โอมิครอนระบาดหนักในอังกฤษตามคาดการณ์ หลังจากทางการเปิดเผยตัวเลขผู้ติดเชื้อวันพฤหัสบดีที่ 88,376 ราย เป็นสถิติใหม่อีกครั้งแซงยอดติดเชื้อ 78,610 ราย เมื่อวันพุธไปถึงเกือบหมื่นราย ในจำนวนนี้มีผู้ติดเชื้อโอมิครอน 1,691 ราย ยอดสะสม 11,708 ราย
จำนวนผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงอย่างรวดเร็วอย่างนี้ สร้างความหวั่นวิตกให้ธุรกิจและสังคมอย่างมาก ร้านอาหารและสถานประกอบการหลายแห่งเริ่มปิดให้บริการ ด้วยเหตุผลหลัก 2 ข้อ คือการยกเลิกจองใช้บริการของลูกค้า และ เกรงผลกระทบต่อสุขภาพพนักงาน "ทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต" ซึ่งก็จะมีผลต่อรายได้ของธุรกิจตามมา
เจ้าของธุรกิจร้านไวน์เล่ากับผู้สื่อข่าวว่า สิ่งที่เขาเป็นห่วงคือทีมงานที่อาจติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วและแพร่ให้กัน จากที่เคยพบเพียง 2 คนที่ติดเชื้อในวันพุธ กลับเพิ่มเป็น 8 คนในวันถัดมา นั่นจึงเป็นเหตุให้ต้องปิดร้านยาวไปถึงคริสมาสต์
โรงละครแห่งลอนดอนก็มีสถานการณ์ไม่ต่างกัน แม้ตั๋วจะถูกจองเต็ม แต่ทีมงานและนักแสดงกลับป่วยเพราะติดเชื้อ จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องยกเลิกแสดง
สวัสดิภาพของผู้คนเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งนี้มาพร้อมความยากลำบาก
การระบาดรอบนี้ไม่เหมือนกับรอบก่อนๆ นี้ หากสังเกตให้ดีจะพบว่ารัฐบาลไม่มีแผนที่จะล็อกดาวน์อย่างแน่นอน แต่ใช้การ "เลี่ยง" ไปในทิศทางที่ให้ประชาชนตัดสินใจเอง ว่าจะต้องจำกัดตัวเองหรือระมัดระวังตัวเองอย่างไร ทางการใช้เพียงออกมาตรการ Plan B เป็นการจำกัดใน "เชิงสังคม" แทน เช่น การบังคับสวมหน้ากาก ขอให้ทำงานจากบ้าน และ เอา NHS Covid pass กลับมาใช้ แต่รอบนี้ จะมาตรการเข้มข้นแบบที่เคยมี อย่างการสั่งให้หยุดอยู่บ้านหรือปิดธุรกิจร้าน
นั่นเพราะครั้งนี้ รัฐบาลไม่มีกำลังเพียงพอจะสนับสนุนการเข้มข้นแบบนั้นอีกแล้ว
เป็นการ "ล็อกดาวน์อำพราง" ของรัฐบาล ด้านหนึ่งบอกให้ประชาชนงดการออกไปกินข้าวนอกบ้าน แต่ไม่มีมาตรการอะไรรองรับความเสียหายของภาคธุรกิจเลย - ผู้ประกอบการรายหนึ่งให้ความเห็น
พอล โดโนแวน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ UBS Global Wealth Management กล่าวว่า "มันเป็นการยอมวอดวายโดยสมัครใจของธุรกิจบันเทิงและบริการ" ยิ่งในช่วงเวลาทองอย่างคริสมาสต์ที่จะเป็นโอกาสของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจด้วยแล้ว อังกฤษจะตกอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงมาก "ยิ่งไม่มีการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาลด้วยแล้ว ยิ่งจะมีผลกระทบหนัก"
อีกเหตุผลที่ร้านอาหารต้องรีบปิดตัวก่อน นอกจากไม่มีลูกค้า หมายถึงอาจลดภาระค่าจ้างพนักงานลงได้บ้าง เป็นงานยากของเจ้าของธุรกิจที่จะต้องหาจุดที่รับได้ทั้งฝั่งพนักงานและสถานะการเงิน
เจ้าของธุรกิจรายหนึ่งกล่าวว่า ตอนนี้ยังพบมีทุนจ่ายค่าแรงพนักงานได้สำหรับเดือนสุดท้ายของปี แต่ไม่พอสำหรับเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ ปีหน้าแน่ หากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้
ไม่เพียงแค่ปัจจัยจากโรคระบาด และมาตรการรัฐเท่านั้น แต่อีกประการที่สำคัญคือพฤติกรรมของประชาชนและสังคมต่อจากนี้ กับการจะมีทิศทางต่อสถานการณ์อย่างไร หากประชาชนเลือกจะอยู่บ้านหรือลดการใช้ชีวิต การรับประทานอาหารนอกบ้านน้อยลง นั่นจะส่งผลกระทบหนักกว่าและนานกว่า
บางคนมองด้านดีว่า จากการปิดเมืองที่ผ่านมาธุรกิจอาหารปรับตัวด้วยการขายผ่านออนไลน์และสั่งผ่านแพลตฟอร์ม หากต้องกลับไปใช้ยุทธวิธีนั้นอีกครั้ง ก็จะมีต้นทุนไม่สูงมากกว่าครั้งแรกๆ ก็ได้
"ตอนนี้คนเริ่มกลัวมากขึ้น และมากขึ้นเรื่อยๆ บรรยากาศไม่ดีเอาเสียเลย"
Source : CNN