ถาม : ธุรกิจประกันภัย ณ วันนี้เราหวั่นโอไมครอน ขนาดไหนยังไงบ้างครับ
เท่าที่ดูข้อมูลจากต่างประเทศมันก็น่ากังวล โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ยังดีว่าในญี่ปุ่นในเกาหลีมันก็ยังไม่เท่ากับในยุโรป ต้องรอดูว่าในประเทศไทยเนี่ยมันจะเป็นยังไง เพราะญี่ปุ่นเค้าปิดประเทศไปเกือบเดือน
นายกท่านก็ปิดไปเกือบเดือนแล้ว เพียงแต่ยังมีของตกค้างอยู่ (นักท่องเที่ยวที่ขอ Thailand Pass) ที่จะเข้ามา รอดูผลสักพัก ที่ค่อนข้างชัดเจนคือมันแพร่ค่อนข้างเร็วกว่าเดลต้า ที่กังวลกันอยู่ว่าจะสามารถบล็อกมันอยู่แค่ไหน
ถาม : ในด้านประกันภัย แคมเปญปีที่แล้วโด่งดังมากเลย "เจอจ่ายจบ" โดนเข้าไปเยอะไหมครับ ในปีที่กำลังจะผ่านไป
โควิดทั้งหมด น่าจะมีเคลมประมาณ 40,000 ล้าน "เจอจ่ายจบ" ประมาณ 34,000 ถึง 35,000 ล้าน ก็ถือว่าหนัก
ถาม : ปี 65 จะยังมีแคมเปญนี้อยู่หรือปล่าวครับ หรือว่าเลิกแล้ว
จริงๆ เราขายมากก็ในช่วงไตรมาสที่สอง ช่วงเมษา-พฤษภา-มิถุนา ก็หยุดไปตั้งแต่มิถุนาแล้ว เพราะคนซื้อเยอะมากในช่วงนั้น ก็หยุดไปตั้งแต่กลางปี ความคุ้มครองของอายุกรมธรรม์มันจะต้องไปถึงมิถุนาปีหน้า เพราะว่าเราขายกรมธรรม์เป็นปี
ถาม : ปีหน้า ปี 65 จะมีอะไรที่จะมาทดแทน "เจอจ่ายจบ" ไหม
มันก็มีข้อดีข้อเสียในช่วงที่ผ่านมา ข้อเสียก็คือเคลมมันเยอะ แต่ข้อดีก็คือ มีลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่อยู่ตามต่างจังหวัดหรือผู้มีรายได้น้อย จะเห็นได้ว่าเบี้ยมันน้อย ไม่แพง เข้าถึงได้ ส่วนใหญ่ก็เข้าถึงผ่านระบบออนไลน์ เราก็ได้ฐานลูกค้าใหม่เข้ามาประมาณ 10 กว่าล้านคน นี่คือข้อดี ปีนี้กรมธรรม์มีถึง 15 ล้านกรมธรรม์ ถือว่าเป็นข้อดี ที่เราจะสามารถหาผลิตภัณฑ์มาขายในอนาคต ข้อเสียก็คือความเสียหายจากโควิดมันสูงไปหน่อย มันผิดคาดไปเยอะ
อย่างปี 2563 เรามีผู้ป่วยประมาณ 6,800 กว่าคน ปี 2564 นี้เข้าไป 2.2 ล้าน 300 กว่าเท่า คนตายก็เหมือนกัน จาก 61 คนไปสองหมื่นกว่าคน 300 กว่าเท่าเหมือนกัน สามหมื่นเปอร์เซ็นต์ อะไรที่มันผิดคาดไปเยอะ ในทางประกันภัยเราไม่ค่อยชอบ การกำหนดราคาหรืออะไร เราจะกำหนดจากการประมาณการทางสถิติเป็นสำคัญ แต่อันนี้มันไม่เคยคิดมาก่อน ฉะนั้นประมาณการมันก็มีโอกาสผิดพลาด เราก็ไม่คิดว่ามันจะผิดพลาดไปเป็น 300 เท่าขนาดนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนนะครับ
ถาม : ต้องเฝ้าระวังต่อว่าจากนี้จะมีคนติดโอไมครอนเพิ่มขนาดไหน ในส่วนคนที่ยังคงคุ้มครองอยู่จนถึงมิย 65 ประเมินอย่างไรครับท่านนายกอานนท์ครับ
ตอนนี้ก็มีนักสถิติหรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัยก็ลองสร้างตัวเลขจำลองขึ้นมาว่าจะขึ้นไป 3 เท่า 5 เท่า อย่างที่นักวิชาการต่างประเทศประเมินไว้ไหม สูงสุดที่เค้าคิดกันกลางๆ ก็คือ ถ้าขึ้นไปประมาณ 5 เท่า ยอดสินไหมก็จะขึ้นไปถึง 180,000 ล้านบาท
อันนี้ก็ต้องรอดูว่าเค้าประเมินนั้นผิดหรือถูก เพราะไม่มีใครรู้นะครับ เพราะอันนี้เป็นตัวเลขการติดเชื้ออ้างอิงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในทวีปยุโรป เค้าหนาวกว่าเรา ไม่ไปเหมือนกันซะทีเดียว
ถาม : ถ้าไทยกลับไปมีผู้ติดเชื้อสูงเป็นหลัก 10,000 ต่อวัน ค่าสินไหมทดแทนอาจจะพุ่งเป็นถึง 180,000 ล้านบาทเลยทีเดียว ก็อาจจะส่งผลให้กับบริษัทประกันวินาศภัยหลาย ที่หลายบริษัทอาจจะต้องปิดตัวลงหรือครับ
ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าเขาจะสามารถหาเงินมาเติมได้ไหม เพราะว่าละลอกแรก สี่หมื่นล้าน หลายบริษัทก็ต้องหาเงินมาเพิ่มทุนแล้วนะครับ สองบริษัทก็ไปต่อไม่ไหว อย่างที่เราทราบ บ.เอเซียประกัน กับ เดอะวัน ตอนนี้ก็มีบริษัทที่อยู่ในโครงการขอผ่อนผันเงินกองทุนอีกประมาณ 2-3 บริษัท
ถาม : แต่ว่าตอนนี้คนที่ยังถือกรมธรรม์อยู่ที่ยังไม่หมดอายุ เค้ายังสามารถที่จะใช้ได้อยู่ใช่มั้ยครับ จนถึงหมดอายุของรอบปี
ใช่ครับ ประมาณถึงมิถุนายนปี 2565 ยังคุ้มครองอยู่ ตราบใดที่ยังไม่ถูกยกเลิก ยังมีผลอยู่ครับ
ถาม : กรณีที่ คปภ. เคยมีมติห้ามเปลี่ยน ห้ามยกเลิกกรมธรรม์ "เจอจ่ายจบ" ต้องเป็นความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ตรงนี้ท่านนายกฯ มองว่าจะมีมาตรการอะไรช่วยเยียวยาบริษัทประกันภัย รวมถึงคนที่เอาประกัน จะได้เข้าใจกันทั้งสองฝ่ายบ้างไหมครับ
อันนี้ต้องทำความเข้าใจในเรื่องประกันภัยให้ดี คือประกันภัยเนี่ย มีเงื่อนไขการบอกเลิกกรมธรรม์ของทั้งสองฝั่งอยู่ ลูกค้าหากไม่พอใจการบริการของบริษัทหรือว่าได้ข้อเสนอที่ดีกว่าจากบริษัทอื่น ก็สามารถบอกเลิกได้ทันที ส่วนบริษัทก็จะใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง คือรับ ไม่เหมือนบ่อนเจ้ามือการพนันที่รับแทงแล้วต้องจ่าย นั่นมันเรื่องของโชคชะตา
แต่ประกันภัยเป็นเรื่องสถิติ
หากผลที่เราใช้เป็นฐานในการกำหนดเบี้ย มันผิดไปจากเดิมมาก จริงๆ เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญ ก็คือการต้องบอกเลิกกรมธรรม์ เพื่อไม่ให้มันไปกระทบผู้เอาประกันภัยประเภทอื่นๆ อีกจำนวนมาก อันนี้เป็นเงื่อนไขที่มีอยู่แล้ว โดยที่การบอกเลิกของแต่ละฝ่ายเนี่ย "ไม่จำเป็นต้องให้อีกฝั่งนึงยินยอม"
ถ้ามันไม่มีเงื่อนไขนี้ โอเคนะครับ ถ้าเราทำสัญญากันเนี่ย ถ้าจะบอกเลิกโดยที่ไม่มีเงื่อนไขเรื่องการบอกเลิกอยู่ในสัญญา มันต้องให้อีกฝ่ายนึงยินยอม แต่ว่ากรณีกรมธรรม์ประกันภัยในทุกกรมธรรม์ในประเทศ ไปดูได้นะครับ มันก็จะมีเงื่อนไขการให้สิทธิ์การบอกเลิกของทั้งสองฝ่ายอยู่แล้ว ผู้เอาประกันภัยก็บอกเลิกได้ ผู้รับประกันภัยก็บอกเลิกได้
แต่ว่าเนื่องจากมันมีปัญหาเมื่อตอนเดือนกรกฎา ที่มีบริษัทนึงบอกเลิกกรมธรรม์ โดยยังไม่มีเหตุผลที่สนับสนุนเพียงพอ ทางคปภ. เค้าก็เลยออกคำสั่งมาใหม่เลยว่าไม่ให้เลิก ซึ่งจริงๆ แล้วตอนนี้ เราก็ร้องขอว่า เหตุการณ์นั้นมันผ่านไปแล้วก็ควรจะเอากลไกการบริหารความเสี่ยงนี้ กลับเข้ามาให้มันเป็นปกติ มันไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกตินะครับ การบอกเลิกกรมธรรม์เนี่ย เป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่มันมีอยู่ในทุกกรมธรรม์ในโลก เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง
อย่างสองรายที่ปิดไป บริษัทขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ก็มีลูกค้าถึงแห่งละเกือบ 2 ล้านคน คือไม่ได้มีเฉพาะผู้เอาประกันโควิดไงครับ ยังมีกรมธรรม์ประกันรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ ประกันอัคคีภัย รวมถึงคู่ค้าอื่นๆ พวกอู่ซ่อมรถยนต์ ค้าขายอะไหล่ หรือโรงพยาบาล บริษัทต้องปิดตัวไป สุดท้าย คปภ.ก็ให้ยกเลิกอยู่ดี
อย่างเอเซียประกันภัย กองทุนก็บอกเลิกกรมธรรม์ไปแล้ว เพราะฉะนั้นเราก็บอกว่า กลไกตัวนี้ เป็นกลไกปกติ เหมือนรถต้องมีเบรค บ้านต้องมีเซฟทีคัท ขอแค่ว่าเอากลไกที่มันเคยอยู่ ดึงกลับมา ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่
ถาม : เพราะฉะนั้นก็อยากจะฝากไปที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ไปถึงท่านเลขาฯ สุทธิพล ทวีชัยการ ท่านนายกฯ อานนท์ อยากจะให้มีการทบทวนให้บริษัทประกันภัยสามารถบอกเลิกหาแคมเปญ "เจอจ่ายจบ" ได้ใช่ไหมครับ
ครับ ส่วนใครจะบอกเลิกหรือไม่ ก็อยู่ที่ฐานะของบริษัท กลไกตัวนี้ มันเป็นกลไกมาตรฐานสากลทั่วโลก เวลามาเอาออกแล้วเนี่ย มันก็จะกระทบความเชื่อมั่นต่อผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศเหมือนกัน ประกันภัยมันไม่ใช่เรื่องของประเทศไทยประเทศเดียว มันเป็นเรื่องสากล เราทำผิดจากที่เขาทำกัน วันหลังก็จะไม่มีใครรับประกันภัยต่อจากเรา มันจะกระทบและเสียหายมาก ผมคิดว่าการทำประกันภัยมันเรื่องเครื่องมือบริหารความเสี่ยง ผมคิดว่าไม่ใช่การทำ ใช้นโยบายประชานิยมมาใช้ ผมว่ามันคนละเรื่อง
ถาม : จริงๆ แล้วแต่ละบริษัทจะมีเหมือนกับว่าถ้าเกินจากจุดนี้ไปแล้วหรือว่าเกินทุนของบริษัท ถ้าเกินจุดที่สามารถจะรับได้ จริงๆ แล้วบริษัทสามารถที่จะบอกปฏิเสธได้ในการที่จะคนที่จะมาซื้อใหม่
คือ ซื้อใหม่เราหยุดอยู่แล้ว (ตอนนี้คือเคลียร์) ของที่มีอยู่
อย่างรถชน เรารู้สถิติ เรารับประกันรถมาร้อยคัน จะชนกัน 60-70 ครั้ง มันอาจจะเกินไปบ้าง เป็นร้อยกว่า ไม่มาก แต่โควิดนี่ เค้าเรียกว่าเป็น ความเสี่ยงอุบัติใหม่ (Emerging Risk) คือเราไม่รู้หรอกว่า จริงๆ ปี 63 กับ 64 มันจะต่างกัน เค้าก็จะมีลิมิตของเค้าว่า ถ้ามันเสียหายไปเกินกว่านี้ เค้าต้องเลิกนะ เพราะว่าจริงๆ กรมธรรม์ที่รับมาเท่าเก่านะครับ บางบริษัท ไม่เพิ่มขึ้น เช่น รับมาห้าแสนกรมธรรม์ ปี 63 ก็ห้าแสน ปี 64 ก็ห้าแสน แต่ปี 63 สมมุติเกิดเคลมแค่ร้อยล้าน พอ 64 เกิดเคลมเป็นห้าพันล้าน มันเกินไปมาก เค้ารับไม่ไหว ยังไงพอรับไม่ไหวมันต้องปิด
นี่มันเป็นเรื่องของมืออาชีพ ผู้ที่มีอาชีพประกันภัยจะรู้ว่า ความเสี่ยงที่ตัวเองรับไว้ จะรับได้แค่ไหน เช่น รับเบี้ยร้อยล้าน รับความเสียหายสูงสุดได้ห้าร้อยล้าน ต้องเลิกละ เพราะไปต่อจะเสียหายกระทบรายอื่นๆ ไม่ใช่ว่ารับแล้ว ต้องรับไปจน "เจ๊ง" มันไม่มีประโยชน์ต่อใคร เพราะว่าคนที่จะเคลมเนี่ย มันยังไม่เคลม คนที่ติดเชื้อยังไม่ติด เพียงแต่จะบอกว่า เราจ่ายคนที่เค้าเกิดเคลมแล้วให้ครบถ้วนดีกว่าไหม ดีกว่ารับเสี่ยงต่อไป สุดท้ายก็ต้องไปตายวันข้างหน้า ก็ทิ้งอยู่ดี เหมือนกับว่าอันนี้มันแล้วแต่มุมมองว่า การช่วยเหลือประชาชนจะเป็นแบบไหนดี คือบอกว่า "คนตายช่วยใครไม่ได้" นะครับ ผมเรียนแค่นี้
ถาม : สุดท้ายครับให้คุณอานนท์ สำหรับผู้ที่ยังมีประกันคุ้มครองอยู่ในส่วนของ "เจอจ่ายจบ" ตอนนี้ต้องทำตัวทำใจอย่างไรบ้างครับ
ผมว่าท่านทำตัวปกติเลย กรมธรรม์ตราบใดที่มันยังมีความคุ้มครองอยู่ บริษัทเค้าต้องให้ความคุ้มครอง ประกันภัยเนี่ยบางแห่งเงินทุนบาง ทุนน้อย ทุนมาก เช่นอย่างนี้ เวลาเราได้ลูกค้า แสนคนล้านคน ไม่มีใครอยากทิ้งลูกค้าหรอกครับ คือไปหาลูกค้ามามันยาก การที่จะดูแลลูกค้า ผมว่าทุกบริษัทจะต้องพยามดูแลลูกค้าของตัวเองดีที่สุดและที่ตัวเองจะรับไหว
ทุกบริษัทก็ห่วงลูกค้าตัวเองอยู่แล้ว จะต้องพาเค้าถึงที่หมายปลายทางให้ได้ เว้นแต่มันเกิดสุดวิสัย โอมิครอนมันจะมา 3-5 เท่าหรือป่าว แต่เราที่เป็นนักบริหารความเสี่ยง จะฝากชีวิตไว้กับโชคชะตาไม่ได้ โชคดีก็รอดตกโชคร้าย ก็ไม่รอด ผมว่าไม่ได้
ปีหน้า 65 น่าจะมีผลิตภัณฑ์อะไรใหม่ใหม่ๆ มาสำหรับเรื่องของสุขภาพหรือเน้นไปที่โอไมครอนอะไรมั่งมั๊ยครับ สำหรับในวงการประกันภัย
ผมคิดว่า โปรดักส์เราเริ่มเห็นละ ได้กลุ่มลูกค้าใหม่เข้ามาเยอะ โปรดักส์ในลักษณะอนาคต ผมว่าจะเฉพาะเจาะจงมากขึ้น จะซื้อประกันสุขภาพรวบรวมแบบ เบี้ยมันแพง อาจจะตัดทอนเป็นโลกโน้นโลกนี้ เรียกว่า ความเสี่ยงของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การขายจะลงรายละเอียดมากขึ้น ว่าคุณมีความเสี่ยงประเภทไหน ทุกคนมีความเสี่ยงต่างกัน อาจะมีโปรดักส์ในรายละเอียดมากขึ้น ให้คนเลือกได้มากขึ้น ราคาก็จะถูกลง ความคุ้มครองก็น้อยลงหน่อย แต่ว่าเหมาะสมกับคนทุกชนชั้น ทุกระดับรายได้ครับ
สัมภาษณ์ในรายการ "แชร์เล่าข่าวเด็ด" 29 ธ.ค. 64 ทาง FM100.5