ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ใส่คอนแทคเลนส์ว่ายน้ำเป็นเหตุ ดวงตาติดเชื้อ

ใส่คอนแทคเลนส์ว่ายน้ำเป็นเหตุ ดวงตาติดเชื้อ HealthServ.net
ใส่คอนแทคเลนส์ว่ายน้ำเป็นเหตุ ดวงตาติดเชื้อ ThumbMobile HealthServ.net

ใส่คอนแทคเลนส์ว่ายน้ำเป็นเหตุ ดวงตาติดเชื้อ

รายงานจากเพจ PDRC ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ผู้ป่วยหญิงอายุ 41 ปี รายนี้มีอาการปวดๆหายๆ เบลอ และตาซ้ายไวต่อแสง มีปัญหาต่อการลืมตา จากการรายงานของแพทย์ Lanxing Fu และ Ahmed Gomaa (2019) การวัดระดับความสามารถในการมองเห็น ตาขวาได้ 20/20 ส่วนตาซ้าย 20/200 ที่ตามีสิ่งผิดปกติลักษณะคล้ายวงแหวนแทรกซึมอยู่ แพทย์จึงขูดเอาสิ่งผิดปกติบริเวณกระจกตาไปเพราะเชื้อพบว่าเป็น Acanthamoeba keratitis เชื้อที่มีความสัมพันธ์กับการใส่คอนแทคเลนส์ ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยา polihexanide และ propamidine isethionate แต่ถึงแม้ว่าเชื้อจะได้รับการกำจัดออกไปแล้ว แต่สายตาก็ยังไม่ดีขึ้นเนื่องจากมีแผลเป็นและต้อกระจก 12 เดือนหลังจากนั้นผู้ป่วยก็เข้ารับการผ่าตัด อาการดีขึ้นมาเล็กน้อยเมื่อวัดระดับสายตาได้ 20/80 ผู้ป่วยรายนี้มีประวัติใส่คอนเทคเลนส์ขณะว่ายน้ำ นั่นน่าจะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ
 
  •  Acanthamoeba เป็นโปรโตซัวกลุ่มอมีบาที่ดำรงชีวิตอิสระในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ อาทิ แม่น้ำ ห้วย หนอง ลำคลอง บึง ทะเลสาบ รวมถึง สระว่ายน้ำ บ่อน้ำ บ่อบำบัดน้ำเสีย น้ำจากเครื่องปรับอากาศ ฝุ่นละออง และดิน (ภัทธกร บุบผัน และคณะ 2561)
  •  Acanthamoeba ระยะ trophozoite มีขนาด 25-40 ไมโครเมตร ระยะ cyst มีขนาดตั้งแต่ 10-35 ไมโครเมตร ที่ก่อโรคในคนเรามีหลายตัว อาทิ A. astronyxis, A. castellanii, A. polyphaga, A. triangularis และ A. culbertsoni 
  •  ในบ้านเรามีการสำรวจและพบเชื้อ A. castellani, A. polyphaga, A. triangularis, และ A.culbertsoni เป็นเชื้อที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระจกตาอักเสบ (จิตรกุล สุวรรณเจริญ และวัชรพงษ์ ศรีชุม 2560)
  •  A. keratitis เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของกระจกตา และบริเวณรอบประสาทตาจากเชื้อ Acanthamoeba spp. ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดในตา ตาแดง แสบตา ตาพร่า น้ำตาไหล ไม่สู้แสง และอาจสูญเสียการมองเห็นได้ (Moore MB, et al. 1987) 
  •  โรค A. keratitis พบได้ในผู้ใส่คอนแทคเลนส์ มีการปนเปื้อนระยะ cyst หรือ trophozoite จากชุดอุปกรณ์ทําความสะอาด คอนแทคเลนส์เข้าสู่ตา การติดเชื้อส่วนใหญ่พบในผู้ใช้คอนแทคเลนส์ที่รักษาความสะอาดไม่เพียงพอใส่แล้วไปอยู่ในที่สกปรก มีฝุ่น มีเชื้อโรค ใส่นอน ใส่ว่ายน้ำ การใช้คอนแทคเลนส์เป็นเวลานานๆ โดยไม่รักษาความสะอาดจะทำให้มีคราบฟิล์มเกาะอยู่บนคอนแทคเลนส์ คราบฟิล์มจะเป็นแหล่งอาหารของเชื้อ และทำให้เชื้อเกาะติดกับคอนแทคเลนส์ได้ดีขึ้น (ภัทธกร บุบผัน และคณะ 2561)
  • การป้องกัน ล้างมือและคอนแทคเลนส์ให้สะอาด น้ำยาทำความสะอาดล้างเลนส์ควรใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน ถอดคอนแทคเลนส์ก่อนนอน นำตลับแช่เลนส์อบไมโครเวฟทุก 2-3 สัปดาห์ และเปลี่ยนตลับใหม่ทุก 2-3 เดือน

Case report
Lanxing Fu and Ahmed Gomaa. Acanthamoeba Keratitis. N Engl J Med 2019; 381:274

เอกสารอ้างอิง
  • ภัทธกร บุบผัน, และคณะ. การสำรวจอะแคนทามีบาในตัวอย่างน้ำสวนสาธารณะในประเทศไทย. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 2561; 9(1): 36-45.
  • จิตรกุล สุวรรณเจริญ และวัชรพงษ์ ศรีชุม. การสำรวจอะแคนทามีบาในแหล่งน้ำธรรมชาติจากชุมชรอบมหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2560; 47(3): 255-263
  • Moore MB, et al. Acanthamoeba keratitis: A growing problem in soft and hard contact lens wearers. Ophthalmology 1987; 94: 1654-61.
  • Chooseel Bunsuwansakul, et al. Korean J Parasitol. 2019 Aug; 57(4): 341–357
  • Constantine G, et al. Unusual Case of Acanthamoeba Keratitis in a Contact Lens Wearer, Eye & Contact Lens: Science & Clinical Practice, 2006 ;32(4):166-167

    29/11/2563
     
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด