อาหารผู้ป่วยโรคมะเร็ง
การศึกษาวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าในระยะที่เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ รวมทั้งมะเร็ง ถ้าร่างกายได้รับอาหารที่เหมาะสม เพียงพอ จะช่วยให้การรักษาได้ผลดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด การผ่าตัด หรือการฉายรังสีช่วยให้ฟื้นสภาพได้เร็วและดีขึ้น ร่างกายมีพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ รักษาน้ำหนัก ผลข้างเคียงจากการรักษาลดลง ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือน้อยที่สุดก็จะช่วยให้คงสภาพนั้นไว้ไม่ให้เสื่อมโทรมกว่าที่ควรจะเป็น จึงเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันว่าการมีภาวะโภชนาการที่ดี จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง
ความสำคัญของอาหารกับผู้ป่วยมะเร็ง
อาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง การรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารเพียงพอและเหมาะสมก่อน ระหว่างและหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้นและมีความรู้สึกดีขึ้นมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคได้
ผู้ป่วยมะเร็ง อาจจะมีปัญหาจากการรักษาซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลงอาการเหล่านั้นได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก แสบปาก กลืนลำบาก ยาที่รักษามะเร็งอาจมีผลลดความอยากอาหาร การรับรสชาติเปลี่ยนไป ร่วมกับการรับประทานอาหารน้อยลง การดูดซึมสารอาหารลดลง สิ่งเหล่านี้นำไปสู่ปัญหาทางโภชนาการ (การขาดสารอาหาร) ผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมาก ไม่ได้เสียชีวิตจากการลุกลามของโรค แต่กลับเป็นเพราะการขาดอาหาร
ทำไมเป็นมะเร็งแล้วจึงขาดอาหาร
ร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้น เซลล์มะเร็งมีการสร้างสารเคมีบางอย่าง ทำให้มีการ เผาผลาญอาหารที่รับประทานเข้าไปให้หมดโดยเร็วเพื่อใช้เป็นพลังงานถ้าได้อาหารไม่เพียงพอจึงมีการเผาผลาญอาหารจากส่วนที่ร่างกายสะสมไว้ในร่างกายและลุกลามไปถึงกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆได้
รับประทานอาหารได้น้อย ในขณะที่ร่างกายต้องการอาหารเพื่อนำไปสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น เพราะเบื่ออาหารซึ่งเป็นอาการปกติที่เกิดกับผู้ป่วยโรคมะเร็งซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งเมื่อเริ่มเกิดโรคหรือเกิดในระยะต่อมาเมื่อมีการแพร่ของเซลล์มะเร็งในร่างกาย การเบื่ออาหารจึงเป็นสาเหตุ ทำให้ขาดอาหารได้ง่ายขึ้น
ไม่รับประทานอาหารบางชนิด ปัญหาการไม่ยอมรับประทานอาหารหลาย ๆ ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเข้าใจว่าเป็นอาหารแสลงสำหรับโรคมะเร็ง นับเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งขาดสารอาหาร
ผลกระทบของการรักษาโรคมะเร็งต่อภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
รับประทานอาหารได้น้อยลงไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบร่างกายที่เกิดขึ้นจากการรักษา
มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก กลืนลำบาก แสบปากและเจ็บเมื่อรับประทานอาหาร
ยาที่รักษามะเร็งมีผลลดความอยากอาหาร การรับรสชาติเปลี่ยนไป ทำให้รับประทานอาหารน้อยลง การดูดซึมสารอาหารลดลงนำไปสู่ปัญหาการขาดสารอาหาร ทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอ เหนื่อยง่าย ภูมิต้านทานลดลงติดเชื้อง่ายและไม่สามารถทนต่อการบำบัดได้
ปัญหาที่พบเสมอในผู้ป่วยมะเร็งคือ ได้รับโปรตีนและพลังงานไม่เพียงพอ ซึ่งสารอาหารทั้งสองชนิดมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการรักษาโรค ต่อต้านการติดเชื้อ และให้พลังงานแก่ร่างกายในการที่จะป้องกันการนำกล้ามเนื้อไปใช้เป็นพลังงาน
กินอย่างไรเมื่อภูมิคุ้มกันต่ำ
ผู้ได้รับเคมีบำบัด ผู้ปลูกถ่ายไขกระดูก ควรปรุงอาหารให้สุกเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อที่เกิดจากอาหารในผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ (โดยทั่วไปจะเกิดประมาณ 10-14 วันหลังรับยา)
อาหารควรผ่านการพลาสเจอไรซ์ การสเตอริไรซ์ เช่น นมกล่อง นมกระป๋อง
อาหารทางการแพทย์แบบผงผ่านการสเตอริไรซ์แล้วสามารถทานได้
เนื้อสัตว์ทุกชนิดต้องผ่านความร้อนให้สุกก่อนทั้งสิ้น
เต้าหู้ควรนำไปต้มอย่างน้อย 5 นาทีก่อนนำมาปรุงอาหาร
เครื่องปรุงอื่นๆเช่น ซอส น้ำตาล สามารถใช้ได้ พวกที่ใช้ไม่หมดและไม่ใช่ของแห้งหลังจากเปิดใช้ควรใส่ตู้เย็น
เครื่องดื่มหรืออาหารที่มีการใส่ยีสต์ ควรผ่านความร้อนก่อนรับประทานทุกครั้ง
น้ำและเครื่องดื่มควรผ่านการต้ม
น้ำในขวดบริโภคผ่านการขึ้นทะเบียน อย. สามารถดื่มได้
อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่มีปัญหาตามอาการ
ในผู้ป่วยมะเร็งที่มีปัญหาเฉพาะด้านที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ควรปรับการกินอาหาร
ตามอาการที่ปรากฏ ได้แก่ อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน การรับรสเปลี่ยน ปากแห้ง เจ็บปาก อิ่มเร็ว ท้องเสีย ท้องผูก ดังนี้
การป้องกันโรคมะเร็งด้วยแนวทางด้านอาหารและ โภชนาการของกองทุนวิจัยโรคมะเร็งโลก และ ตัวอย่างรายการอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง รายวันต่อสัปดาห์