ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ไทยยืนยัน พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนรายแรก เป็นอเมริกันเดินทางจากสเปน

ไทยยืนยัน พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนรายแรก เป็นอเมริกันเดินทางจากสเปน HealthServ.net
ไทยยืนยัน พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนรายแรก เป็นอเมริกันเดินทางจากสเปน ThumbMobile HealthServ.net

เปิดไทม์ไลน์การเดินทาง การตรวจพบ ตั้งแต่ 28 พ.ย. - 3 ธ.ค. 64 จากตัวอย่างที่รพ.ส่งมาให้ตรวจ จาก Test and Go

ไทยยืนยัน พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนรายแรก เป็นอเมริกันเดินทางจากสเปน HealthServ
6 ธันวาคม 2564 นพ.ศุภกิจ  ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบายถึงกระบวนการตรวจ จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยขณะนี้เกือบทั้งหมดพบเป็นเดลต้า มีเพียงรายเดียวเป็นเชื้อเบต้าและอัลฟ่า  ในกระบวนการตรวจโควิดที่เป็นอยู่ปกตินั้นไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นสายพันธุ์ใด หากต้องการรู้จะต้องทำการตรวจสายพันธุ์ 3 วิธีคือ RT-PCR รู้ผลใน 1-2 วัน  ระดับที่สูงขึ้นหรือตรวจหาพันธุ์ที่ต้องสงสัย จะใช้วิธี Target sequencing รู้ผลใน 3 วัน และกรณีต้องการรู้ลึกจะใช้การตรวจทั้งตัวไวรัสที่เรียกว่า Whole genome sequencing ใช้เวลาราว 1 สัปดาห์
 

แนวทางการตรวจเพื่อระบุว่าเป็นพันธุ์ใด 

กรมวิทย์ได้พัฒนาชาร์ทขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจและบ่งชี้ว่าเชื้อที่พบเป็นสายพันธุ์ใด อาศัยลักษณะตัวเชื้อแต่ละสายพันธุ์ ดังนี้
หากพบว่า ตำแหน่งเชื้อ HV69-70 หายไป โดยไม่พบอย่างอื่น สันนิษฐานว่าเป็นสายพันธุ์ อัลฟ่า 
หากพบว่า ตำแหน่ง K417N หายไป สันนิษฐานว่าเป็นสายพันธุ์ เบต้า
หากพบว่า ตำแหน่ง L452R หากไป สันนิษฐานว่าเป็นสายพันธุ์ เดลต้า
 
สำหรับโอมิครอน จะใช้การตรวจว่ามีจุดใดหายไป 2 จุด คือ HV69-70 และ K417N จะสันนิษฐานว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอน จากลักษณะเป็นลูกผสมที่หายไปในหลายจุด 
 
จากตัวอย่างที่รพ.ส่งมาให้ตรวจ จาก Test and Go และสงสัยเบื้องต้นว่าเป็นโอมิครอน

แต่เหตุที่ไม่ประกาศเนื่องจากอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ Whole Genome Sequencing เพื่อยืนยันว่าเป็นโอมิครอนแน่นอนหรือไม่  พร้อมกับทำการสอบสวนโรคไปพร้อมกัน 
 
สำหรับผู้ที่พำนักในไทย
เริ่มตรวจจากตำแหน่ง L452R (เดลต้า) ก่อน 
หากไม่พบ L452R จะตรวจตำแหน่ง del 69-70 และ K417N เพิ่มเติม
 
 
 
ไทยยืนยัน พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนรายแรก เป็นอเมริกันเดินทางจากสเปน HealthServ


ข้อมูลผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่พบในไทย

เป็นชายไทย อายุ 35 ปี 
สัญชาติอเมริกัน
อาศัยที่สเปนเป็นเวลา 1 ปี
อาชีพ นักธุรกิจ 
ไม่มีโรคประจำตัว
ไม่มีอาการแสดงว่าติดเชื้อ
ได้รับวัคซีน 1 เข็ม ชนิด J&J จากสหรัฐ เมื่อ 28 มิถุนายน 64
 
มีผู้สัมผัสทั้งหมด 19 ราย เป็นพนักงานโรงแรม 17 ราย พนักงานในสนามบิน 2 ราย ทุกรายสัมผัสเสี่ยงต่ำ 

มีการติดตามผู้สัมผัส/มีประวัติเจอรายอื่นแล้ว 
 

ไทม์ไลน์ 

28 พ.ย. 64 ตรวจ pCR ที่สเปนไม่พบเชื้อ หลังจากนั้นไปทานข้าวเย็นกับเพื่อน เพื่อนไม่มีอาการป่วย จนถึงปัจจุบัน
 
29 พ.ย. 64 บินจากสเปนไปดูไบ เที่ยวบิน EK142 พักที่ดูบ 9 ชั่วโมง ไม่ได้พูดคุยกับใคร สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
 
30 พ.ย. 64 บินจากดูไบมากรุงเทพ เที่ยวบิน EK372 หลังจากลงเครื่อง เวลาเที่ยงคืน เข้ารับการตรวจเก็บตัวอย่างแบบ Drive thru ที่ รพ.คู่สัญญา และกลับเข้าโรงแรม ผู้ป่วยเข้าโครงการ Test and Go 
 
1 ธ.ค. 64 ได้รับแจ้งจากรพ.ว่าตรวจพบเชื้อโควิด-19  Ct: ORF1ab=33.10, N gene = 30.71
 
3 ธ.ค. 64 ส่งตัวอย่างเชื้อตรวจยืนยันที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 
 
6 ธ.ค. 64 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  แถลงข่าวยืนยันการตรวจพบเชื้อโอมิครอนรายแรกของประเทศไทย
ไทยยืนยัน พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนรายแรก เป็นอเมริกันเดินทางจากสเปน HealthServ


สรุปจำนวนตัวอย่างและผลตรวจสายพันธุ์ ผู้เดินทางเข้า ตั้งแต่ 1 พ.ย.-4 ธ.ค. 


ส่วนใหญ่เป็นเดลต้า และสายพันธุ์ย่อยเดลต้า พบว่าโอกาสเป็นโอมิครอน 1 ราย 

ผู้ที่ตรวจพบเชื้อ เป็นชายชาวอเมริกัน เดินทางมาจากสเปน

การเก็บตัวอย่างครั้งแรก วันที่ 30 พ.ย. พบเบื้องต้นว่า พบตำแหน่งกลายพันธุ์สอดคล้องกับที่พบในโอมิครอน 
 
ตัวอย่างที่เก็บจากระยะแรกการติดเชื้อ เชื้อน้อย การทำ Whole Genome จะพบยาก จึงได้ขอตัวอย่างใหม่อีกครั้งวันที่ 3 ธ.ค. พบว่ามีเชื้อมากขึ้น พบง่ายขึ้น 
 
การวิเคราะห์เพิ่มเติมจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 ผลที่ได้เช่นเดิม คือเข้าเกณฑ์ จึงสรุปได้ว่าเป็นเชื้อโอมิครอน 99.92% 
 
ข้อมูลจีโนมขาดความสมบูรณ์ในส่วนของ spike glycoprotein บางส่วน ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกรณีค่า Ct ค่อนข้างสูง ซึ่งแสดงถึงปริมาณไวรัสที่ค่อนข้างน้อย 
 
การดำเนินการตรวจจีโนมดำเนินการร่วมกับเครือข่าย ได้แก่ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข
 

สรุปเกี่ยวกับโอมิครอนในปัจจุบัน

  • สายพันธุ์ Omicron แพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์ที่ผ่านมา 2-5 เท่า
  • ผู้ติดเชื้อ Omicron ส่วนใหญ่ ไม่มีอาการ หรืออาการน้อย คล้ายโรคไข้หวัด (ผู้ติดเชื้อที่รายงานในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล)
  • ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ Omicron เสียชีวิต
  • มาตรการป้องกัน: ฉีดวัคซีนโควิดให้ครอบคลุมมากที่สุด ใช้มาตรการป้องกันส่วนบุคคลที่เข้มงวด เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และ VUCA
  • ยกระดับการเฝ้าระวัง ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ และสถานที่ท่องเที่ยง
  • ทำการสุ่มตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยไข้หวัดที่เป็นกลุ่มก้อน (Cluster)
  • ส่งตัวอย่างเชื้อที่พบจากผู้เดินทางหรือรายที่น่าสงสัย ไปตรวจหาสายพันธุ์ Omicron ที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ไทยยืนยัน พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนรายแรก เป็นอเมริกันเดินทางจากสเปน HealthServ
ไทยยืนยัน พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนรายแรก เป็นอเมริกันเดินทางจากสเปน HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด