ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รวล.จุฬาภรณ์ เริ่มวิจัยคลินิกวัคซีนสูตรเชื้อตาย+กระตุ้นโมเดอร์นา ธันวานี้

รวล.จุฬาภรณ์ เริ่มวิจัยคลินิกวัคซีนสูตรเชื้อตาย+กระตุ้นโมเดอร์นา ธันวานี้ Thumb HealthServ.net
รวล.จุฬาภรณ์ เริ่มวิจัยคลินิกวัคซีนสูตรเชื้อตาย+กระตุ้นโมเดอร์นา ธันวานี้ ThumbMobile HealthServ.net

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศเริ่มการวิจัยทางคลินิก COVID-19 Vaccine Booster ด้วยวัคซีนโมเดอร์นาในเดือนธันวาคม 2564 นี้

รวล.จุฬาภรณ์ เริ่มวิจัยคลินิกวัคซีนสูตรเชื้อตาย+กระตุ้นโมเดอร์นา ธันวานี้ HealthServ

20 พฤศจิกายน 2564 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะเริ่มทำการวิจัยทางคลินิกด้วยวัคซีนโมเดอร์นา เพื่อใช้เป็นเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันในกลุ่มประชากรคนไทยที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 แบบ Primary series (วัคซีนป้องกันโควิดพื้นฐาน) ครบ 2 โดสมาแล้ว 3-6 เดือนในเดือนธันวาคม 2564 นี้

การวิจัย จะแบ่งกลุ่มวิจัย ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตาย (inactivated vaccine) ได้แก่ ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม ครบสองเข็ม
2. กลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิดไวรัลเวกเตอร์ (viral vector vaccine) ได้แก่ แอสตร้าเซนเนก้า ครบสองเข็ม
 

เหตุผลการวิจัย

เป็นที่ทราบและยอมรับในเชิงวิชาการว่าภูมิคุ้มกันหลังจากได้รับวัคซีน Primary series จะลดระดับลงตามระยะเวลาที่ผ่านไปหลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่สอง ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของสายพันธ์ุเดลต้ายังคงเป็นปัญหาในปัจจุบันและยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การเพิ่มระดับของภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนเข็มกระตุ้น หลังจากที่ได้รับวัคซีน Primary series มาครบแล้ว จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันการติดเชื้อในปัจจุบันและต่อเนื่องในปี 2565

เป้าหมายการวิจัย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการทำวิจัยในประเทศต่างๆ อยู่บ้างในการใช้วัคซีนโมเดอร์นาเป็นเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันเข็มที่สาม แต่วัคซีนแบบ Primary series ในประเทศต่างๆ ทั้งในอเมริกา หรือยุโรป นั้นมีความแตกต่างจากประเทศไทย การวิจัยทางคลินิกในครั้งนี้จะเป็นการใช้วัคซีนโมเดอร์นาเป็นเข็มกระตุ้นภูมิ กับกลุ่มบุคคลที่ได้รับวัคซีนชนิดที่ใช้อยู่ในประเทศไทยจริงๆ ใน 2 กลุ่ม (ข้างต้น)

ผลการวิจัยที่จะเกิดขึ้น จะช่วยแสดงหลักฐานทางวิชาการเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวงกว้างได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และเพื่อประโยชน์ในการวางแผนกระตุ้นภูมิคุ้มกันสำหรับประชาชนคนไทยในปีหน้านี้ รวมทั้งวางแผนควบคุม ป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศไทยได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพต่อไป 
 
 


โครงการวิจัยอื่นๆ

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ดำเนินการวิจัยหลายโครงการที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิดในประเทศไทย มีดังนี้

1. โครงการวิจัยเปรียบเทียบวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 เข็ม 3 ระหว่าง AstraZeneca vs Pfizer ในผู้ป่วยเบาหวาน
[20 พ.ย.64]

⚠️โครงการวิจัยนี้ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ รหัสการอนุมัติโครงการ EC No. 094/2564 TCTR20210731003

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถเข้าร่วมโครงการวิจัยได้ ต้องมีคุณสมบัติ
  • เป็นผู้ป่วยเบาหวาน
  • อายุมากกว่า 18 ปี
  • ได้รับการฉีดวัคซีน Sinovac หรือ sinopharm ครบ 2 เข็มในเดือนสิงหาคม
  • ไม่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  • ไม่ตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร
สแกน QR Code เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการ  หรือคลิก ลิงค์สมัครร่วมโครงการ





2. โครงการ “VACC 2 School” นำร่องฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มให้กับเด็กและเยาวชน
[22 พย 64]

เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การศึกษาอัตราอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ภายหลังจากการฉีดวัคซีน BBIBP-CorV(Sinopharm)ในอาสาสมัครอายุ 10 - ต่ำกว่า 18 ปี ในประเทศไทย ตามที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ รหัสการอนุมัติโครงการ EC No. 134/2564  วันที่ได้รับการอนุมัติ 17 กันยายน 2564  ทั้งนี้ เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจะต้องมีหนังสือแสดงความยินยอมจากผู้ปกครองที่ลงนามยืนยันการเข้าร่วมโครงการโดยสมัครใจทุกท่าน และนำมาส่ง ณ วันที่ฉีด
รวล.จุฬาภรณ์ เริ่มวิจัยคลินิกวัคซีนสูตรเชื้อตาย+กระตุ้นโมเดอร์นา ธันวานี้ HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด