ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรควูบ (Syncope) ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อกำลังจะเป็นลมหมดสติ

โรควูบ (Syncope) ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อกำลังจะเป็นลมหมดสติ

โรควูบ (Syncope)

คือ อาการเป็นลมหมดสติเป็นภาวะที่พบได้บ่อย สาเหตุของการเป็นลมหมดสติ มีตั้งแต่เป็นลมธรรมดาจนถึงเป็นลมเนื่องจากความผิดปกติขั้นรุนแรงของหัวใจ ผู้ป่วยที่มีประสบการณ์กับตนเองรวมถึงคนใกล้ชิดผู้ป่วย จะเกิดความวิตกกังวลสูญเสียความมั่นใจ เนื่องจากไม่แน่ใจว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดจะเป็นลม หมดสติอีกเมื่อไร ถ้าเกิดขณะขับรถ ข้ามถนน หรือขณะเล่นกีฬา จะทำอย่างไร จะฟื้นหรือไม่ จะดูแลในเบื้องต้นอย่างไร เรามาทำความรู้จักการเป็นลมหมดสติกันดีกว่า

การเป็นลมหมดสติ เกิดขึ้นเมื่อสมองขาดเลือดไปเลี้ยงในระดับรุนแรง ทำให้ศูนย์ควบคุมความรู้สึกตัวเสียการทำงานไป มีสาเหตุที่สำคัญคือ

  1. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจอาจจะเต้นช้าเกินไป ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ หรือบางกรณีหัวใจเต้นเร็วเกินไป ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้เป็นลม สาเหตุชนิดนี้ เป็นสาเหตุที่อันตราย เพราะผู้ป่วยอาจเสียชีวิตเฉียบพลันได้
  2. โรคหัวใจชนิดที่มีการอุดตันการไหลเวียนของเลือด เป็นลิ้นหัวใจตีบขั้นรุนแรง
  3. ความดันโลหิตต่ำ มักเกิดกับผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันในขนาดที่มากเกินไป โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ นอกจากนี้ อาจเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบประสาทอัตโนมัติที่ไม่สามารถรักษาระดับความดันโลหิตเอาไว้ได้ ก็จะเป็นลมหมดสติได้
  4. เป็นลมธรรมดา เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยมักมีประวัติเป็นลมตั้งแต่เด็ก จะเป็นลมเวลาเห็นเลือด เห็นเข็มฉีดยา ยืนกลางแดด อากาศร้อนอบอ้าว อยู่ในรถโดยสารที่มีคนแน่น

เป็นลมหมดสติจะมีอาการเตือนอย่างไร

บางคนก่อนจะเป็นลมหมดสติ จะมีอาการเตือนนำมาก่อน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง อยากถ่าย เหงื่อแตก ตัวเย็น ถ้าเป็นจากโรคหัวใจอาจมีใจสั่นนำมาก่อน หรืออาจไม่มีอาการเตือนเลยก็ได้ ขณะหมดสติอาจมีอาการเกร็ง กระตุกได้ อาจทำให้สันสนกับโรคลมชัก

ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อกำลังจะเป็นลมหมดสติ

ให้รีบล้มตัวลงนอนทันที เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น จะสามารถป้องกันการเป็นลมได้ และยังลดการเกิดการบาดเจ็บ ถ้าขับรถอยู่ ควรจอดทันที แล้วปรับที่นั่งให้อยู่ในท่านอนราบ ถ้าอยู่ในรถโดยสารควรหาที่นั่ง/นอนในรถ แจ้งคนรอบข้างว่ากำลังจะเป็นลม ไม่ควรรีบลงจากรถเพราะอาจหมดสติตรงทางลง ทำให้เกิดอันตรายได้

ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อพบเห็นคนเป็นลม

ควรปฐมพยาบาลในเบื้องต้น โดยให้ผู้ป่วยนอนราบให้ได้มากที่สุด ป้องกันการบาดเจ็บจากการล้ม สังเกตลักษณะผู้ป่วยว่ามีความผิดปกติอย่างไรบ้าง เช่น หน้าซีด ปากเขียว เหงื่อแตก ตัวเย็น เพราะจะสามารถบอกสาเหตุของการเป็นลมได้

มีการทดสอบหาสาเหตุของการเป็นลมหรือไม่

การทดสอบขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แพทย์สงสัย ถ้าสงสัยว่าเป็นลมจากหัวใจ จึงมุ่งตรวจไปที่โรคหัวใจ ถ้าสงสัยว่าเป็นลมธรรมดา จึงทำการทดสอบที่เรียกว่า Tilt table test

โรควูบ ถ้าเป็น อย่านิ่งนอนใจ

ด้วยความปรารถนาดีจาก
ศูนย์หัวใจวิภาวดี

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด