ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คำถาม-คำตอบ เรื่องกัญชา กัญชง ภายหลังปลดล็อก - อย.

คำถาม-คำตอบ เรื่องกัญชา กัญชง ภายหลังปลดล็อก - อย. Thumb HealthServ.net
คำถาม-คำตอบ เรื่องกัญชา กัญชง ภายหลังปลดล็อก - อย. ThumbMobile HealthServ.net

คำถาม-คำตอบ จาก อย. ในประเด็นสำคัญ ได้แก่ แนวทางการปลูก นำเข้า นำเข้า/นำติดตัวเพื่อใช้เฉพาะตน การสกัด การจาหน่าย การปลูก กัญชา-กัญชง ภายหลังปลดล็อกพ้นจากยาเสพติด

 


การปลูก กัญชำ กัญชง


Q.การปลูก ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด หรือไม่
A.ไม่ต้อง ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 แต่ขอความร่วมมือให้ประชาชนที่ต้องการปลูกกัญชา กัญชง แจ้งข้อมูลผ่านระบบ Application "ปลูกกัญ" ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดทำขึ้นการนำเข้ากัญชา กัญชง
 
Q.การนำเข้าสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง สามารถกระทำได้หรือไม่ อย่างไร
A.ห้ามนำ เข้า สารสกัด ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้ โดยต้องขออนุญาตตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
• กรณีเพื่อการศึกษาวิจัย
• กรณีเป็นหน่วยงานรัฐเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ 
 
Q.สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง ที่เป็นสารควบคุมคุณภาพในการตรวจวิเคราะห์ และควบคุมคุณภาพของการตรวจสารเสพติดในร่างกายสำหรับใช้เป็นเครื่องมือแพทย์ จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 หรือไม่ และการนำเข้าต้องดำเนินการอย่างไร
A.ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 5 แต่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ดังนั้นการนำเข้าต้องได้ รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์
 
Q.การนำเข้าผลิตภัณฑ์ (Finished product) ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชากัญชง และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของส่วนต่างๆ ของพืชกัญชา กัญชง ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด
A.ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเทศ 5 การนำเข้าจึงไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าตามประมวลกฎหมายยาเสพติด แต่ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้งานบนฉลากผลิตภัณฑ์หรือความมุ่งหมายของผู้ผลิต ดังนี้
 
กรณีอาหาร จัดเป็นอาหารห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 พ.ศ.2564 ที่ออกตามมาตรา 6(8) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท
 
กรณีเครื่องสำอาง จัดเป็นเครื่องสำอางที่ห้ามนำเข้าตามประกาศฯ ที่ออกตามความในมาตรา 6(1) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามความใ นพ ระบัญัญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
 


กรณีการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น
 
Q.การนำเข้าเมล็ดกัญชา กัญชง และส่วนอื่น ๆ ของพืชกัญชา กัญชง เช่น เปลือก ลำต้น ใบ เส้นใย กิ่งก้าน ราก ยอดหรือช่อดอก มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารสกัดจากกัญชา กัญชง ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด
 
A.ต้องขอรับอนุญาต ดังนี้
 1. ขออนุญาตนำเข้าตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และกรณีนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชา กัญชง ต้องขออนุญาตนำเข้าตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ด้วย
 
 2. เมื่อได้รับอนุญาตตามข้อ 1 แล้ว หากจะนำพืชกัญชา กัญชงดังกล่าวมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารสกัดจากกัญชา กัญชงให้ดำเนินการตามกฎหมายว่ำด้วยผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ โดย
 
 กรณีนำมาผลิตเป็นอาหาร ไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากจัดเป็นอาหารห้ามนำเข้า
 
 กรณีนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอาง ไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ห้ามนำเข้า
 
 กรณีนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
 
ซึ่งหากได้รับอนุญาตให้ผลิตถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การพิจารณาตรวจสอบการนำเข้าเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก็สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกัน
 
 
 
 

การนำเข้า/นำติดตัวเพื่อใช้เฉพาะตน ของกัญชา กัญชง

 
Q.การนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของส่วนต่าง ๆ ของพืชกัญชา กัญชง รวมถึงการนำเข้าส่วนต่าง ๆ ของพืช เพื่อใช้เฉพาะตัว ครอบคลุมการนำเข้าในลักษณะใดบ้าง และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้หรือไม่ อย่างไร
 
A.การนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของส่วนต่าง ๆ ของพืชกัญชา กัญชง รวมถึงการนำเข้าส่วนต่าง ๆ ของพืช เพื่อใช้เฉพาะตัวครอบคลุมการนำเข้าใน 2 ลักษณะ ดังนี้
 
1. การนำติดตัวผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และ
 
2. การส่งทางพัสดุ/ไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
 
ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การนำเข้าเพื่อใช้เฉพาะตัวไว้ว่า ผู้นำเข้าต้องเป็นบุคคลธรรมดา และมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้เฉพาะตัวของผู้นำเข้าเอง โดยพิจารณาจากรูปแบบของสินค้าที่นำเข้า ดังนี้

ก. การนำเข้าในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เช่น เครื่องมือแพทย์ หรือวัตถุอันตราย หรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้งานบนฉลากผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้หากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นอาหาร หรือเครื่องสำอาง จะไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากจัดเป็นอาหารห้ามนำเข้าหรือเป็นเครื่องสำอางที่ห้ามนำเข้า

ข. การนำเข้าในรูปแบบส่วนต่าง ๆ ของพืชต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ก่อน และหากนำเข้ามาเป็นอาหารเพื่อบริโภคส่วนตัวจะไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากจัดเป็นอาหารห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 พ.ศ. 2564 ส่วนกรณีนำเข้าส่วนต่าง ๆ ของพืชกัญชา กัญชง มาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อใช้เฉพาะตัว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร
 
 
 
Q.การสกัดพืชกัญชา กัญชง ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด หรือไม่
A.การสกัด ไม่ว่าจะเป็นการนาส่วนใดของพืชกัญชา กัญชง ไปสกัด โดยสารสกัดที่ได้จะมี THC เท่าใดก็ตาม ต้องขออนุญาตผลิตสกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด (ยกเว้นการสกัดจากเมล็ด)
 
โดยผลผลิตสารสกัดที่ได้ แบ่งเป็น 2 ส่วน
 ส่วนที่ 1 สารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2 % จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ
 ส่วนที่ 2 สารสกัดที่มี THC เกิน 0.2 % จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ
 
Q.การจำหน่าย ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด หรือไม่
A.การจาหน่ายส่วนของพืช ไม่ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์ ต้องขอรับอนุญาตตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 การจำหน่ายสารสกัดที่ได้รับอนุญาตให้สกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
 
 - กรณีเป็นสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2 % ไม่ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ
 
 - กรณีสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2 % ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ และผู้ซื้อต้องมีใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษด้วยการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น
 
Q.การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสาอางต้องทาอย่างไร
A.ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสาอางที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง ไม่ต้องขออนุญาตก่อน แต่จะต้องนำผลิตภัณฑ์ที่จดแจ้งเรียบร้อยแล้วและมีฉลากภาษาไทยที่ระบุข้อความครบถ้วน ถูกต้องมาจำหน่าย
 
Q.การนำส่วนของกัญชา กัญชง และสารสกัด CBD มาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องสาอางเพื่อจาหน่าย จะต้องดาเนินการตามกฎหมายใด

A.

(1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563 อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 เรื่อง การใช้กัญชงในเครื่องสำอาง กำหนดให้น้ำมัน/สารสกัดจากเมล็ดกัญชงจะต้องมีปริมาณสาร THC ที่ปนเปื้อนในวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปไม่เกิน 0.2 %w/w ยกเว้นผลิตภัณฑ์ Soft gelatin capsule/ ช่องปาก/ จุดซ่อนเร้น ที่จะต้องมีปริมาณสาร THC ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สาเร็จรูปไม่เกิน 0.001 %w/w และแสดงคาเตือนตามที่กาหนด
 
(2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564 อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 เรื่อง การใช้ส่วนของกัญชงในเครื่องสำอาง กาหนดให้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของส่วนของกัญชงจะต้องมีปริมาณสาร THC ปนเปื้อนไม่เกิน 0.2 %w/w โดยอนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ล้างออกเท่านั้น ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในช่องปากหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้บริเวณจุดซ่อนเร้น และแสดงคาเตือนตามที่กาหนด
 
(3) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564 อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 เรื่อง การใช้ส่วนของกัญชาในเครื่องสำอาง กาหนดให้ผลิตภัณฑ์สาเร็จรูปมีส่วนผสมของส่วนของกัญชาจะต้องมีปริมาณสาร THC ปนเปื้อนไม่เกิน 0.2 %w/w โดยอนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ล้างออกเท่านั้น ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในช่องปากหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้บริเวณจุดซ่อนเร้น และแสดงคำเตือนตามที่กำหนด
 
(4) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564 อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 เรื่อง การใช้สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออลจากกัญชาและกัญชงในเครื่องสำอาง กำหนดให้สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออลจากกัญชาและกัญชงที่ใช้เป็นวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจะต้องมีปริมาณสาร THCปนเปื้อนไม่เกิน 0.2 %w/w ยกเว้นผลิตภัณฑ์รูปแบบน้ำมัน/ Soft gelatin capsule ที่จะต้องมีปริมาณสาร THC ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปไม่เกิน0.001 %w/w โดยที่ความเข้มข้นสูงสุดของสาร CBD ในผลิตภัณฑ์สาเร็จรูปต้องไม่เกิน 1 %w/w และแสดงคำเตือนตามที่กำหนด
 
ทั้งนี้ วัตถุดิบน้ำมัน/สารสกัดจากเมล็ดกัญชง ส่วนของกัญชา กัญชง และ สาร CBD ที่ได้จากกัญชา กัญชง ที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องต้องเป็นวัตถุดิบที่ได้จากการผลิตในประเทศ ไม่อนุญาตการนำเข้าวัตถุดิบดังกล่าวรวมถึง CBD สังเคราะห์ ซึ่งเป็นไปตามประกาศฯทั้ง 4 ฉบับข้างต้น
 
 
Q.การนำส่วนของกัญชา กัญชง และสารสกัด CBD มาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่าย เป็นไปตามกฎหมายใด
A.เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 425) พ.ศ. 2564 (ฉบับที่ 427) พ.ศ. 2564 และ (ฉบับที่ 429) พ.ศ.2564 กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการใช้ประโยชน์จากเมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง โปรตีนจากเมล็ดกัญชง ส่วนของพืช ได้แก่ เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก และใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และสารสกัดแคนนาบิไดออล สามารถขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารหรือขออนุญาตใช้ฉลากอาหารเพื่อรับเลขสารบบอาหาร โดยต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐาน เงื่อนไขชนิดอาหารและปริมาณ CBD/THC และแสดงคำเตือนเป็นไปตามที่ประกาศกำหนด
 
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย ต้องดำเนินการดังนี้
 1. ยื่นขอสถานที่ผลิตอาหาร
 2. ยื่นขอรับเลขสารบบอาหาร
 
 สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้จากกองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรณี
สถานที่ผลิตตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตามจังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิต
อาหารนั้น ๆ และสามารถศึกษาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ กองอาหาร >> หัวข้อ : การขออนุญาตผลิตภัณฑ์ที่
มีส่วนของกัญชา กัญชง และสารสกัด CBD และคู่มือประชาชนผ่านลิงค์
https://www.fda.moph.go.th/sites/food/SitePages/cannabis.aspx
 
Q.สถานประกอบการอาหารที่ปรุงเพื่อจำหน่ายภายในร้านอาหาร หรือสถานที่อื่นในลักษณะทำนองเดียวกันรวมถึงการบริการจัดส่งอาหารให้กับผู้ซื้อ ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด
A.ไม่ต้องขออนุญาตกับ อย. แต่สถานประกอบการ ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 ดังนี้
(1) แสดงข้อแนะนำ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหารตามประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำประกอบหรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565
(2) แสดงคำเตือนรายการอาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชาหรือกัญชงในภาชนะบรรจุ ดังต่อไปนี้
(ก) ข้อความ "เด็ก อายุต่ากว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน"
(ข) ข้อความ "หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที"
(ค) ข้อความ "ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocanabionol ,THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Canabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน"
(ง) ข้อความ "อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล"
 
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์กรมอนามัย
https://laws.anamai.moph.go.th/th/practices/208766
 
 
Q.หลังจากการปลดล็อค พืชกัญชาและกัญชงไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษแล้ว ทุกคนสามารถนำทุกส่วนของพืชกัญชาและกัญชงมาใช้บริโภคเป็นอาหารได้หรือไม่
A.ผลิตภัณฑ์อาหารอนุญาตให้ใช้กัญชา/กัญชง เฉพาะที่ปลูกและผลิตในประเทศไทย โดยไม่อนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์หรือพืชกัญชา และกัญชง ไม่ว่ากรณีใดๆเนื่องจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย และกำหนดส่วนของพืชกัญชากัญชงที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านอาหารได้เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศเท่านั้น ได้แก่
(ก) เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก
(ข) เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง
(ค) ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
(ง) สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบ และต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักแห้ง
(จ) กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชาและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักแห้ง
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด