ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย คำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป (ฉบับที่ 3)

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย คำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป (ฉบับที่ 3) Thumb HealthServ.net
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย คำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป (ฉบับที่ 3) ThumbMobile HealthServ.net

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

 

คำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป (ฉบับที่ 3)

 

การให้วัคซีนป้องกัน โควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่น ผู้ใดควรได้รับวัคซีน

 
ในระยะแรกของการให้วัคซีนในเด็กและวัยรุ่น ได้กำหนดให้ผู้มีโรคประจำตัว ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
โควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้ เป็นผู้มีความเร่งด่วนอันดับต้นให้ได้รับวัคซีน ชนิด mRNA ของ
บริษัท Pfizer BioNTech จำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ขึ้นไป ได้แก่
  • เด็กและวัยรุ่นอายุ 16 ปี จนถึง 18 ปี ทุกรายที่ไม่มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีน
  •  เด็กอายุ 12 ปี ถึงน้อยกว่า 16 ปี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง มีโรคประจำตัว ที่อาจเกิดโรคโควิด-19 รุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิต ได้แก่
    1. บุคคลที่มีโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือ มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ขึ้นไปในเด็กอายุ 12-13 ปีน้ำหนัก 80 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 13-15 ปี น้ำหนัก 90 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 15-18 ปี หรือเด็กอ้วนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น)
    2. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งโรคหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง
    3. โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง
    4. โรคไตวายเรื้อรัง
    5. โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
    6. โรคเบาหวาน
    7. กลุ่มโรคพันธุกรรมรวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า
 
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ติดตามข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่น เพื่อให้คำแนะนำเพิ่ม ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความปลอดภัย และประโยชน์ทางด้านสุขภาพของเด็กเป็นสำคัญ ดังนี้
 
• เด็กและวัยรุ่นที่มีสุขภาพดี อายุ 12 ปี ถึงน้อยกว่า 16 ปี แนะนำให้ฉีดวัคซีน ชนิด mRNA ของบริษัท Pfizer BioNTech โดย
  •  เด็กและวัยรุ่นชาย รับวัคซีน เข็มที่ 1และ ชะลอการให้เข็มที่ 2 ไปก่อน จนกว่าจะมีคำแนะนำเพิ่มเติม  (เนื่องจากการฉีดเข็ม 2ในเด็กกลุ่มนี้ มีความเสี่ยงสูงกว่าเข็มแรก จากกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจ อักเสบ ซึ่งพบน้อยมาก ดูรายละเอียดในคำอธิบาย หน้า 3)
  •  เด็กและวัยรุ่นหญิง สามารถรับวัคซีน 2เข็มห่างกัน อย่างน้อย 3 สัปดาห์ (ดูรายละเอียด ในคำอธิบาย หน้า 3)
 

ชนิดของวัคซีนที่แนะนำ ในเด็กและวัยรุ่น

ขณะนี้ (วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564) มีวัคซีนที่มีในประเทศไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป คือ วัคซีน ชนิด mRNA ของบริษัท Pfizer-BioNTech
 
แนะนำให้ใช้วัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในเด็ก อายุต่ำกว่า 18 จากส านักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วเท่านั้น
 
 

คำอธิบาย

ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ 1 เมษายนถึง 15 กันยายน 2564 พบมีรายงานโรคโควิด-19 ในเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี รวม 184,225 ราย มีรายงานการเสียชีวิต 31 ราย พบรายงานจำนวนผู้ป่วยสูงสุดในช่วงเดือนสิงหาคม และมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยลดลงในเดือนกันยายน สอดคล้องไปกับสถานการณ์โรคโควิด-19 ของประเทศไทย โดยพบมีรายงานผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในเด็กทุกกลุ่มอายุ แต่พบจำนวนผู้ป่วยสูงสุดในกลุ่มอายุ มากกว่า 12 ปี ถึง 18 ปี ในช่วงระหว่างวันที่ 9 ถึง 15 กันยายน พบรายงานผู้ป่วยเด็กทั้งหมด 16,427 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยแรกเกิดถึง 1 เดือน, มากกว่า 1 เดือนถึง 1 ปี, มากกว่า 1 ปี ถึง 6 ปี, มากกว่า 6 ปี ถึง 12 ปี และ มากกว่า 12 ปี ถึง 18 ปี จำนวน 74  (ร้อยละ 0.5), 1,335 ราย (ร้อยละ 8.1),3,876 ราย (ร้อยละ 23.6), 5,174 ราย (ร้อยละ 31.5) และ 5,968 ราย (ร้อยละ 36.3) ตามลำดับ ในจำนวนนี้มีเด็กอายุ มากกว่า 1 เดือน ถึง 1 ปีเสียชีวิต 1 ราย และอายุมากกว่า 12 ปี - 18 ปี เสียชีวิต 3 ราย แม้ว่าอัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในเด็กจะต่ำ แต่พบมีรายงานผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะการอักเสบของอวัยวะหลายระบบในร่างกายที่สัมพันธ์กับการติดโรคโควิด-19 (Multisystem inflammatory syndrome in children, MIS-C) ในเด็กจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงแม้ว่าเป็นเด็กที่ปกติแข็งแรงดี และในขณะนี้เด็กและผู้ปกครองจำนวนมากได้รับผลกระทบจากการที่เด็กไม่ได้ไปโรงเรียนเป็นระยะเวลานาน
 


ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจึงมีคำแนะนำเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ดังต่อไปนี้

• แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป ซึ่งในขณะนี้ (วันที่ 22 กันยายน 2564) มีวัคซีนชนิดเดียวที่มีในประเทศไทย คือชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech และเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 วัคซีน ชนิด mRNA ของ Moderna ได้รับการรับรองเพิ่มเติม (แต่ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนนี้ในประเทศไทย) สำหรับวัคซีนชนิดเชื้อตายของ Sinopharm และ Sinovac อยู่ในระหว่างการพิจารณาข้อมูลเรื่องการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในเด็ก และขณะนี้ยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่น

• แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19ชนิด mRNA ที่ได้รับการรับรองโดย อย.2 เข็มห่างกัน 3-4 สัปดาห์ ในเด็กและวัยรุ่นทุกคนที่ อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป และเด็กและวัยรุ่นทุกคนที่อายุ 12 ปีขึ้นไปที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิด-19 รุนแรงซึ่งเป็นคำแนะนำที่ให้ไว้ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2564

• แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19ชนิด mRNA ที่ได้รับการรับรองโดย อย. 2เข็มห่างกัน 3-4 สัปดาห์ ในเด็กและวัยรุ่นผู้หญิง ที่แข็งแรงดีอายุตั้งแต่ 12 ปี ถึงน้อยกว่า 16 ปี ส าหรับในเด็กและวัยรุ่นชายที่แข็งแรงดีในช่วงอายุดังกล่าว แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มแรกเพียงเข็มแรกเข็มเดียว และชะลอการฉีดเข็มสองไว้ก่อนจนกว่าจะมีข้อมูลความความปลอดภัยของวัคซีนนี้เพิ่มเติม ทั้งนี้เนื่องจากการฉีดวัคซีนกันป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA มีโอกาสเกิดอาการข้างเคียงเรื่องกล้ามเนื้อและเยื่อหัวใจอักเสบได้สูงสุดในเด็กและวัยรุ่นชายในกลุ่มอายุนี้และมักพบสัมพันธ์กับภายหลังการฉีดวัคซีนเข็มสอง โดยรายงานจากระบบ Vaccine Adverse Event Reporting System (VAERS) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 18 มิถุนายน 2564 ในสหรัฐอเมริกา รายงานอัตราการเกิดอาการข้างเคียงของระบบหัวใจในเด็กและวัยรุ่นชายในกลุ่มอายุ 12 ปี ถึงน้อยกว่า 16 ปี  ในอัตรา 162.2 ต่อการฉีดวัคซีนเข็มสองหนึ่งล้านโด๊ส ในขณะที่รายงานอัตราอาการข้างเคียงของระบบหัวใจในเด็กและวัยรุ่นในเด็กหญิงกลุ่มอายุเดียวกันพบในอัตราที่ต่ำกว่ามากคือ 13 ต่อการฉีดวัคซีนเข็มสองหนึ่งล้านโด๊ส ในขณะที่พบว่าการฉีดวัคซีนชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech 1เข็ม และ 2 เข็ม มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 จากสายพันธุ์เดลต้าได้ร้อยละ 36 และ 88 และป้องกันการติดโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้สูงถึงร้อยละ 94 และ 96 ตามลำดับ คำแนะนำนี้จึงพิจารณาให้เด็กและวัยรุ่นหญิงได้รับประโยชน์จากวัคซีนเต็มที่จากการฉีด 2 เข็ม ในขณะที่เด็กผู้ชายจะต้องมีการประเมินประโยชน์และความเสี่ยงเพิ่มเติมเมื่อได้ข้อมูลในบริบทของประเทศไทยเพิ่มขึ้น ก่อนจะให้คำแนะนำในการฉีดเข็มต่อไป
 
• แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปี ถึงน้อยกว่า 16 ปี ที่อาศัยร่วมบ้านกับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
 
• แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แก่ครูและบุคลากรทุกระดับในโรงเรียนและสถานศึกษาทุกคน และสมาชิกร่วมบ้านของบุคลากรทุดคน และแนะนำให้ฉีดวัคซีนแก่ผู้ปกครองและสมาชิกในครอบครัวของเด็กทุกคน
 
• ส่งเสริมให้มีมาตรการการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัดในโรงเรียนและสถานศึกษาตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค
 
• การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นเป็นความสมัครใจของตัวเด็กและผู้ปกครองซึ่งควรได้รับการยอมรับ เด็กและวัยรุ่นทุกคน ควรได้ไปโรงเรียนและร่วมท ากิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนได้อย่างเท่าเทียม ไม่ว่าเด็กและวัยรุ่นจะได้รับการฉีดวัคซีนหรือไม่ หรือได้รับวัคซีนชนิดใด โดยต้องรักษามาตรการการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด
 
• แนะนำให้งดออกก าลังกายอย่างหนักหรือการท ากิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ภายหลังจากการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคโควิด-19ชนิด mRNA เนื่องจากมีรายงานการเกิดผลข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19ชนิด mRNA ซึ่งถึงแม้จะพบในอัตราที่ต่ำแต่เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน จึงแนะนำให้เด็กและวัยรุ่นทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและวัยรุ่นชายที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งโด๊สที่1 และ2ให้งดการออกก าลังกายหรือการท ากิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ภายหลังจากการฉีดวัคซีน และในเวลาดังกล่าวนี้หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหรือหายใจไม่อิ่ม ใจสั่นหน้ามืดเป็นลม ควรรีบไปพบแพทย์โดยหากแพทย์สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ควรพิจารณาทำการตรวจค้นเพิ่มเติม หากมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19ในเด็กและวัยรุ่นมากขึ้น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจะมีคำแนะนำเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในอนาคตต่อไป สามารถติดตามคำแนะนำของราชวิทยาลัยได้ที่ www.thaipediatrics.org
 
เอกสารอ้างอิง
1. Hoeg TB, et al. medRxiv preprint doi: https://doi.org/10.1101/2021.08.30.21262866
2. Bernal JL, et al. NEJM July 21, 2021 DOI: 10.1056/NEJMoa2108891
3. https://khub.net/web/phe-national/public-library/-
/document_library/v2WsRK3ZlEig/view_file/479607329?_com_liferay_document_library_web
_portlet_DLPortlet_INSTANCE_v2WsRK3ZlEig_redirect=https%3A%2F%2Fkhub.net%3A443
%2Fweb%2Fphe-national%2Fpublic-library%2F-
%2Fdocument_library%2Fv2WsRK3ZlEig%2Fview%2F479607266

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด