ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

www.ไทยร่วมใจ.com กรุงเทพปลอดภัย - ระบบลงทะเบียนฉีดวัคชีนโควิด-19

www.ไทยร่วมใจ.com กรุงเทพปลอดภัย - ระบบลงทะเบียนฉีดวัคชีนโควิด-19 Thumb HealthServ.net
www.ไทยร่วมใจ.com กรุงเทพปลอดภัย - ระบบลงทะเบียนฉีดวัคชีนโควิด-19 ThumbMobile HealthServ.net

เริ่มเปิดรับลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค.64 เวลา 12.00 น. ผ่าน 3 ช่องทาง สำหรับคนกรุงเทพ ที่มีอายุตั้งแต่ 18-59 ปี ซึ่งไม่ได้เป็น 7 กลุ่มโรคเสี่ยง

www.ไทยร่วมใจ.com กรุงเทพปลอดภัย - ระบบลงทะเบียนฉีดวัคชีนโควิด-19 HealthServ

ขั้นตอนการลงทะเบียน "ไทยร่วมใจ"

ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com หรือผ่านแอปฯ “เป๋าตัง

จะเปิดให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอายุตั้งแต่ 18-59 ปี ซึ่งไม่ได้เป็น 7 กลุ่มโรคเสี่ยง ลงทะเบียนจองวัคซีนผ่านเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com โดยจะเริ่มเปิดรับลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค.64 เวลา 12.00 น. และจะเริ่มฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.64 เป็นต้นไป โดยการลงทะเบียนแยกเป็น 3 กลุ่ม
 
กลุ่มที่ 1 ได้แก่ กลุ่มที่เคยเข้าร่วมโครงการภาครัฐ โดยมีแอปฯ “เป๋าตัง”
จะมีข้อมูลส่วนตัวอยู่ในระบบแล้วจึงไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่ สามารถแจ้งความประสงค์รับการฉีดวัคซีนและรอรับ SMS ยืนยันได้รับการจัดสรรวัคซีน
แต่หาก ลบแอปฯ เป๋าตังไปแล้ว ให้ดำเนินการนัดหมายผ่าน  www.ไทยร่วมใจ.com
 
กลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่มที่ "ไม่เคย" เข้าร่วมโครงการภาครัฐ
สามารถลงทะเบียนบนเว็บไซต์  www.ไทยร่วมใจ.com และรอรับ SMS แจ้งผลการจัดสรรวัคซีน และนัดหมายวัน เวลา สถานที่ฉีดวัคซีน ผ่าน  www.ไทยร่วมใจ.com  หรือ แอปฯ เป๋าตัง ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้
 
กลุ่มที่ 3 ได้แก่ กลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน
  • สามารถให้บุคคลในครอบครัวลงทะเบียนแทนได้ ผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่ลงทะเบียนแทน โดยระบบจะส่ง SMS แจ้งเตือนตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน
  • หรือ สามารถลงทะเบียนที่ร้านค้าสะดวกซื้อ ณ ร้าน 7-eleven, Family Mart , Tops Daily และ mini Big C ซึ่งเปิดเป็นจุดรับลงทะเบียน ช่วงเวลา 08.30 – 18.00 น.
กรุงเทพมหานครโดยโฆษก กทม.ยืนยันว่า การลงทะเบียน ไทยร่วมใจ ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับระบบหมอพร้อม อย่างแน่นอน แต่เป็นการสนับสนุนและทำควบคู่ไปกับหมอพร้อม ลักษณะเดียวกันกับ นนท์พร้อม ภูเก็ตพร้อม หรือที่จังหวัดอื่นๆ กล่าวคือ เป็นการจัดการข้อมูลลงทะเบียน โดยหน่วยท้องถิ่น เป็นไปเพื่อบริหารจัดการจุดฉีด กำหนดการ การกระจาย ฯลฯ เพื่อเป้าหมายสำคัญเดียวกันคือมุ่งบริการการฉีดให้ถึงประชาชนทุกคนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุด

สอบถามการลงทะเบียน/ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1516 ระหว่างเวลา 08.00 - 20.00 น. ของทุกวัน
 
จุดฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล 25 แห่ง

แบ่งเป็น 6 โซน ดังนี้

กรุงเทพกลาง
  1. ม.หอการค้าไทย 2,000-2,500 คน/วัน 
  2. สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ 1,000-1,500 คน/วัน

กรุงเทพเหนือ
  1. SCG บางซื่อ 2,000 คน/วัน  ร่วมกับ กรมการแพทย์
  2. ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว 2,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.รามาธิบดี
  3. ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ 2,500-3,000 คน/วัน
  4. ม.ศรีปทุม 1,500-2,000 คน/วัน
  5. เซ็นทรัลเฟสติดวัล อีสต์วิลล์  1,500-2,000 คน/วัน
กรุงเทพตะวันออก
  1. เดอะมอลล์ บางกะปิ 2,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.นพรัตน์ราชธานี
  2. โรบินสัน ลาดกระบัง 1,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.เครือบางปะกอก
  3. โลตัส มีนบุรี 1,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.เครือบางปะกอก
  4. บิ๊กซี ร่มเกล้า 1,000 คน/วัน
กรุงเทพใต้
  1. สามย่านมิตรทาวน์ เขตปทุมวัน 1,500 คน/วัน ร่วมกับ รพ.จุฬา
  2. ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค เขตสวนหลวง 1,000 คน/วัน  ร่วมกับ รพ.เครือบางปะกอก
  3. True Digital Park เขตพระโขนง 1,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.ศิริราช
  4. เอเชียทีค เขตบางคอแหลม 2,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.เครือบางปะกอก
  5. เซ็นทรัลเวิลด์ 2,500-3,000 คน/วัน
  6. สยามพารากอน 2,000-2,500 คน/วัน
  7. เอ็มโพเรียม 1,000 คน/วัน
  8. โลตัส พระราม 4 1,000-1,500 คน/วัน
กรุงธนเหนือ
  1. เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย 1,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.วชิรพยาบาล
  2. ไอคอนสยาม เขตคลองสาน 1,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.ศิริราช
  3. โลตัส ปิ่นเกล้า 1,500-2,000 คน/วัน
กรุงธนใต้
  1. สถานีบริการน้ำมัน ปตท. พระราม 2 เขตบางขุนเทียน (ขาออก) 1,500 คน/วัน ร่วมกับ รพ.เครือบางปะกอก
  2. เดอะมอลล์ บางแค 2,000 คน/วัน  ร่วมกับ ม.สยาม โดยคณะแพทย์ศาสตร์และพยาบาลศาสตร์
  3. บิ๊กซี บางบอน 1,500 คน/วัน  ร่วมกับ รพ.เครือบางปะกอก
 
*คลิกที่ชื่อแต่ละแห่งเพื่อดูแผนที่

กทม.ตั้งเป้าหมายในการฉีดที่หน่วยบริการนอกโรงพยาบาล ให้ได้แห่งละ 1,000-3,000 คนต่อวัน รวม 25 แห่ง จะให้บริการได้ 38,000-50,000 คนต่อวัน

25 พค 64 กรุงเทพมหานคร ทำการแถลงข่าวเปิดตัวระบบลงทะเบียนฉีดวัคชีนโควิด-19 โดย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวระบบลงทะเบียนฉีดวัคชีนโควิด 19 กับโครงการ "ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย" Safe Bangkok ลงทะเบียนฉีดวัคซีน เพือสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาล

ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย
โครงการ "ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย" Safe Bangkok ลงทะเบียนฉีดวัคซีน เพือสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ กับเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com นี้เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่ต้องการนำพาให้ประเทศก้าวผ่านวิกฤตโรคโควิด-19 โดยภาคีเครือข่ายจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการลงทะเบียนรับการฉีดวัคซีน ได้จากหน่วยบริการต่างๆ ของภาคีเครือข่ายได้ทั่วกรุงเทพ

การแถลงข่าว นำโดย ผู้บริหารองค์กรของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย 
  1. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  2. นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  3. นพ.เจด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช)
  4. คุณผยง ศรีวณิช  กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  5. คุณปัทมา จันทรักษ์  รองประธานกลุ่มอินโดจีน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
  6. คุณไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ กสทช.
  7. คุณพิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหารกลุ่มเซ็นทรัล
  8. คุณนพดล เดชอุดม ประธานกรรมการคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์
  9. คุณวิภาดา ดวงรัตน์ รองประธานกรรมการบริหารคนที่ 1 บ.บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
  10. คุณสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.แอ๊ดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
  11. คุณอาณัฐ เมฆไพบูลย์ รองประธานกรรมการบริหาร บ.ทรู คอร์เปอเรช่ัน จำกัด (มหาชน)
  12. คุณชารัด เมห์โรทรา (Sharad Mehrotra) CEO of Dtac

เป้าหมายโครงการ

โดยก่อนหน้า กรุงเทพมหานครได้ตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล จำนวน 25 แห่ง ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อขยายศักยภาพการ รองรับการให้บริการฉีดวัคซีนให้ประชาชน กระนั้นการบริหารจัดการเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น ต้องอาศัยระบบข้อมูล และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ กรุงเทพมหานครจึงได้ร่วมมือกับ หน่วยงานต่างๆ เพื่อ พัฒนาระบบ สำหรับให้ประชาชน ลงทะเบียนฉีดวัคซีน ณ หน่วยบริการนอกโรงพยาบาล ได้สะดวก รวดเร็ว ง่ายและทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่

ระบบ "ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย" จะเป็นอีกหนึ่งบทบาที่แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์ใด ระบบไอที จะเป็นเครื่องมือในการจัดการปัญหาได้เร็วขึ้น 

"อย่างคนรุ่นผมที่อาจจะใช้ไอทีไม่ค่อยเป็นเลย หน้าบ้านมีร้านสะดวกซื้อ ก็เดินไปหา ยื่นบัตรประชาชน แล้วเค้าจะช่วยจัดการให้หมด" - ผู้ว่า อัศวิน กล่าว

เป้าหมายหอการค้าไทย

นายสนั่น อังอุบลกุล กล่าวในนามของ หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หอการค้าไทยมีเป้าหมายต้องการให้ประชาชนได้รับวัคซีนให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด  ซึ่งขณะนี้ ศูนย์บริการฉีดทั้ง 25 ศูนย์มีความพร้อม ให้บริการในต้นเดือนมิย นี้ เชื่อมั่นว่าจะสามารถฉีดให้ประชาชนได้ไม่ต่ำกว่า 50,000 โดส/วัน ส่วนประชาชนที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยีต่างๆ สามารถไปลงทะเบียนได้ที่ร้านสะดวกซื้อต่างๆ ทั้ง 7-11 แฟมิลี่มาร์ท ท็อปส์ เดลี่ บิ๊กซี หอการค้าให้ข้อมูลคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการระบบคอลเซ็นเตอร์ สนับสนุนโดย ทรู ดีแทค และ AIS

สปสช.สนับสนุนฐานข้อมูลประชาชน 

สปสช. โดยนพ.เจด็จ ธรรมธัชอารี กล่าวว่าการดำเนินการนี้ เป็นไปเพื่อให้เกิดความสะดวกต่อประชาชนในการรับวัคซีน สปสช ในฐานะที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนของข้อมูลต่างๆ เมื่อประชาชนไปแสดงความต้องการที่จะรับบริการยังพื้นที่ต่างๆนั้น จะมีข้อมูลของท่านปรากฏอยู่แล้ว จึงไม่ต้องเสียเวลามากนักในการลงทะเบียน  หลังจากนั้นเมื่อได้เลือกสถานที่ที่จะไปฉีด และหลังจากได้รับการฉีดแล้ว ระบบจะเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อบันทึกการฉีด การติดตามผล สร้างการนัดหมายการฉีดคร้้งต่อไป และประโยชน์อื่นๆ ที่จะตามมา ระบบมีความพร้อมรองรับ ขอเชิญชวนให้ประชาชนมาฉีดกันให้มาก

เชื่อมั่นกรุงไทย จากประสบการณ์ลงทะเบียนโครงการภาครัฐ

ธนาคารกรุงไทย โดยร่วมมือกับ สปสช บ.ไอบีเอ็ม และ แอสเซนเจอร์ จะมีบทบาทในการเสริมพัฒนาระบบ ดิจิทัลแพลตฟอร์ม จากฐานข้อมูลเดิมของรัฐบาล ที่ทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และสปสช ได้ร่วมกันพัฒนาไว้ในโครงการต่างๆ ก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็น เราไม่ทิ้งกัน เรารักกัน ม.33 คนละครึ่ง และ กระเป๋าสุขภาพ (Health Wallet) โดยจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนฉีดวัคซีน ง่ายต่อการบริหารจัดการ เป็นระบบ N2N ที่ใช้กระดาษน้อยที่สุด เน้นประสิทธิภาพในการเร่งฉีดที่ศูนย์ฉีดนอกโรงพยาบาลในพื้นที่กทม. ทั้ง 25 ศูนย์ และข้อมูลทั้งหมดจะนำไปรวมกับข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข (MOP SIC) ไม่สร้างความสับสน และสามารถบูรณาการต่อยอด ให้เข้าถึงได้สะดวกทุกภาคส่วน โปร่งใสและตรวจสอบได้ ระบบมีความยืดหยุ่น สามารถปรับได้ตามประเภทของวัคซีน และสถานที่ฉีดได้ ตามปริมาณวัคซีนที่จะถูกจัดสรร ให้กับสถานที่ฉีดนอกโรงพยาบาล พวกเราจะทุ่มเทเพื่อสร้างความมั่นใจว่าระบบสนับสนุนการฉีดในแต่ละศูนย์จะมีประสิทธิภาพสูงสุด จากประสบการ์ณการพัฒนาระบบลงทะเบียนในโครงการภาครัฐหลายโครงการที่ผ่านมา ก็เชื่อว่าจะสร้างความเชื่อมั่นและทำให้การกระจายวัคซีนและฉีดวัคซีนในพื้นที่กทม. มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด