ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อาการไม่พึงประสงค์ ในผู้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์ ในไทย

อาการไม่พึงประสงค์ ในผู้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์ ในไทย  Thumb HealthServ.net
อาการไม่พึงประสงค์ ในผู้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์ ในไทย  ThumbMobile HealthServ.net

วัคซีนมีประโยชน์ ช่วยลดความรุนแรงและการเสียชีวิต ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 15 ล้านโดส พบอาการไม่พึงประสงค์เข้าข่ายภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ (VITT) 5 ราย พบแต่เนิ่นรักษาได้ แนะหลังฉีดหากมีอาการปวดศีรษะรุนแรง/แน่นหน้าอก แขนขาอ่อนแรง มีจุดเลือดออก ให้รีบพบแพทย์

8 กันยายน 2564 ที่ศูนย์แถลงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แถลงข่าวประเด็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนโควิด 19 มีประเด็นต่างๆ ดังนี้
 

สรุปจำนวนฉีดวัคซีน

ขณะนี้ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปแล้ว 37,461,284 รวมโดส
เข็มที่ 1 จำนวน 25,954,106 ราย
เข็มที่ 2 จำนวน 10,900,001 ราย
เข็มที่ 3 จำนวน 607,177 ราย

แอสตร้าเซนเนก้าฉีด 15.4 ล้านโดส
ไฟเซอร์ฉีด 8.7 แสนราย

 

อาการไม่พึงประสงค์

นายแพทย์จักรรัฐกล่าวถึง ข้อกังวลของประชาชนเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีน ว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคมีระบบเฝ้าระวัง และติดตามอาการหลังฉีดผ่าน “หมอพร้อม”  พิจารณา 2 ระดับ คือ

หากมีอาการหนัก ที่เข้ารักษาที่โรงพยาบาล จะส่งข้อมูลเข้าระบบฐานข้อมูลของกองระบาดวิทยา เพื่อวิเคราะห์อาการและสอบสวนเพิ่มเติม

หากเป็นกรณีรุนแรง คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาผลว่าเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนหรือไม่ หรือเกิดร่วมกันหลังฉีดวัคซีน
 

รายงานอาการแพ้

ข้อมูล ณ วันที่ 5 กันยายน 2564 มีรายงาน“อาการไม่พึงประสงค์ อาการแพ้รุนแรง ตามชนิดวัคซีน ดังนี้

ซิโนแวค

พบผู้มีอาการแพ้รุนแรง 24 ราย จากที่ฉีด 15.3 ล้านโดส ทั้งหมดหายเป็นปกติ
 
 
แอสตร้าเซนเนก้า

จำนวนผู้รับการฉีด 15.4 ล้านโดส พบมีอาการแพ้รุนแรง 6 ราย ทั้งหมดหายเป็นปกติ

ผู้ป่วยสงสัยมีภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ (VITT) ในผู้ที่ได้รับเข็มแรก 5 ราย รักษาหาย 2 ราย เสียชีวิต 3 ราย คิดเป็น 0.03 ต่อ 100,000 ซึ่งภาวะนี้มีรายงานพบในต่างประเทศแถบยุโรป แคนาดา และออสเตรเลีย อุบัติการณ์ 0.73 ต่อ 100,000 ในผู้ที่ได้รับเข็มแรก และอังกฤษพบ 2 ต่อแสนในคนอายุน้อยกว่า 50 ปี และ 1 ต่อแสนในผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี

อย่างไรก็ตาม ภาวะ VITT ถือเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้แต่น้อยมาก และสามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการวินิจฉัยรวดเร็ว อาการมักพบหลังได้รับวัคซีน 4 – 30 วัน ได้แก่
- ปวดศีรษะรุนแรง
- แขนขาอ่อนแรง
- ปากหรือหน้าเบี้ยว
- เจ็บหน้าอก
- หายใจติดขัด
- ขาบวมเจ็บ
- ปวดท้องรุนแรง
- แน่นหน้าอก
- มีจุดเลือดออก

ควรรีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติและหลักฐานการฉีดวัคซีน ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยแยกโรคและรักษาได้เร็วด้วยยาสำหรับอาการนี้โดยเฉพาะ จะลดความรุนแรงและเสียชีวิตได้


ไฟเซอร์
 
จำนวนผู้รับการฉีดไฟเซอร์ 8.7 แสนราย พบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 1 ราย
เป็นเด็กชายอายุ 13 ปี หลังฉีดได้ 2 วัน มีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง ขณะนี้หายเป็นปกติ
ซึ่งสหรัฐอเมริกามีการพบกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นอาการที่พบได้หลังฉีดวัคซีนชนิด mRNA 7-30 วัน พบการฉีดวัคซีนในเข็มที่ 2 มากกว่าเข็มที่ 1 ในกลุ่มเด็กชายอายุระหว่าง 12-17 ปี มากกว่าผู้ใหญ่ ไม่มีรายงานในผู้สูงอายุ

 
       “อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นพบได้น้อยมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับมีมากกว่า จะช่วยป้องกันโรค ลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต วัคซีนที่อยู่ในขวดจะไม่มีประโยชน์ หากไม่ได้ฉีดเข้าไปในตัวคน จึงขอเชิญชวนผู้สูงอายุ ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฉีดวัคซีนให้เกิดความครอบคลุม” นายแพทย์จักรรัฐกล่าว
 
อาการไม่พึงประสงค์ ในผู้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์ ในไทย  HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด