ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ในคอนโดพบผู้ป่วยโควิด ต้องทำอย่างไร คำแนะนำสำหรับผู้อาศัยร่วมคอนโดและเจ้าของคอนโด

ในคอนโดพบผู้ป่วยโควิด ต้องทำอย่างไร คำแนะนำสำหรับผู้อาศัยร่วมคอนโดและเจ้าของคอนโด Thumb HealthServ.net
ในคอนโดพบผู้ป่วยโควิด ต้องทำอย่างไร คำแนะนำสำหรับผู้อาศัยร่วมคอนโดและเจ้าของคอนโด ThumbMobile HealthServ.net

โควิดสายพันธุ์อังกฤษรอบสงกรานต์ 64 สถานการณ์รุนแรงมากและกระจายไปทั่วประเทศแล้ว ทุกคนต้องระมัดระวังตัวเองอย่างที่สุด หลายกรณีที่พบว่ามีผู้ที่อยู่อาศัยในคอนโดที่ติดโควิดเช่นกัน หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้มีคำแนะนำอย่างไรสำหรับผู้อยู่อาศัยท่านอื่นๆ ร่วมคอนโดและเจ้าของผู้ประกอบการคอนโด ไปติดตามกัน

ในคอนโดพบผู้ป่วยโควิด ต้องทำอย่างไร คำแนะนำสำหรับผู้อาศัยร่วมคอนโดและเจ้าของคอนโด HealthServ

คำแนะนำสำหรับ "ผู้อยู่อาศัยในคอนโด"

1. ระวังจุดสัมผัสส่วนกลางในคอนโด

เพราะความเสี่ยงของการอยู่คอนโดคือการต้องใช้พื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่สันทนาการ สิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกับผู้อยู่อาศัยอื่น ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังเสมอเมื่อต้องเข้าไปใช้พื้นที่ส่วนกลาง โดยเฉพาะการสัมผัสกับจุดสัมผัสต่างๆ ที่ยากจะหลีกเลี่ยง เช่น ที่จับประตูเข้าตึก จุดสแกนนิ้วเข้าตึก ปุ่มกดลิฟท์ ตู้จดหมาย ห้องทิ้งขยะ รถเข็นขนของ ยังไม่รวมถึงออฟฟิศนิติบุคคล ห้องยิม สระว่ายน้ำ ซาวน่า สนามเด็กเล่น ฯลฯ
 
ทั้งนี้ การที่ฝ่ายบริหารจัดการของหลายๆ คอนโดได้ปิดให้บริการพื้นที่สันทนาการ มีมาตรการดูแลชุมชนด้วยการเพิ่มการทำความสะอาดฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อพื้นที่ส่วนกลาง มีจุดวางเจลล้างมือ จัดระเบียบการใช้ลิฟท์ คัดกรองเข้าออกโครงการ จำกัดปริมาณและระยะห่างของผู้ที่มาติดต่อออฟฟิศนิติบุคคลตามหลัก Social Distancing ฯลฯ ก็ช่วยให้ชาวคอนโดสบายใจได้ระดับหนึ่ง

2.  ทำตามข้อควรปฏิบัติในการดูแลป้องกันตัวเอง ดูแลความสะอาดภายในห้อง

ปฏิบัติตามหลักการดูแลป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด ได้แก่ การล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ เจลแอลกอฮอล์ ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกจากห้อง กินร้อนใช้ช้อนตัวเอง งดการออกไปข้างนอกพบปะบุคคลอื่นที่ไม่จำเป็น รวมถึงการทำความสะอาดภายในห้องอยู่เสมอ โดยเน้นที่จุดสัมผัสต่างๆ เช่น ที่จับประตู ปุ่มสวิตซ์ไฟ ที่จับประตูตู้เย็น รีโมทแอร์ โต๊ะกินข้าว ท๊อปเคาน์เตอร์ครัว ฯลฯ แล้วอย่ามองข้ามโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต พวกคีย์การ์ดต่างๆ รวมถึงแป้นกดรหัสบนกลอนประตูแบบดิจิทัล ทั้งนี้จากผลการศึกษาพบว่าไวรัสโควิด-19 อาจปนเปื้อนในของเสียที่ผู้ติดเชื้อถ่ายออกมาและคอนโดมิเนียมใช้ระบบระบายน้ำเสียร่วมกัน จึงแนะนำให้ชาวคอนโดเน้นทำความสะอาดโถส้วม และปิดฝาที่นั่งก่อนกดชักโครกด้วย

คำแนะนำผู้พักอาศัยตามมาตรฐานของกรมควบคุมโรค

1) หลีกเลี่ยงการออกไปสถานที่ชุมชนสาธารณะ หากจำเป็น ควรจัดเตรียมหน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์
เจลเพื่อใช้ล้างมือบ่อยๆ
2) หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก
โดยไม่จำเป็น
3) ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ภาชนะใส่และรับประทานอาหาร ผ้าเช็ดมือ
4) หากพบว่าตนเองมีอาการป่วย ควรหยุดพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน และหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน หรือมีอาการป่วยรุนแรง เช่น หอบเหนื่อยควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจรักษา และแจ้งหัวหน้างาน/นิติ
บุคคลทราบ 

3. ชำระค่าใช้จ่ายทางแอป Mobile Banking แทนการใช้เงินสด

จากผลการศึกษาว่าการหยิบจับเงินสดธนบัตร เหรียญเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 คอนโดหลายที่ก็สนับสนุนให้ผู้อยู่อาศัยชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าส่วนกลาง ค่าน้ำ ค่าที่จอดรถ ด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีแทน ซึ่งตรงนี้คนมีแอป Mobile Banking ของธนาคารในสมาร์ทโฟน ก็สามารถกดโอนเงินจ่ายได้อย่างสะดวกแล้วส่งไลน์สลิปใบเสร็จให้นิติฯ คอนโดบางแห่งให้ลูกบ้านจ่ายผ่านระบบ Bill Payment โดยใช้แอปธนาคารสแกน QR Code กดจ่ายได้เลย แล้วรายละเอียดชำระเงินก็เข้าระบบของนิติบุคคลอัตโนมัติ การที่เราใช้แอป Mobile Banking แทนการที่ต้องถือเงินสดไปจ่ายที่ออฟฟิศนิติบุคคล ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนรวมก็ช่วยลดโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ

4. ติดตามข่าวสารจากฝ่ายนิติบุคคล

หมั่นติดตามข่าวสารจากนิติบุคคลเกี่ยวกับมาตรการป้องกันความปลอดภัยของชุมชน หากกรณีที่มีการปิดทำความสะอาดพื้นที่จากการพบผู้ติดเชื้อ จะได้หลีกเลี่ยงพื้นที่บริเวณนั้น หรือหากเราเคยไปใช้พื้นที่ในไทม์ไลน์ 14 วันของผู้ร่วมอาศัยที่ติดเชื้อ จะได้รู้ตัวและรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการเฝ้าสังเกตอาการและกักตัวเองเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อต่อไปยังคนอื่น

SCB Stories and Tips

คำแนะนำสำหรับ "ผู้ประกอบการคอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนท์หอพัก"

1. การป้องกัน เฝ้ำระวัง และแยกผู้ป่วย

นิติบุคคลคอนโดหรือผู้ดูแลที่พักอาศัยควรดำเนินการ ดังนี้
 
1. จัดทำป้ายให้ความรู้คำแนะนำ หรือจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์การป้องกันการแพร่กระจาย
เชื้อโรค เพื่อแจ้งเตือนพนักงาน ผู้พักอาศัย และผู้มาเยี่ยม เช่น โปสเตอร์การเว้นระยะห่างกัน การล้างมือที่ถูกวิธี และการสวมหน้ากากผ้า เป็นต้น

2. สำรวจความเสี่ยงพนักงานประจำในที่พักอาศัย ผู้พักอาศัยทุกห้อง รวมทั้งบุคคลใกล้ชิด ทั้งที่พักอยู่ด้วยกันในห้อง ว่ามีประวัติเดินทางไปในต่างประเทศ หรือสถานที่ในประเทศไทยที่ถูกประกาศว่าเป็นสถานที่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือไม่ โดยตรวจสอบประกาศของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ที่ ddc.moph.go.th/ หากพบพนักงานเดินทางไปยังสถานที่ที่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามวัน เวลาที่มีการประกาศ ควรให้หยุดงานทันที แยกตัวเองเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน และรายงานตัวตามที่มีการประกาศ

3. สำหรับคอนโดมิเนียม อพารตเมนท์ หอพัก ที่มีพนักงานหนาแน่น ควรจัดให้มีการตรวจคัดกรองอุณหภูมิพนักงานก่อนทำงาน หากพบพนักงานผู้ป่วย ด้วยอาการไข้มากกว่า 37.5 องศา ไอ จาม เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก ควรให้พักกักตัวในที่พักอาศัย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค และหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน หรือมีอาการป่วยรุนแรง เช่น หอบเหนื่อย ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจรักษา
 
4. กรณีที่พบพนักงาน หรือผู้พักอาศัย ยืนยันติดเชื้อโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้พนักงานหรือผู้พักอาศัยหยุดงานทันที แยกตัวเองที่โรงพยาบาลหรือที่บ้าน (กรณีไม่มีอาการหรือแสดงอาการน้อยมาก) ตามที่แพทย์ให้คำแนะนำ
 
5. จัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของสถานประกอบการ ในการโทรแจ้งและติดต่อกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อดำเนินการควบคุมโรคตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
 

2. การแยกผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย

ในกรณีที่พบพนักงานยืนยันติดเชื้อโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานประกอบการ ให้ประสานหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อทำการสำรวจคนร่วมงานที่อยู่ในข่ายสัมผัสโรค ซึ่งต้องให้หยุดงานทันทีและกักกันตนเอง ณ ที่พักอาศัยหรือที่ที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกำหนดไว้ เพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน หลังจากใกล้ชิดผู้ป่วยครั้งสุดท้าย ดังนี้ นิยามผู้สัมผัสโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนำ 2019

1. ผู้สัมผัสในครัวเรือน
1.1) สมาชิกในครอบครัว ญาติ และผู้ที่ดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขณะที่มีอาการป่วย ผู้ที่พักอาศัยในบ้านเดียวกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

2. ผู้สัมผัสในยานพาหนะ
2.1) ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เดินทางโดยเครื่องบิน ในขณะที่มีอาการ ผู้ที่ร่วมเดินทางโดยเครื่องบินดังกล่าวกับผู้ป่วย ผู้โดยสารที่นั่งใกล้ผู้ป่วยในแถวเดียวกัน และในระยะ 2 แถวหน้าและ 2 แถวหลัง ถัดจากที่นั่งของผู้ป่วย
2.2) พนักงานบริการบนเครื่องบินทุกรายในโซนที่ผู้ป่วยนั่ง
2.3) ผู้ที่ร่วมกลุ่มเดินทางเดียวกัน เช่น กลุ่มทัวร์เดียวกัน
2.4) ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เดินทางโดยยานพาหนะอื่น ๆ ในขณะที่มีอาการได้แก่ ผู้ที่ร่วมเดินทางกับผู้ป่วย ผู้โดยสารหรือพนักงานที่สัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือโดนไอ จาม จากผู้ป่วย และผู้โดยสารที่อยู่ในระยะห่างไม่เกิน 1 เมตร จากผู้ป่วย

3. ผู้สัมผัสในโรงเรียน/ ที่ทำงาน และในชุมชน
3.1) นักเรียนหรือผู้ร่วมงาน ได้แก่ กลุ่มเพื่อนที่พบปะกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะมีอาการ และมีประวัติอาจสัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือโดนไอ จาม จากผู้ป่วย
3.2) ผู้ที่อยู่ในชุมชนเดียวกันกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือในชุมชนอื่น ๆ และสัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือโดน ไอ จาม จากผู้ป่วย
 

3. การทำความสะอาดสถานที่

1) เพิ่มความตระหนักให้กับพนักงาน และพนักงานทำความสะอาด ถึงความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อโดยให้ความสำคัญในการป้องกันตนเอง เช่น การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และถุงมือ ขณะปฏิบัติงาน และการดูแลทำความสะอาดสิ่งของที่ใช้งานบ่อยๆ เช่น โต๊ะทำงาน คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการทำงาน รวมถึงอุปกรณ์ทำความสะอาดอื่นๆ 
 
2) จัดให้มีการทำความสะอาดอุปกรณ์ และบริเวณที่มีผู้สัมผัสปริมาณมากอย่างสม่ำเสมอ เช่น ราวจับ กลอนประตู ห้องน้ำ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ ด้วยน้ำยาฟอกขาวความเข้มข้น 6% ผสมน้ำสะอาด (โดยใช้น้ำยา 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน) หรือ 70% แอลกอฮอล์

3) จัดจุดทิ้งขยะติดเชื้อให้กับผู้พักอาศัย ระมัดระวังการเก็บขยะติดเชื้อ เช่น ทิชชูที่ผ่านการใช้แล้วอาจปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ก่อนทิ้งขยะติดเชื้อควรใส่ถุงปิดให้มิดชิด และล้างมือทำความสะอาดเพื่อป้องกันการตกค้างของเชื้อโรค
  
25 มีนำคม 2563
ในคอนโดพบผู้ป่วยโควิด ต้องทำอย่างไร คำแนะนำสำหรับผู้อาศัยร่วมคอนโดและเจ้าของคอนโด HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด