ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ปฏิบัติการบุกกรุง รอบ 3 ลุยตรวจโควิดชาวกทม. เป้า 2.5 แสนราย 4-10 ส.ค.64

ปฏิบัติการบุกกรุง รอบ 3 ลุยตรวจโควิดชาวกทม. เป้า 2.5 แสนราย 4-10 ส.ค.64 Thumb HealthServ.net
ปฏิบัติการบุกกรุง รอบ 3 ลุยตรวจโควิดชาวกทม. เป้า 2.5 แสนราย 4-10 ส.ค.64 ThumbMobile HealthServ.net

นำโดยชมรมแพทย์ชนบท พร้อมทีม CCR 39 ทีมจากทั่วประเทศ ลุยตรวจชุมชนแออัด

ปฏิบัติการบุกกรุง รอบ 3 ลุยตรวจโควิดชาวกทม. เป้า 2.5 แสนราย 4-10 ส.ค.64 HealthServ

แพทย์ชนบทบุกกรุงครั้งที่ 3

ปฏิบัติการสร้างความหวัง สู้ภัยโควิด เพื่อคนกรุง

หลังจากการปฏิบัติการแพทย์ชนบททั้ง 2 ครั้ง วันวันที่ 14-16 และ วันที่ 21-23 กรกฏาคม 2564 ซึ่งมีทีมแพทย์ชนบทรวม 2 ครั้ง 20 ทีมมาร่วมบุกกรุง เพื่อตรวจคัดกรองโควิดให้กับคนกรุงในพื้นที่ชุมชนแออัดที่เข้าไม่ถึงบริการทางการแพทย์ สามารถตรวจหาเชื้อได้กว่า 51,000 ราย พบผู้ติดเชื้อกว่า 7,000 ราย  และสัญญาว่า "เราจะกลับมาอีก"
 

คิกออฟ 4-10 สิงหาคม 64

หลังจากการเตรียมตัวอย่างทรหดและประสานงานกันมาหลายวัน ปฏิบัติการบุกกรุงในครั้งที่ 3 จึงเกิดขึ้นอีกครั้งแน่นอนแล้วในวันที่ 4-10 สิงหาคม 2564 ต่อเนื่องรวม 7 วัน  ด้วยทีมบุคลากรสาธารณสุขจากต่างจังหวัดกว่า 38 ทีม เฉลี่ยทีมละ 8-10 คน เล็กบ้างใหญ่บ้างตามแต่ใครจะรวบรวมกำลังส่งมาช่วยกู้กรุงได้กี่คน
 
Design การทำงานกู้ภัยโควิดในครั้งนี้จะครบวงจรมากขึ้น เริ่มด้วยการทำการ swab หาเชื้อด้วย rapid test หากได้ผลลบให้กลับบ้านได้หรือไปรับบริการวัคซีนจากทีมของกรุงเทพมหานครที่จะมาร่วมออกหน่วยด้วย แต่หากผลเป็นบวกก็จะถูกตามมาตรวจ rtPCR ซ้ำ ได้รับบริการยาฟ้าทะลายโจรหรือ Favipiravir และนำเข้าระบบ Home Isolation ของ สปสช.ในวันเดัียวกันเพื่อการดูแลรักษาที่ต่อเนื่อง
 

เป้าหมาย 7 วัน 250,000 ราย

ครั้งนี้ด้วยความร่วมมือที่กว้างขวาง จะมีการระดมทีมลงปฏิบัติการในชุมชนวันละ 30 จุด โดยสามารถตรวจและดูแลตามภารกิจที่วางไว้ได้จุดละ 1,000 คนต่อวัน รวมเป็นวันละ 30,000 ราย x 7 วันก็จะคัดกรองโรคได้ประมาณ 210,000 ราย
 
และจะมีทีมของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ที่จะนำทีมใหญ่มาคัดกรองแบบ walk in วันละ 5,000 คน ในจุดต่างๆ เปลี่ยนจุดไปทุกวัน x 7 วัน ก็จะคัดกรองได้อีก 35,000 ราย
 
ดังนั้นจากการประมาณการ ปฏิบัติการครั้งนี้จะสามารถคัดกรองผู้คนในเมืองกรุงได้ 250,000 ราย  หากผลบวกอยู่ที่ประมาณ 10-15% ก็จะพบผู้ที่มีเชื้อโควิดที่จะเข้าสู่ระบบการดูแลรักษา จำนวน 25,000-32,500 คน ซึ่งน่าจะสามารถตัดตอนการระบาดไปได้พอสมควร และสามารถช่วยลดภาระเตียงล้นของโรงพยาบาลใน กทม.ลงได้ เพราะเราจะพยายามจ่ายยา favipiravir ให้กับผู้ติดเชื้อตามเกณฑ์ที่ควรรับยาทุกคน เพื่อลดโอกาสที่เขาจะป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล
 

ปฏิบัติร่วมหลายองค์กร

ปฏิบัติการแห่งความหวังในครั้งนี้  เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่รวมพลังกันสู้ภัยโควิด กทม. อันได้แก่ ชมรมแพทย์ชนบท กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  กรุงเทพมหานคร รวมทั้งทีมอาสาจากภาคประชาชนคือ ทีมโควิดชุมชน(Com-Covid) เครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ IHRI และอีกหลายองค์กร เป็นความร่วมมือที่มหัศจรรย์ภายใต้เงื่อนเวลาที่เร่งรัดและทุกคนต่างก็มีภารกิจประจำอันมากมาย
 
หัวใจของการสู้ภัยโควิดอยู่ "ความหวัง" ปฏิบัติการครั้งนี้มุ่งสร้างความหวังให้กับทุกคนในกรุงเทพมหานครรวมทั้งคนไทยทั้งประเทศ ด้วยความหวังที่อยากเห็นทุกคนทุกองค์กรออกมาช่วยกัน ระดมสรรพกำลังให้เต็มที่ ใครทำอะไรได้ทำ อย่าคิดนาน ทำด้วยความเร็วในอัตราเร่งที่ให้ทันกับการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้า ความหวังในท่ามกลางความหดหู่ที่แสนเหน็ดเหนื่อยเท่านั้นที่จะช่วยให้ทุกคนฮึดสู้  และรวมพลังคนไทยสู้ภัยโควิดในครั้งนี้ ให้เราผ่านมันไปด้วยความสูญเสียทั้งด้านชีวิตและเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด

39 ทีม CCR TEAM

ทีมที่ร่วมประวัติศาสตร์ แพทย์ชนบท สหวิชาชีพ สภาวิชาชีพ จิตอาสา ภาคประชาชน เครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว  กระทรวงสาธารณสุข สปสช. กรุงเทพมหานคร . ปฏิบัติการ 7วัน  กอบกู้กรุงเทพมหานคร และสร้างความหวังให้กับผู้คน
 
ประกอบด้วย
1. ทีม รพ สิชล นครศรีธรรมราช
2. ทีม รพ.จะนะ สงขลา
3. ทีม รพ. สมเด็จนาทวี สงขลา
4. ทีม สสจ.ชัยภูมิ
5. ทีม สสจ.เชียงราย
6. ทีม สสจ.ลพบุรี
7. ทีม สสจ.น่าน
8. ทีม สสจ.สุรินทร์ 
9. ทีม สสจ.ยโสธร
10. ทีม รพท.ชุมพร
11. ทีม รพศ.มหาราช นครราชสีมา 
12. ทีม สสจ.ฉะเชิงเทรา
13. ทีม สสจ.ขอนแก่น  (มา 3 ทีม)
14. ทีม รพ.ด่านมะขามเตี้ย
15. ทีม สสจ สุโขทัย
16. ทีม สสจ.อุตรดิตถ์
17. ทีม รพท เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  จ.ระยอง
18. ทีม สสจ อุดรธานี
19. ทีม สสจ แพร่ 
20. ทีม รพท มหาสารคาม
21. ทีม รพท กาฬสินธุ์
22. ทีม สสจ ชุมพร 
23. ทีม สสจ ระนอง
24. ทีม​ รพ.ตากใบ​ + รพ. แว้ง สสจ.นราธิวาส
25.​ ทีม​ รพ.รามัน​ ยะลา
26. ทีม สสจ พะเยา
27. ทีม รพท สมุทรปราการ (ลงพื้นที่ตนเอง)
28. ทีม สสจ เพชรบุรี
29. ทีม สสจ สุราษฎร์ธานี
30. ทีม สสจ แม่ฮ่องสอน/รพ ปางมะผ้า
31. ทีม รพ.บางกรวย2  จ.นนทบุรี
32. ทีมสสจ.นครปฐม/รพ.หลวงพ่อเปิ่น (ลงพื้นที่ตนเอง)
33. ทีมเภสัชกร อาสา อ.สุนี มข.ช่วยจ่ายยา
34. ทีม สสจ นครสวรรค์
35. สมาคม/สภาเทคนิคการแพทย์
36. ทีม รพ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่ (มี3ท่าน)
37. ทีม รพ.ลำลูกกา จ ปทุมธานี  (ลงพื้นที่ตนเอง)
38. ทีม​ สสจ.กำแพงเพชร
39. ทีม รพ.มหาราชนครราชสีมา

สธ.สนับสนุน

"หน่วยเชิงรุก CCR Team มีความสำคัญในการช่วยควบคุมสถานการณ์การระบาดในพื้นที่ กทม. เนื่องจากช่วยแยกผู้ติดเชื้อในชุมชน ไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อต่อ โดยเข้าไปตรวจคัดกรองหาผู้ติดเชื้อในชุมชนด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) หากพบผู้ติดเชื้อนำเข้าสู่การรักษาที่บ้านหรือชุมชนตามระบบ ให้ยารักษา หากมีอาการรุนแรงจะส่งต่อ ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงร่วมบ้านร่วมงานมาตรวจหาเชื้อ รวมถึงฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กลุ่มเปราะบางในชุมชน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ นอกจากนี้ ทาง กทม.มีการจัดหาถุงยังชีพ และภาคเอกชนร่วมบริจาคสิ่งของเครื่องใช้อาหารมาสนับสนุน ซึ่งการดำเนินงานทั้งหมดเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและอัตราการใช้เตียงในโรงพยาบาล" นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว

          สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของทีม CCR Team กระทรวงสาธารณสุข ได้สนับสนุนชุดตรวจ Antigen Test Kit จำนวน 3 แสนชุด ตั้งเป้าหมายตรวจคัดกรองวันละ 35,000 ราย โดยภายใน 7 วันจะตรวจคัดกรองให้ได้ไม่น้อยกว่า 250,000 ราย คาดว่าอาจพบผลบวก 15% หรือประมาณ 32,500 ราย โดยประมาณ 1 ใน 3 ต้องการยาฟาวิพิราเวียร์ จึงสนับสนุนยาฟาวิพิราเวียร์อย่างน้อย 6 แสนเม็ด เริ่มดำเนินการวันพรุ่งนี้ (4 สิงหาคม 2564) เป็นวันแรก
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด