ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Update เกี่ยวกับสายพันธุ์ของไวรัสโรคโควิด19 - นพ.โอภาส พุทธเจริญ

Update เกี่ยวกับสายพันธุ์ของไวรัสโรคโควิด19 - นพ.โอภาส พุทธเจริญ Thumb HealthServ.net
Update เกี่ยวกับสายพันธุ์ของไวรัสโรคโควิด19 - นพ.โอภาส พุทธเจริญ ThumbMobile HealthServ.net

Update เกี่ยวกับสายพันธุ์ของไวรัสโรคโควิด19 - นพ.โอภาส พุทธเจริญ

Update เกี่ยวกับสายพันธุ์ของไวรัสโรคโควิด19    

       สายพันธุ์ของไวรัสที่น่าติดตามมี 3 สายพันธุ์ หลายประเทศในโลกเริ่มติดตามเฝ้าระวังการระบาดของสายพันธุ์ที่อาจจะมีการระบาดได้ง่ายขึ้น การติดเชื้อซ้ำได้และคุณสมบัติของบางสายพันธุ์ที่อาจจะหลบการป้องกันของวัคซีน    
 
        การกลายพันธุ์เป็นคุณสมบัติของไวรัสเอง ในภาวะปกติของไวรัสโรคโควิด19จะมีการกลายพันธุ์สองตำแหน่งสารพันธุกรรมในหนึ่งเดือนซึ่งไม่น่าจะทำให้มีผลต่อโครงสร้างหรือคุณสมบัติไวรัสอย่างรวดเร็ว แต่ในบางครั้งเวลาที่อยู่ในมนุษย์บางคนหรือในสัตว์บางชนิด ไวรัสอาจมีการกลายพันธุ์ที่รวดเร็วและมีการเปลี่ยนคุณสมบัติที่หลบวัคซีน สายพันธุ์ที่พบในอังกฤษหรือ  B.1.1.7 มีคุณสมบัติที่ติดต่อได้ง่ายขึ้น 50-70% คาดว่าสายพันธุ์นี้น่าจะเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในอเมริกาหลังจากเดือนมีนาคมปีนี้   สายพันธุ์แอฟริกาใต้หรือ B.1.3.52 (20H/501Y.V2)มีคุณสมบัติคือแพร่กระจายได้ง่ายและอาจจะหลบหลีกแอนติบอดีที่สร้างจากวัคซีน สายพันธุ์ที่พบในบราซิลหรือ P.1 (20J/501Y.V3) มีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งบนด้านนอกทำให้อาจจะหลบการจับของแอนติบอดีจากวัคซีนได้คล้ายกับสายพันธุ์แอฟริกาใต้แต่ยังมีการกลายพันธุ์เพิ่มเติมอีกหลายตำแหน่ง
  
        มีคำถามเกี่ยวกับวัคซีนโควิดจะไม่ได้ผลหรือไม่ถ้าไวรัสกลายพันธุ์ คำตอบคือยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนเพราะข้อมูลที่ได้ มาจากการศึกษาทางโครงสร้างไวรัสที่กลายพันธุ์และการตอบสนองของแอนติบอดีในห้องทดลอง จึงยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันในคน แม้ว่าประสิทธิภาพของวัคซีนอาจจะไม่สมบูรณ์เต็มร้อย แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่ายังคงป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันโรคที่รุนแรงได้ และการออกแบบวัคซีนเองก็มีการใช้ข้อมูลของการกลายพันธุ์ของไวรัสมาประกอบด้วย วัคซีนรุ่นถัดไปก็ต้องมีการติดตามการกลายพันธุ์ของไวรัสอย่างต่อเนื่องเพื่อพํฒนาวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
      วิธีที่ป้องกันการเกิดการกลายพันธุ์ที่ดีคือพยายามไม่ให้มีการติดต่อในคนจากรุ่นไปรุ่นหลายๆทอด หรือจากคนไปสัตว์และเข้ามาที่คนอีกครั้ง จนอาจจะทำให้ไวรัสมีการกลายพันธุ์ ดังนั้นตัดวงจรของการระบาดโดยการใส่หน้ากาก การล้างมือ รักษาระยะห่างยังสำคัญที่สุด แม้ว่ามีวัคซีนใช้อยู่ก็ตาม  สำหรับในประเทศไทย เท่าที่ตรวจสายพันธุ์ของไวรัสจากคนไข้ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทั้งหมดเป็นสายพันธุ์ B1.36.16 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดเป็นหลักขณะนี้และเป็นไวรัสสายพนธุ์เดียวกับพม่า ห้องปฎิบัติการศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โรงพยาบาลจุฬาพบสายพันธุ์ B.1.1.7 ในคนไข้ที่เดินทางมาจากอังกฤษ 1 รายซึ่งไม่มีอาการ ตอนนี้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลที่เป็น ASQ ขณะนี้ข้อมูลของสายพันธุ์ B 1.1.7 น่าจะมีทั้งหมด 6 ราย ที่ดักไว้ได้ใน ASQ
 
(จริงๆ มีคำแนะนำไม่ให้ใช้ชื่อสายพนุธุ์ตามแหล่งที่พบเพื่อเลี่ยงการตีตรา)
References 
BMJ 2021;372:n158 http://dx.doi.org/10.1136/bmj.n158
https://www.cdc.gov/mmwr/volumes/70/wr/mm7003e2.htm...
MedRxiv  preprint doi: https://doi.org/10.1101/2020.12.23.20248598
BioRxiv preprint doi: https://doi.org/10.1101/2021.01.13.426558

22/1/2564
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด