สัญญาณเตือนว่าคุณอาจมีโรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับและควรไปพบแพทย์
ในผู้ใหญ่จะมีอาการเหล่นี้ได้ เช่น
- นอนกรนเสียงดังเป็นประจำ
- ญาติสังเกตเห็น ขณะนอนหลับมีหยุดหายใจ โคยอาจหายใจแรงๆ เสียงดังเป็นพักๆ สลับกับนิ่งเงียบ แล้ว หายใจเฮือก เหมือนจะสำลักน้ำลาย บางครั้งผู้ป่วย ะตื่นขึ้นมารู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก
- ง่วงนอนกลางวัน บางครั้งเผลอหลับไปในสถานการณ์ที่ไม่สมควร เช่น ขณะทำงาน ประชุม หรือขับรถเป็นต้น บางครั้งอันตรายมาก ถึงขั้นชีวิตตนเองและผู้อื่นจากการหลับใน ง่วงแล้วขับ จนเกิดอุบัติเหตุรถยนต์
- มีปัญหาเรื่อง ไม่มีสมาธิไนการทำงาน ขี้ลืม หงุดหงิดง่าย วิตกจริต หรือ ซึมเคร้า
- ตื่นนอนตอนเช้ามี ปวดศีรษะ หรือ คลื่นไส้
- ตื่นบ่อย ปัสสาวะบ่อย ช่วงนอนหลับกลางคืน
- ความต้องการทางเพศลดลง ผู้ชายอาจมีปัญหาเรื่องสมรรถภาพทางเพศลดลง ส่วนผู้หญิงอาจมีปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
- อาการเหล่านี้ ผู้ป้วยแต่ละคนอาจไม่ได้มีทุกอย่างและอาจจะมีความแตกต่างกันในด้านความรุนแรงในแต่ละบุคคล
- และที่สำคัญ ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นมานานอย่างช้าๆ ดังนั้นตัวผู้ป้วยเอง อาจจะไม่รู้สึกตัวว่ามีความผิดปกติอะไร หรือคิดว่าเป็นอาการผิดปกติที่พบได้ในผู้สูงอายุทั่วไปจึงมิได้ใส่ใจ
- แต่คนรอบข้างในครอบครัว หรือ เพื่อนร่วมงาน อาจจะเป็นผู้ที่ผิดสังเกตถึงความผิดปกติว่าผู้ป้วย มีความง่วงนอนผิดปกติ หรือมีอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นจึงควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์
จะทราบได้อย่างไรว่า คุณเป็นโรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ?
- หากคุณมีอาการนอนกรนดังเป็นประจำ หรือมีอาการดังที่กล่าวข้างต้น ควรจะไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพื่อที่จะได้รับการรักษาต่อไป การตรวจวินิจฉัยจำป็นต้องมารับการตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการการนอนหลับ (Sleep Laboratory) โดยจะมีการติดอุปกรณ์หลายอย่างเพื่อวัดคลื่นสมองขณะนอนหลับ วัดระดับออกซิเจนและลมหายใจ เป็นต้น
โรคนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับพบได้ในใครบ้าง
- เป็นได้ในทุกวัย เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงานและผู้สูงอายุ
- โรคนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับ พบได้ในประชากรทั่วไป ประมาณ 2-4%
- พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่เมื่อผู้หญิงถึงวัยหมดประจำเดือน จะมีโอกาสเป็นโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับสูงเพิ่มขึ้นมาก
ทำไมบางคนมีทางเดินหายใจส่วนต้นแคบ จนทำให้เกิดโรคนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับได้
สาเหตุของทางเดินหายใจส่วนต้นแคบ เกิดได้จากหลายๆ ปัจจัยร่วมกันได้ เช่น
- โครงสร้างใบหน้า ขากรรไกรเล็ก หรือมีลิ้นใหญ่
- ต่อมทอนซิลโต โดยเฉพาะในเด็ก
- และปัจจัยที่สำคัญคือความอ้วน ทำให้มีไขมันสะสมบริเวณคอ เป็นต้น
ศูนย์โรคการนอนหลับ SleepCenter.mahidol.ac.th
อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ 02-200-3768 กด 0 โทรสาร 02-201-3761
270 Rama 6 Rd, Rajataewe, Bangkok, Thailand