เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในปัจจุบันทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจไทยอยู่ในสภาวะถดถอย การควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังไม่ประสบความสำเร็จ จำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน รวมถึงจำนวนผู้ป่วยสะสมในโรงพยาบาลยังเพิ่มขึ้นในอัตราสูง การระบาดของโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและอุตสาหกรรมส่งออก ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตดังกล่าว ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันบูรณาการมาตรการการจำกัดวงจรของการระบาด เน้นการตรวจคัดกรองอย่างเป็นระบบ การรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที
การควบคุมโรคอย่างเข้มงวด และการดูแลผู้ติดเชื้อหรือผู้ที่มีความเสี่ยงในสถานที่เหมาะสม
โครงการ Factory Sandbox เป็นแนวคิดในการจัดการโครงสร้างและกระบวนการในลักษณะ "เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข" ที่มุ่งเป้าดำเนินการควบคู่กันระหว่างสาธารณสุข และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการผลิตและอุตสาหกรรมส่งออกขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นกลไกหลักที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ใด้ในปัจจุบัน ประกอบด้วย 4 ภาคส่วน ได้แก่
1) ยานยนต์
2) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
3) การผลิตอาหาร และ
4) อุปกรณ์การแพทย์
ซึ่งหัวใจหลักสำคัญคือ ตรวจ รักษา ควบคุม และดูแล เพื่อให้การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเกิดประโยชน์สูงสุดและตรงกลุ่มเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อบูรณาการความร่วมมือร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ภายในสถานประกอบกิจการ
2. เพื่อสร้างสมดุลระหว่างมาตรการทางด้านสาธารณสุข และมาตรการทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัดให้สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้
3. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และรักษาระดับการจ้างงานในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมส่งออก
4. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก
1. ต้องเป็นสถานประกอบกิจการที่ผลิตเพื่อการส่งออก
2. สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ในพื้นที่
3. สถานประกอบกิจการต้องมีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป
4. สถานประกอบกิจการต้องดำเนินการ FAI (Factory Accommodation Isolation) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของจำนวนลูกจ้างหรือจัดให้เพียงพอกับจำนวนผู้ติดเชื้อในสถานประกอบการ
5. ดำเนินการ Bubble Seal โดย HR ต้องจัดทำ Timeline การเดินทางของลูกจ้างทั่วไป-กลับที่พักโดยไม่แวะระหว่างทางและอยู่แต่ในที่พักเท่านั้น (ถ้ามี)
6. กระทรวงแรงงานจะตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR จำนวน 1 ครั้งให้ลูกจ้างทั้งหมด และให้สถานประกอบกิจการจัดหาชุดตรวจแบบ Self-ATK (Antigen Test Kit ) ตรวจทุก 7 วัน อย่างน้อย 4 ครั้ง
7. กระทรวงแรงงานจะจัดหาวัคซีนให้ลูกจ้าง โดยสถานประกอบการเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายค่าบริหารวัคซีน (หัวละ 100 บาท)
8. สถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการต้องลงนามในบันทึกข้อตกลง(MOU) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน และสถานพยาบาล (โรงพยาบาลการุญเวช) เพื่อดำเนินการตามแนวทางที่กำหนด