ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ซึมเศร้าในเด็กเล็ก ภัยเงียบ..ที่ไม่ใช่เรื่องเล็ก

อาจเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อว่า วัยเด็กซึ่งเป็นวัยที่บริสุทธิ์ สดใส ร่าเริง จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ แต่ความจริงเป็นที่น่าตกใจว่า เด็กมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าแบบรุนแรงและโรคซึมเศร้าแบบเรื้อรังได้เท่า ๆ กับผู้ใหญ่และสามารถเกิดการฆ่าตัวตายได้เช่นเดียวกัน

อาจเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อว่า วัยเด็กซึ่งเป็นวัยที่บริสุทธิ์ สดใส ร่าเริง จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ แต่ความจริงเป็นที่น่าตกใจว่า เด็กมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าแบบรุนแรงและโรคซึมเศร้าแบบเรื้อรังได้เท่า ๆ กับผู้ใหญ่และสามารถเกิดการฆ่าตัวตายได้เช่นเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการของลูก ดังนี้
 
1. หมั่นสังเกตอารมณ์ความรู้สึกของลูก
เด็กที่เริ่มมีอาการของโรคซึมเศร้า จะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เด็กเล็กมักจะมีอาการแกล้งป่วย ไม่ไปโรงเรียน ติดพ่อแม่ กังวลว่าพ่อแม่จะเสียชีวิต ส่วนเด็กโตจะนิ่งไม่พูด มีปัญหาที่โรงเรียน มองโลกในแง่ร้าย ซึ่งหากลูกมีพฤติกรรมเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบหาสาเหตุและดูแลเอาใจใส่ลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกเล่าความในใจออกมา นอกจากนี้การได้อยู่ใกล้ชิดพ่อแม่ ได้โอบกอด และได้แบ่งปันเรื่องราวแล้วมีคนรับฟังเป็นการบรรเทาอาการทุกข์ใจต่าง ๆ ให้คลายลง
 
2. สอนให้ลูกรับมือกับความทุกข์
ถึงแม้ว่าลูกยังเล็ก แต่การสอนให้ลูกเข้าใจความรู้สึกตัวเอง และให้ลูกแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ควรแนะนำลูก เมื่อเห็นว่าลูกจัดการกับปัญหาทางอารมณ์ไม่ได้ ก็อาจแนะนำให้มาปรึกษาพ่อหรือแม่ เพื่อช่วยกันคิด ช่วยกันหาคำตอบด้วยเหตุและผลไปด้วยกัน เมื่อลูกรู้ว่าตนเองมีที่พึ่งพิงยามทุกข์ใจ เขาก็จะมีจิตใจที่เข้มแข็งขึ้น และสามารถรับมือกับปัญหาที่จะตามมาอีกมากมายได้ดีขึ้นเช่นกัน

3. พ่อแม่หันมาสังเกตตนเอง
บางครั้งพ่อแม่อาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลให้ลูกเครียด จนลุกลามกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้ อาทิ คาดหวังในตัวลูกสูงเกินไป เลี้ยงดูลูกเคร่งครัดและอยู่ในระเบียบวินัยมากเกินไป หรือพ่อแม่มีปากเสียงทะเลาะกัน เมื่อเด็กต้องอยู่ในสภาวะความกดดันมากเกินไปย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของเด็กได้ง่าย
 
4. พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคุณครู
พฤติกรรมบางอย่างลูกอาจไม่ได้แสดงออกที่บ้าน แต่กลับแสดงออกที่โรงเรียน ฉะนั้นพ่อแม่จึงควรไปพบคุณครูเพื่อขอคำปรึกษา หาสาเหตุ และหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน หากเด็กโดนกลั่นแกล้งหรือมีปัญหาที่โรงเรียน คุณครูจะได้คอยช่วยเหลือและดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อพ่อแม่และครูมีทิศทางการแก้ปัญหาไปในทางเดียวกัน ก็จะช่วยเยียวยาและฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็กได้ง่ายและเร็วขึ้น
 
5. หากิจกรรมทำร่วมกัน
การทำกิจกรรมสนุก ๆ หรือกิจกรรมที่ลูกชอบร่วมกันทั้งสามคนพ่อแม่ลูก เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย และคลายความกังวลที่มีในใจลงได้ โดยเฉพาะการได้วิ่งเล่นออกกำลังกาย นอกจากจะทำให้จิตใจปลอดโปร่งแล้ว ลูกยังได้ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้แข็งแรงได้อีกด้วย
 
6. ปรึกษาแพทย์
หากคุณพ่อคุณแม่ลองทุกวิธีการแล้วสภาพจิตใจของลูกก็ยังไม่ดีขึ้น ควรพาไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป


60 หมู่ 6 ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
ต.เสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140
เบอร์โทร 0-2594-0020-65
Call Center 1218
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด