ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ปลัดสธ.ย้ำ ไม่บังคับตรวจ ATK ก่อนเข้าเรียน แค่ตรวจเมื่อเสี่ยง-มีอาการ

ปลัดสธ.ย้ำ ไม่บังคับตรวจ ATK ก่อนเข้าเรียน แค่ตรวจเมื่อเสี่ยง-มีอาการ Thumb HealthServ.net
ปลัดสธ.ย้ำ ไม่บังคับตรวจ ATK ก่อนเข้าเรียน แค่ตรวจเมื่อเสี่ยง-มีอาการ ThumbMobile HealthServ.net

ปลัดสธ.ระบุชัด ไม่มีมาตรการบังคับตรวจ ATK ก่อนเข้าเรียน และไม่ได้กำหนดให้ต้องตรวจเป็นประจำทุก 3-5 วันหรือทุกสัปดาห์ แต่ขอให้ตรวจเมื่อมีความเสี่ยงหรือเมื่อมีอาการ แนะนำให้ป้องกันตนเองตลอดเวลา โดยการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ ตรวจคัดกรอง ลดความแออัด และทำความสะอาด ยึดมาตรการปลอดภัยเคร่งครัด

   ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ห่วงช่วงวันหยุดยาว มีการเดินทางท่องเที่ยว ผู้ปกครองและนักเรียนมีกิจกรรมรวมกลุ่ม อาจเพิ่มความเสี่ยงแพร่เชื้อโควิดช่วงเปิดเทอม 17 พฤษภาคมนี้ ย้ำต้องประเมินตนเอง หากมีอาการให้ตรวจ ATK ทันที กรณีพบผู้ติดเชื้อในโรงเรียนให้ทำตามแผนเผชิญเหตุ

 
      16 พฤษภาคม 2565 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แม้ขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะมีทิศทางลดลง แต่ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อจำนวนมากได้ โดยเฉพาะช่วงก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ซึ่งมีวันหยุดติดต่อกัน 4 วัน ทำให้มีการเดินทางท่องเที่ยว รวมถึงมีกิจกรรมการรวมตัวทั้งผู้ปกครองและนักเรียนก่อนเปิดเรียน หากไม่ได้มีการป้องกันตนเองอย่างเต็มที่ตามมาตรการ อาจทำให้มีการติดเชื้อและแพร่เชื้อระหว่างกันได้โดยไม่รู้ตัว เนื่องจากสายพันธุ์โอมิครอนส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อมักไม่มีอาการ และเมื่อเปิดภาคเรียนแบบออนไซต์อาจเกิดการแพร่เชื้อภายในโรงเรียนจำนวนมากได้ ดังนั้น ก่อนกลับเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนตามปกติ ขอให้ผู้ปกครอง นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ประเมินความเสี่ยงของตนเองก่อน กรณีมีความเสี่ยงหรือมีอาการป่วยให้ตรวจ ATK ทันที หากผลตรวจเป็นบวกหรือติดเชื้อจะได้เข้ารับการรักษาต่อไป
 
 
        "ขอย้ำว่า ไม่มีมาตรการบังคับตรวจ ATK ก่อนเข้าเรียน และไม่ได้กำหนดให้ต้องตรวจเป็นประจำทุก 3-5 วันหรือทุกสัปดาห์ แต่ขอให้ตรวจเมื่อมีความเสี่ยงหรือเมื่อมีอาการ ส่วนมาตรการป้องกันการติดเชื้อให้ยึดตาม 6 มาตรการหลัก 6 มาตรการเสริม และ 7 มาตรการเข้มของกรมอนามัย เบื้องต้นแนะนำให้ป้องกันตนเองตลอดเวลา โดยการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ ตรวจคัดกรอง ลดความแออัด และทำความสะอาด รวมถึงเข้ารับวัคซีนให้ครบ โดยกลุ่มเด็กมัธยมศึกษา อายุ 12-17 ปี ควรรับเข็มกระตุ้น และกลุ่มเด็กประถมศึกษา อายุ 5-11 ปี ควรรับวัคซีนเข็มปกติให้ครบ จะช่วยลดความเสี่ยงอาการรุนแรงและการเสียชีวิต ทั้งนี้ หากพบผู้ติดเชื้อในโรงเรียน ให้ปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ ไม่จำเป็นต้องปิดทั้งโรงเรียนเหมือนที่ผ่านมา" นพ.เกียรติภูมิกล่าว

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด