ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ถึงโอมิครอนจะไม่รุนแรง แต่ปล่อยให้ติดเชื้อเอง ก็ไม่ใช่เรื่องดี - อ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล

ถึงโอมิครอนจะไม่รุนแรง แต่ปล่อยให้ติดเชื้อเอง ก็ไม่ใช่เรื่องดี - อ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล Thumb HealthServ.net
ถึงโอมิครอนจะไม่รุนแรง แต่ปล่อยให้ติดเชื้อเอง ก็ไม่ใช่เรื่องดี - อ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ThumbMobile HealthServ.net

เพจ อ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย (หมอเฉพาะทางโรคปอด) ได้กล่าวถึงการมีความเห็นต่อโอไมครอนในลักษณะที่ว่า "ในเมื่ออาการที่เกิดจากโอไมครอนไม่ร้ายแรง
การปล่อยให้เกิดการติดเชื้อเพื่อให้เกิดเป็นภูมิธรรมชาติ น่าจะเป็นกลไกช่วยหยุดการะบาดโรคโควิดได้" ท่านมีความเห็นแย้งดังนี้


ยอดรวมผู้ป่วยรายวันยังอยู่ที่ราวสี่พันเหมือนสองวันที่ผ่านมา แม้จะเริ่มมีคลัสเตอร์โอไมครอนใหม่โผล่ขึ้นมาในหลายจังหวัด โดยมีชลบุรีแซงกทม.เข้าป้ายแชมป์กลุ่มไปแล้ว และมีภูเก็ตแทรกเข้ามาติดท็อปไฟ้ว์ ช่างต่างกับปิศาจแดงทีมรักที่อันดับตกลงเรื่อยหลังนัดล่าสุดแพ้คาบ้าน สำหรับสำนักแพทย์ริมน้ำ เมื่อวานกิจการดี พบโอไมครอน 9 รายจากที่พบโควิดทั้งหมด 16 ราย พรุ่งพรวดกว่าเท่าตัวจากวันหนึ่งของสัปดาห์ก่อนที่พบ 3 ใน 13 ราย

 
มีคำถามมาว่าคนที่ป่วยด้วยโควิด-19 แล้วปอดพังแบบถาวรมีมากน้อยแค่ไหน ข้อมูลจากประสบการณ์ส่วนตัวช่วงเดลต้าระบาดหนัก พบราว 0.5% ของผู้ป่วยที่เกิดปอดอักเสบรุนแรง/วิกฤต (ต้องใช้ไฮโฟลว์หรือเครื่องช่วยหายใจนานเกิน 10 วัน) ซึ่งถ้าคิดว่าในบรรดาผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยทั้งหมดมีปอดอักเสบรุนแรง/วิกฤตประมาณ 2% ดังนั้นโอกาสเกิดปอดสูญเสียการทำหน้าที่รุนแรง คือไม่มีการฟื้นตัวหลังจากได้รับการรักษาเต็มที่นานอย่างน้อย 3 เดือนหลังหายจากโควิด จะอยู่ที่ราว 0.01% หรือหนึ่งในหมื่นของคนที่ติดเชื้อ ซึ่งอาจจะสูงกว่าปอดอักเสบจากเชื้อโรคอื่นที่เราเจอมาในอดีต

 
หญิงอายุ 83 ปี มีเบาหวานเป็นโรคเดิม เกิดปอดอักเสบโควิดรุนแรงเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว หลังจากฟื้นตัวและออกจากโรงพยาบาลได้ ยังมีภาวะปอดผิดปกติภายหลังโควิด (post-COVID lung disease) ต้องได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิกลุ่มสเตียรอยด์และให้ออกซิเจนเสริมที่บ้าน จนเกิดโรคปอดติดเชื้อราแทรกซ้อนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ขณะที่การทำงานของอวัยวะสำคัญอื่นโดยเฉพาะสมอง ไต และหัวใจยังดีอยู่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดรวมแล้วราวสี่เดือนกว่าหลังหายจากโควิด พบว่ายังไม่เกิดการสูญเสียถาวรของเนื้อปอดดังรูป จึงยังพอมีหวังให้ปอดฟื้นตัวในการปรับเปลี่ยนยากดภูมิรอบใหม่ สนใจอ่านเพิ่มเติมได้จาก ncbi.nlm.nih.gov/PMC8674935
 

ความเห็นต่างการปล่อยให้ติดเชื้อตามธรรมชาติ

สำหรับความเห็นที่ว่าโอไมครอนไม่ร้ายแรง ดังนั้นปล่อยให้ติดเชื้อตามธรรมชาติมากๆ จะได้มีภูมิวงกว้างและช่วยหยุดการระบาดของโควิด-19 ได้เร็ว ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ด้วยเหตุผลสามข้อ

1. แม้ว่าโอไมครอนจะรุนแรงน้อยกว่าเดลต้าราวครึ่งหนึ่ง คืออัตราป่วยรุนแรง/วิกฤตราว 2-3% แต่ถ้าคนป่วยหนักนั้นเป็นคนที่เรารักและเราเอาเชื้อมาติดเขาหรือเป็นตัวเราเอง จะไม่เสียใจหรือ?

2. การติดเชื้อตามธรรมชาติโดยไม่มีภูมิบางส่วนต่อสู้ไวรัสไว้ จะเปิดโอกาสให้ไวรัสกลายพันธุ์ในตัวเราได้ โคโรนาไวรัสส่วนใหญ่มาจากสัตว์ เราอาจได้รับมาผสมกับไวรัสนำโควิดในตัวเราทุกเมื่อเชื่อวัน

3. คนป่วยซึ่งไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ก็เกิดกลุ่มอาการลองโควิดได้ แม้โอกาสจะน้อยกว่าคนที่อาการรุนแรง

ล่าสุดทีมนักวิจัยจากเดนมาร์ก ติดตามผู้ที่เคยมีการตรวจสมรรถภาพปอดไว้ก่อนป่วย พอป่วยแล้วแม้จะไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย  เมื่อร่างกายหายดีแต่พบมีการถดถอยของสมรรถภาพปอดไปจากเดิม เราอยากจะเป็นเช่นนั้นกันหรือ? 

Lung function decline in relation to COVID-19 in the general population: a matched cohort study with pre-pandemic assessment of lung function

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด