ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Covid-19: Omicron Wave Day#0 เรายังมีเวลาเหลืออีกเท่าไหร่? - สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง

Covid-19: Omicron Wave Day#0 เรายังมีเวลาเหลืออีกเท่าไหร่? - สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง Thumb HealthServ.net
Covid-19: Omicron Wave Day#0 เรายังมีเวลาเหลืออีกเท่าไหร่? - สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง ThumbMobile HealthServ.net

7 ปัจจัยหลักเพื่อตั้งหลักรับมือโอมิครอน และโอกาสชนะมีสูง

Covid-19: Omicron Wave Day#0 เรายังมีเวลาเหลืออีกเท่าไหร่? - สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง HealthServ
 Covid-19: Omicron Wave Day#0 เรายังมีเวลาเหลืออีกเท่าไหร่?

จาก Patient Zero ก่อนที่จะวิกฤต มาลองใช้คณิตศาสตร์คำนวณกันครับ 

ผลจะทำการคำนวณย้อนอดีตของ South Africa ไปหา Patient Zero ว่าน่าจะเริ่มจากวันไหน จากนั้นเราเอาอดีตของ S. Africa ลากมาถึงปัจจุบันว่าใช้เวลากี่วันกว่าจะเดินมาถึงจุดที่ Daily New Case โผล่พ้นน้ำให้เห็น และขยายเข้าสู่วิกฤตในที่สุด 
 

ข้อมูลจาก Real World: 

1. %Increase ของ Omicron ภายใต้การควบคุมที่เอา Delta อยู่คือ 27%

2. คนไข้คนแรกที่ตรวจพบสายพันธุ์นี้คือเมื่อวันที่ 9 Nov 2021 

3. WHO ได้รับรายงานสายพันธุ์ใหม่ 24 Nov 2021

4. Daily New Case ของ S. Africa เพิ่มจาก 300 มาเป็น 2,465 คนต่อวันในวันที่ 25 Nov 2021 ตัวเลขระดับ 2000 นี้ถ้าเกิดในประเทศไทยเราจะเห็นแน่นอน

5. Daily New Case ของ S. Africa เพิ่มมาเป็น 11,535 คนต่อวันในวันที่ 2 Dec 2021 ตัวเลขระดับนี้เข้าวิกฤตแน่นอน

6. กราฟ %Increase ของ S.Africa มีความผิดปกติที่เห็นได้ชัดเจนตั้งแต่วันที่ 16 Nov 2021 นั่นคือ S. Africa ค้นพบช้าเกินไปและแจ้ง WHO ได้ช้าเกินไป

7. S. Africa มีประชากร 60 ล้าน แต่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มไปแค่ 24% 

 
 
คำนวณย้อนอดีตหา Patient Zero:
เมื่อ %Increase มีค่าคงที่กราฟ Total Case จะเป็นเส้นตรงใน Log Scale ตามรูปครับ 
ผมลากเส้นตรงนั้นย้อนอดีตไปหาวันที่ Total Case เป็น 0 จะได้ว่า Patient Zero ตัวจริงจะอยู่ที่วันที่ 18 Oct 2021

 
มองอนาคต Timeline สำคัญจาก Patient Zero:
1. คนไข้ที่ตรวจพบคนแรก อาจไม่ใช่ Patient Zero ในกรณี S.Africa น่าจะพบช้าไป 22 วัน
2. จาก Patient Zero ไป Daily New Case ระดับ 2,000 ใช้เวลา 38 วัน
3. จากการตรวจพบครั้งแรก ไป Daily New Case ระดับ 2,000 ใช้เวลา 16 วัน
4. จาก Patient Zero ไป Daily New Case ระดับ 10,000 ใช้เวลา 45 วัน
5. จากการตรวจพบครั้งแรก ไป Daily New Case ระดับ 10,000 ใช้เวลา 23 วัน
 

ประเทศไทยมีเวลาเหลือเท่าไหร่:

1. ขึ้นอยู่กับว่าที่ค้นพบวันนี้ทำให้ระบาดในชุมชนหรือยัง และเป็น Patient Zero แท้ๆหรือว่า แค่คนที่ตรวจพบคนแรก
2. ประเทศไทยฉีดวัคซีนไปมากกว่า S. Africa มาก อาจชะลอได้มากกว่า
3. กรณีเลวร้าย อีก 2 สัปดาห์ เราอาจจะเห็นตัวเลข Wave#5 ที่แยกเพิ่มออกมาวันละ 2,000 ตอนนั้นเราจะรู้จากข้อมูลต่างประเทศแล้วว่า อัตราการตายจาก Omicron น่ากลัวหรือไม่ 
4. กรณีเลวร้าย อีก 3 สัปดาห์ เราอาจจะเห็นตัวเลข Wave#5 ที่แยกเพิ่มออกมาวันละ 10,000 และเราจะตัดสินใจได้ว่าจะสู้แบบไหน เพราะข้อมูลครบแล้ว
5. กรณีโชคดี อาจจะยังไม่ระบาดในชุมชน หรือถ้าแย่หน่อยเพิ่งเริ่มระบาด ก็จะมีเวลาอีกราวๆ 6-7 สัปดาห์กว่าจะวิกฤต 
6. จากวันที่กราฟเริ่มผิดปกติจนถึงวันที่วิกฤต จะมีเวลา 2 สัปดาห์ เราตั้งหลักทันแน่นอน
7. เราน่าจะยังมีเวลามากพอที่จะฉีดวัคซีนไปให้ถึง 80% ก่อนที่จะเกิดการระบาดใหญ่ ถ้าทุกคนร่วมมือกัน  


ณ จุดนี้ ผมคิดว่ายังไม่ควรจะต้อง Panic กราฟประเทศไทยยังไม่มีสัญญาณความผิดปกติ เพียงแต่ต้องจับตาดูอย่างละเอียดทุกวัน ข้อมูลใหม่ยังมีเข้ามาเรื่อยๆ และเราจะสามารถมีข้อมูลครบถ้วนได้ก่อนที่จะเข้าสู่วิกฤตของ Wave#5 Omicron อย่างแน่นอน สิ่งที่สำคัญที่สุดตอนนี้คือ เร่งฉีดวัคซีนให้ถึง 80% - 90% แล้วประเทศไทยจะพร้อมรับมือกับ Omicron ในทุกสถานกรณ์ครับ


Sunt Srianthumrong
6 ธันวาคม 2564
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด