โรคโควิด ณ เวลานี้ นับว่ามีความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคร่วม เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ หรือ หอบหืด ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ อาจเกิดอาการรุนแรงได้มากกว่าคนอื่น
ผู้เป็นเบาหวาน อาจมีภูมิต่ำ เกิดอาการไวรัสรุนแรง รวมถึง ไวรัสกระตุ้นให้น้ำตาลสูงได้อีกด้วย
ทำไมเบาหวาน ถึงมีความเสี่ยง
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วิลาสินี หิรัญพานิช ซาโตะ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เผยแพร่ข้อมูล
โรคเบาหวานกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระบุว่า
การศึกษาหลายการศึกษาให้ผลสอดคล้องกันว่า นอกจากภาวะสูงอายุแล้ว ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) ซึ่งเป็นสาเหตุการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีโรคอื่นร่วมด้วย จะมีอาการแสดงที่รุนแรงและมีความเสี่ยงต่ออัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่ไม่มีโรคร่วมด้วย โดยโรคที่พบร่วมซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุด คือโรคความดันโลหิตสูง รองลงมาคือโรคเบาหวาน และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอุดตันเรื้อรัง ตามลําดับ
นอกจากนั้นโรคชนิดอื่น เช่น โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง โรคอ้วน โรคมะเร็ง และโรคปอด ล้วนมีผลส่งเสริมทําให้อาการแสดงจากโรค COVID-19 รุนแรงขึ้น และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตมากขึ้น
1. ผู้เป็นเบาหวานมีโอกาสติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุโรค COVID-19 ได้มากกว่าคนปกติหรือไม่
แม้โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมอาการแสดงที่รุนแรงและอาจก่อให้เกิดการเสียชีวิตจากโรค
COVID-19 ได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 มีโอกาสติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ได้ไม่แตกต่างจากคนปกติ เพียงแต่หากผู้ป่วยเบาหวานเกิดการติดเชื้อแล้วจะมีโอกาสเกิดอาการแสดงที่รุนแรงมากกว่า ทั้งนี้อ้างอิงจากผลการศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ซึ่งวิเคราะห์รวบรวมข้อมูลจากผลการศึกษาทางคลินิกจํานวน 14 การศึกษา มีผู้ป่วยโรค COVID-19 จํานวน 29,909 คน และมีผู้เสียชีวิตจากโรค COVID-19 จํานวน 1,445 คน พว่าผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย มีความเสี่ยงการเสียชีวิตมากกว่าคนปกติอย่างมันัยสําคัญทางสถิติมากกว่า 2 เท่า (OR = 2.41, 95%CI: 1.05–5.51, p = 0.037) (1)
2. ทําไมผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงมีอาการแสดงจากการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 รุนแรงกว่าคนปกติ(2)
สาเหตุที่คาดว่าเกี่ยวข้อง (2) ได้แก่
1) เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สามารถจับและเข้าสู่เซลล์ง่ายขึ้น เพราะที่ผิวเซลล์ปอดของผู้ป่วยเบาหวานจะมีการเพิ่มการแสดงออกของรีเซปเตอรชนิด angiotensin converting enzyme 2 (ACE2 receptor) และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในการแยก spike (S)-protein ของเชื้อออกเป็น S1 และ S2 ซึ่งจําเป็นในการจับกับ ACE2 รีเซปเตอร์ชนิดมากขึ้น ส่งผลทําให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้มากขึ้น
2) ระดับน้ําตาลในเลือดสูงขึ้นจะทําให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการกําจัดเชื้อไวรัสลดลง
3) ในร่างกายผู้ป่วยเบาหวานจะมีความไวต่อการเกิดกระบวนการอักเสบมากกว่าปกติ (hyperinflammation)
นอกจากนั้นการทํางานระบบภูมิคุมกันจะลดลง ทำให้กระบวนการจัดการกับกระบวนการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสด้อยประสิทธิภาพลง
3. แนวทางรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ป่วยเป็นโรค COVID-19 หากผู้ที่มีโรคประจําตัว เช่น โรคเบาหวาน แสดงมีอาการทางเดินหายใจ ไอ เจ็บคอ หายใจเหนื่อย มีน้ํามูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ที่ต้องสงสัยการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ให้รีบไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลทันที การมารักษาช้าอาจเสี่ยงต่อการอาการแสดงที่รุนแรงอันอาจจะทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
การศึกษาทางคลินิกพว่าผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรค COVID-19 ที่ควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดไม่ได้ (uncontrolled diabetes) จะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและต้องใช้เวลารักษาตัวในโรงพยาบาลนานกว่าคนปกติ ดังนั้นวิธีการสําคัญท่สีุดในการรักษา คือ ผู้ป่วยควรต้องควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ร่วมกับการติดตามรักษาอาการแสดงอื่นๆจากโรค COVID-19 โดยหากผู้ป่วยสามารถรับประทานยาได้ ควรรับประทานยาลดน้ําตาลในเลือดที่ทานอยู่เดิม ไม่ควรหยุดยาหรือปรับเปลี่ยนยาเอง และหากต้องรักษาตัวในสถานพยาบาลต้องแจ้งรายละเอียด ชนิดยาที่ใช้อยู่ให้แพทย์ผู้ทําการรักษาทราบ เพื่อพิจารณาการรักษาให้เหมาะสมตามระดับน้ําตาลในเลือดของผู้ป่วย
ผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งมีความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรง
หากได้รับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุการป่วยโรค CVOID-19 ดังนั้นการปฎิบัติตัวอย่างถูกวิธีในการป้องกันการติดเชื้อตามแนวทางของกรมควบคุมโรค (3) เช่น การหมั่นล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง เว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) ใกล้ชิดคนอื่นให้น้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จําเป็น เป็นต้น ร่วมกับการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดให้อยู่ระดับปกติ และสิ่งสําคัญคือต้องกระตุ้นความแข็งแรงของภูมิคุ้มกันร่างกายโดยการหมั่นดูแลให้ร่างกายแข็งแรงโดยการออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ หากมีอาการเข้าขายการติดเชื้อให้รีบตรวจยืนยันการติดเชื้อและเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด
คำถาม การควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีมีความสำคัญต่อความรุนแรง COVID-19 หรือไม่
คำตอบ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในผู้เป็นเบาหวานที่มีการติดเชื้อ การศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่าระดับน้ำตาลที่สูงจะเพิ่มการแบ่งตัวของไวรัส และกดการทำงานของภูมิตุ้มกัน และพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิต
ผู้เป็นเบาหวานถ้าหากขาดยา หรือขาดการออกกำลังกาย ไม่ควบคุมอาหาร หรือมีความเครียดทางจิตใจ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง หากติดเชื้อจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการที่รุนแรงได้ ดังนั้นผู้เป็นเบาหวานจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ดูแลร่างกายให้แข็งแรงและผ่อนคลายจิตใจให้มีสุขภาวะที่ดี โดยเฉพาะในช่วงที่มีการโรคระบาดของ COVID-19
คำแนะนำการวินิจฉัยเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ ยุคโควิด
จาก european journal of endocrinology การคัดกรองเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ด้วยการทดสอบความทนกลูโคส กินน้ำตาล 75-100 กรัม อาจเพิ่มความเสี่ยง ทั้งต่อหญิงท้องที่มารพ และเสี่ยงต่อบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้น ควรพิจารณา เป็นราย ด้วยความรอบคอบ โดยอาจเลี่ยงไปใช้การเจาะเลือด HbA1c and plasma glucose ในการวินิจฉัยแทน
อย่างไรก็ดี ความเห็นจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านเบาหวาน ศ คลินิค นพ. ชัญชาญ ดีโรจนวงศ์
ท่านให้ความเห็นว่า ไม่เห็นด้วยกับ recommend ดังกล่าว เพราะว่า
1. FBS ควรตัดที่ 92mg/dL ตาม IADPSG หรือ WHO guideline
2. HbA1c จาก HAPO study ไม่ sensitive และ specific for Dx GDM
3. RPG ที่กำหนด ไม่มีการศึกษาที่ยืนยัน
ข้อมูล : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
www.dmthai.org