หน้าที่ของโรคไต
- กำจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งของเสียที่เกิดจากโปรตีน
- รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่
- รักษาสมดุล กรด-ด่าง
- สร้างฮอร์โมน ได้แก่ อิริโธรปัวอิติน,วิตามิน D
โรคไตเรื้อรัง คือ
ภาวะที่มีการทำงานของไตลดลงและ/หรือไตมีความเสียหาย ทำให้มีความผิดปกติของโครงสร้างไต มานานมากกว่า 3 เดือน
โรคไตเรื้อรัง มี 5 ระยะ ตั้งแต่ ระยะที่ 1 มีความผิดปกติของโครงสร้างแต่การทำงานของไตยังไม่ลดลง จนถึงระยะที่ 5 คือ ไตวายเรื้อรัง จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต
ดัชนีบ่งชี้โรคไตเรื้อรัง
- ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
- ภาวะมีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ
การประเมินระดับการทำงานของไต
ทำได้โดยการตรวจเลือดหาระดับ ครีอาติน และนำมาคำนวณหาระดับ GFR ( Glomerular Filtration Rate )
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตเรื้อรัง
- ปัจจัยทำให้เสี่ยง เช่น อายุมาก มีประวัติโรคไตในครอบครัว
- ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค/เป็นสาเหตุทำลายไต เช่น เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคจากภูมิคุ้มกันตัวเอง,การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ,การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ,การได้รับสารพิษต่อไต
- ปัจจัยทำให้โรคลุกลามทำให้ไตมี่มีความผิดปกติเสี่อมหน้าที่มากขึ้น เช่น ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ไม่ดี เบาหวานที่ควบคุมไม่ดี การสูบบุหรี่
การตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรัง
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเพื่อที่จะรักษาโรคไตที่อาจสามารถหายขาดได้หรือป้องกันไม่ให้โรคไตนั้นเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว
ผู้ที่ควรตรวจคัดกรอง ได้แก่ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
วิธีการตรวจได้แก่ ตรวจวัดความดันโลหิต,ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจเลือดหาค่าครีอะตินินและปัสสาวะ และการทำอัลตร้าซาวนด์ของไตหากมีข้อบ่งชี้
แนวทางการดูแลรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของไต
- การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ได้แก่ การลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่น้ำหนักเกิน การหยุดสูบบุหรี่ งดอหารเค็ม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นต้น
- การควบคุมความดันโลหิตสูง ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
- การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
- การลดการมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะด้วยยา
- การจำกัดอาหารโปรตีน
- การลดระดับไขมันในเลือด
- หลีกเลี่ยงสารหรือยาที่อาจมีผลเสียต่อไต โดยเฉพาะยากลุ่มแก้ปวด ข้อปวดกระดูก (NSAIDS)