ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เซโนลีติกส์ (Senolytics) ยาประเภทใหม่ช่วยป้องกันกลไก ความชราในการปลูกถ่ายอวัยวะ

เซโนลีติกส์ (Senolytics) ยาประเภทใหม่ช่วยป้องกันกลไก ความชราในการปลูกถ่ายอวัยวะ Thumb HealthServ.net
เซโนลีติกส์ (Senolytics) ยาประเภทใหม่ช่วยป้องกันกลไก ความชราในการปลูกถ่ายอวัยวะ ThumbMobile HealthServ.net

การศึกษาที่ค้นพบใหม่แสดงให้เห็นว่าเซโนลีติกส์ (Senolytics) ซึ่งเป็นยาประเภทใหม่นั้น มีศักยภาพในการป้องกันการถ่ายโอนการเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของความชราในผู้รับอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่า

 เอเธนส์, กรีซ, 18 กันยายน 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต - การศึกษาที่ค้นพบใหม่แสดงให้เห็นว่าเซโนลีติกส์ (Senolytics) ซึ่งเป็นยาประเภทใหม่นั้น มีศักยภาพในการป้องกันการถ่ายโอนการเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของความชราในผู้รับอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่า
 
งานวิจัยบุกเบิกซึ่งนำเสนอในวันนี้ที่การประชุมของสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งยุโรป (European Society for Organ Transplantation Congress หรือ ESOT) ประจำปี 2566 แสดงให้เห็นช่องทางที่น่าจะประสบความสำเร็จในการขยายกลุ่มผู้บริจาคอวัยวะ และปรับปรุงผลลัพธ์ให้ผู้ป่วย
 
นักวิจัยจากโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) และมาโย คลินิก (Mayo Clinic) ได้ปลูกถ่ายอวัยวะของผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่าให้ผู้รับที่อายุน้อยกว่า เพื่อศึกษาบทบาทของการปลูกถ่ายอวัยวะในการกระตุ้นให้เกิดการชราภาพ ซึ่งเป็นกลไกทางชีวภาพที่เชื่อมโยงกับความชราและโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุ นักวิจัยได้ทำการปลูกถ่ายหัวใจโดยแยกตามอายุที่ต่างกันจากหนูอายุน้อย (3 เดือน) และหนูอายุมาก (18-21 เดือน) ไปยังผู้รับที่อายุน้อยกว่า ผู้รับหัวใจจากหนูอายุมากแสดงความถี่ของเซลล์ชราที่เพิ่มขึ้นในการระบายต่อมน้ำเหลือง ตับ และกล้ามเนื้อ นอกเหนือจากการเพิ่มระดับดีเอ็นเอไมโทคอนเดรีย (mt-DNA) ในระบบ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้รับที่ได้รับการปลูกถ่ายจากหนูอายุน้อย จึงเห็นได้ว่าการปลูกถ่ายอวัยวะจากหนูอายุมากทำให้ผู้รับมีความบกพร่องทางร่างกายและการรู้คิดมากกว่าอย่างชัดเจน
 
การวิจัยยังได้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้สำหรับกระบวนการนี้ ด้วยการใช้เซโนลีติกส์ ซึ่งเป็นยาประเภทใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อกำหนดเป้าหมายและกำจัดเซลล์เสื่อมสภาพ เมื่อผู้บริจาคสูงวัยได้รับการบำบัดด้วยเซโนลีติกส์ (ดาซาทินิบ (Dasatinib) และเควอซิทิน (Quercetin)) ก่อนการจัดเตรียมผ่าตัดอวัยวะ การถ่ายโอนความชราภาพจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการสะสมของเซลล์เสื่อมสภาพและดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียลดลง ผู้รับที่ได้รับอวัยวะจากผู้สูงวัยที่บำบัดด้วยเซโนลีติกส์มีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น ซึ่งเทียบได้กับผลจากการสังเกตในกลุ่มผู้รับที่ได้อวัยวะจากผู้บริจาคอายุน้อย
 
แม็กซิมิลเลียน เจ โรเซล (Maximillian J. Roesel) ผู้นำเสนอการศึกษาวิจัยนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้วิจัยที่โรงพยาบาลบริกแฮมและสตรี (Brigham and Women’s Hospital) โรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้ความเห็นว่า "อายุของผู้บริจาคมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการปลูกถ่าย โดยผู้รับอวัยวะจากผู้ที่มีอายุมากกว่าต้องเผชิญกับผลลัพธ์ที่แย่ลง อย่างไรก็ตาม การใช้อวัยวะของผู้บริจาคที่มีอายุมากถือเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอวัยวะทั่วโลก และงานวิจัยนี้ให้ความกระจ่างถึงความท้าทายพื้นฐานและแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้สำหรับการใช้อวัยวะจากผู้ที่มีอายุมากกว่า"
 
สเตฟาน จี ทัลเลียส (Stefan G. Tullius) ผู้เขียนหลักของการศึกษาวิจัยนี้ กล่าวสรุปว่า "ในอนาคต เราจะตรวจสอบบทบาทที่เป็นไปได้ของเซโนลีติกส์ในการป้องกันการถ่ายโอนความชราภาพในมนุษย์ การวิจัยครั้งนี้น่าตื่นเต้นอย่างมากเนื่องจากอาจช่วยให้เราปรับปรุงผลลัพธ์ และยังทำให้อวัยวะต่าง ๆ มีพร้อมสำหรับการปลูกถ่ายมากขึ้น"
 

รายงานจากงานประชุมอีเอสโอที คองเกรส (ESOT Congress) ประจำปี 2566

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด