลืองโต
  • อาการทางผิวหนัง มักเกิดหลังจากไข้ลดลงโดยมักจะเริ่มมีผื่นที่บริเวณใบหน้าก่อน หลังจากนั้นจะลามไปส่วนอื่นๆของร่างกาย และมีการเปลี่ยนเป็นตุ่มหนองแล้วตกสะเก็ดภายหลัง และอาจเกิดแผลเป็นตามมา
 
 
การติดต่อ
มีทั้ง จากสัตว์สู่มนุษย์ และจากมนุษย์สุ่มนุษย์ ด้วยกันเอง 
 
จากสัตว์สู่มนุษย์
 
  • จากการสัมผัสสารคัดหลั่งทางผิวหนัง เยื่อเผือก เช่น จมูก ปาก ตา
  • นำซากสัตว์ป่วยมาประกอบอาหาร
  • ถูกสัตว์ป่วยกัด
 
 
จากมนุษย์สุ่มนุษย์
 
  • ละอองฝอยทางการหายใจ
  • สัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งและรอยโรคที่ผิวหนังของผู้ป่วย
  • หลังจากได้รับเชื้อจะมีระยะฟักตัวเฉลี่ย 7-14 วัน หรือนาน 21 วัน
 
 
โอกาสในการแพร่จากคนสู่คนค่อนข้างต่ำ
 
 
การวินิจฉัย
 
  • วินิจฉัยจากประวัติและอาการ
  • ตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี PCR จากของเหลวตุ่มน้ำที่ผิวหนัง
 
การรักษา
 
  • ให้ยาต้านไวรัส Cidofovir, Tecoviramet, Brincidofovir
  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายเองได้ แต่ก็พบรายงานการเสียชีวิตจากโรคนี้ โดยกลุ่มเสี่ยงมากที่สุดคือเด็กเล็ก
 
 
การป้องกัน
 
  • ล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่/แอลกอฮอล์
  • งดรับประทานอาหารที่ปรงจากสัตว์ป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าจากพื้นที่เสี่ยงหรือสัตว์ป่าป่วยหรือผู้มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยง
  • วัคซีนที่ได้รับอนุมัติใน USA คือ JYNNEOS
 
สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์
โรคฝีดาษลิง Monkeypox กลุ่มเสี่ยงมากที่สุดคือเด็กเล็ก HealthServ
โรคฝีดาษลิง Monkeypox กลุ่มเสี่ยงมากที่สุดคือเด็กเล็ก HealthServ
 

ยง ภู่วรวรรณ ได้ให้ความรู้และข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับโรค "ฝีดาษวานร"  ไว้ดังนี้

โรคนี้วินิจฉัยครั้งแรกพบในลิง จึงเรียกว่าฝีดาษลิง  (Monkeypox) ผู้ป่วยในมนุษย์ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดไม่ได้ติดจากลิง เคยมีหลักฐานการติดต่อจากสัตว์ตระกูลฟันแทะ จำพวกหนู กระรอก เช่นหนูแกมเบีย (Giant Gambian rat) ที่นำเข้าไปในอเมริกา และมีการติดต่อไปสู่หนูแพรี่ด็อก และคนติดมาอีกทีหนึ่ง
 
การเรียกฝีดาษลิง จึงไม่ยุติธรรมสำหรับลิง เพราะคนเราจะรังเกียจลิง ลิงที่อยู่ตามวัด ในบ้านเรามีมาก จะขาดแคลนอาหาร เป็นที่เดือดร้อนของชาวลิงอย่างแน่นอน
 
โรคในตระกูลฝีดาษหรือไข้ทรพิษ สมัยก่อนมีฝีดาษวัว ที่ข้ามมายังมนุษย์ได้และนำมาใช้ทำวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษทำให้โรคนี้หมดไป เพราะการติดฝีดาษวัว จะเป็นตุ่มหนองเฉพาะตรงที่สัมผัสเท่านั้น หรือเรียกว่าขึ้นเฉพาะที่ ส่วนฝีดาษนกหรือไก่ยังไม่มีหลักฐานการข้ามมายังมนุษย์
 
ลักษณะตุ่มฝีดาษหรือไข้ทรพิษ หรือในตระกูลฝีดาษ ตุ่มหนองจะเริ่มจากรอยแดงแล้วเป็นน้ำใสและเปลี่ยนเป็นน้ำขุ่นข้น สีขาวเหลือง ตรงกลางจะมีรอยบุ๋ม ซึ่งต่างกับ โรคสุกใสที่เกิดจากไวรัสต่างกลุ่มกันจะเป็นน้ำใส 
 
ข้อแตกต่างที่ชัดเจนกับโรคสุกใส ที่สมัยผมเป็นนักเรียนต้องท่องได้ มีตุ่มของฝีดาษ จะขึ้นพร้อมกันระยะเดียว เหมือนกัน เริ่มจากแดงเป็นตุ่มน้ำและตกสะเก็ดพร้อมๆกัน แต่ของสุกใสจะมีหลายระยะเช่นบางตุ่มเป็นแค่ตุ่มแดงบางตุ่มเป็นน้ำใสแล้ว
 
การกักตัวผู้ป่วยจึงต้องกักตัวให้แผลทุกแผลตกสะเก็ดหมด จึงจะพ้นระยะติดต่อ สำหรับผู้สัมผัสโรคจะต้องกลับตัวดูอาการ 21 วันตามระยะพักตัวที่มากที่สุด
 
บริเวณที่ขึ้นตุ่มของสุกใสจะขึ้นบริเวณลำตัวมากกว่า ส่วนของฝีดาษจะขึ้นมากที่แขนขาแล้วค่อยไปลำตัว
ลักษณะของตุ่มฝีดาษจะบุ๋มตรงกลางที่เรียกว่า umbilicated vesicle ส่วนของสุกใสจะเป็นตุ่มน้ำใสหลายระยะ
เป็นที่น่าสังเกตว่า ฝีดาษลิงที่กำลังระบาดและพบอยู่ขณะนี้ พบในเพศชายเกือบทั้งหมด
 
ฝีดาษวัวป้องกันฝีดาษหรือไข้ทรพิษ โดยหลักการแล้วก็น่าจะข้ามมาป้องกันฝีดาษลิงได้ แต่ขณะนี้ก็มีการพัฒนาวัคซีนฝีดาษเด็กโดยตรง

ยง ภู่วรวรรณ
23 พฤษภาคม 2565
โรคฝีดาษลิง Monkeypox กลุ่มเสี่ยงมากที่สุดคือเด็กเล็ก HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด