มารู้จักธีมหลักของปีนี้ “urban‘NICE’zation เมือง - มิตร - ดี” คืออะไร?
Let’s get to know about the “urban’NICE’zation”
เมื่อโจทย์หลักของเทศกาล Bangkok Design Week 2023 ในปีนี้คือ ทำอย่างไรให้ ‘การออกแบบ’ สามารถพัฒนา ‘คุณภาพชีวิต’ ของผู้คน โดยอาศัยหลักการสร้าง ‘เมืองที่เป็นมิตรต่อคน’ และสร้าง ‘คนที่เป็นมิตรต่อเมือง’ โดยทำกรุงเทพฯ ให้กลายเป็นเมืองที่ urban‘NICE’zation หรือเป็น ‘เมือง - มิตร - ดี’ ต่อทั้งผู้อยู่อาศัยและผู้ประกอบการด้านต่าง ๆ รวมถึงสามารถค้นหาแนวทางแก้ปัญหาใน 6 มิติของเมือง พร้อมผลักดันให้เกิดธุรกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนในกรุงเทพฯ ก่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกคน ที่เป็นเสมือนฟันเฟืองสำคัญ ที่ต้องอาศัยกลไกจากทุกภาคส่วน หน่วยงานต่าง ๆ มาร่วมกันขับเคลื่อนสร้างทางออก ค้นหาคำตอบไปด้วยกัน
“urban‘NICE’zation เมือง - มิตร - ดี” ธีมหลักที่จะชวนทุกคนมาค้นคิดหาคำตอบของโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับ ผู้คน เมือง เเละสังคม ใน 6 มิติ
1. Nice for Environmentเป็นมิตรที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม เราจะฟื้นฟูและสร้างเมืองที่มีสีเขียวเพิ่มขึ้นอย่างไร?
2. Nice for Mobility
เป็นมิตรที่ดีต่อคนเดินทาง ร่วมค้นหาไอเดียสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางของคนเมืองให้สะดวกสบายและปลอดภัยขึ้นอย่างไรได้บ้าง?
3. Nice for Culture
เป็นมิตรที่ดีต่อวัฒนธรรม การเปิดโอกาสให้ผู้คนในเมืองสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงออกหรือชื่นชมวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างไร?
4. Nice for Business
เป็นมิตรที่ดีต่อธุรกิจ สร้างสรรค์บรรยากาศของเมืองให้ส่งเสริมธุรกิจได้อย่างไร?
5. Nice for Community
เป็นมิตรที่ดีต่อชุมชน ทำอย่างไรให้ชุมชนมีความสุขและแข็งแกร่ง?
6. Nice for Diversity
เป็นมิตรที่ดีต่อทุกความหลากหลาย ทำอย่างไร เมืองจะโอบรับสมาชิกที่แตกต่างและหลากหลายได้?
สำหรับ Bangkok Design Week 2023 ปีนี้ จัดเต็มอัดแน่นด้วยกิจกรรมกว่า 530 โปรแกรม ทั้งนิทรรศการ โชว์เคส ดนตรี ทอล์ก เวิร์กช็อป ทัวร์ อีเวนต์ และตลาดนัดสร้างสรรค์ ใน 9 ย่านสร้างสรรค์ เช่น 1) ย่านเจริญกรุง - ตลาดน้อย 2) เยาวราช 3) สามย่าน - สยาม 4) อารีย์ - ประดิพัทธ์ 5) พระนคร / ปากคลองตลาด / นางเลิ้ง 6) วงเวียนใหญ่ - ตลาดพลู / คลองสาน 7) บางโพ 8) พร้อมพงษ์ 9) เกษตรฯ และพื้นที่อื่น ๆ ทั่วกรุงเทพฯ
ในงานมีอะไรมาแสดงบ้าง
ดูรายการแสดงที่แนบมา บอกเลยว่าน่าสนใจไปหมด ต้องจัดตารางดีๆ เคลียร์คิวให้ว่างๆ เผื่อไว้ก่อนเลย ติดตาม/เช็คอัพเดตเรื่อยๆ ได้ที่
49&FRIENDS : สายรุ้ง ความเชื่อกับความจริง LINK
49&FRIENDS : สายรุ้ง ความเชื่อกับความจริง
49&FRIENDS : Rainbow, Belief and Reality
จากประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เราอยู่กับสิ่งที่รู้และใช้ชีวิตกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้นด้วย ‘ความเชื่อ’ ว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นความจริง แต่เมื่อมนุษยชาติพัฒนาก้าวไปข้างหน้า เราค้นพบความจริงต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา โดยบางครั้งความเชื่อเหล่านั้นอาจไม่ได้พัฒนาตามไป หรือไม่มีข้อมูลที่พิสูจน์ว่าความเชื่อเหล่านั้นยังเป็นสิ่งที่อธิบายได้อย่างถูกต้อง
ดังนั้น ความสําคัญในการตระหนักถึงความจริงในแต่ละยุคสมัย เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตกับความจริงเหล่านั้นได้อย่างมิตรดีปรองดอง เราในฐานะผู้สร้างสรรค์จึงจะนําเสนอความจริงในแง่มุมต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อ เพื่อให้ทุกคนก้าวไปสู่อนาคตที่สร้างสรรค์ด้วยกัน โดยตัวอย่างของความสัมพันธ์ระหว่างความจริงและความเชื่อในอดีตและปัจจุบัน เช่น รุ้งกินน้ําที่ในสมัยโบราณเชื่อว่าเป็นตัวแทนของความหวังสําหรับผู้พบเห็น แต่ความจริงในปัจจุบันการปรากฏตัวของรุ้งกินน้ําที่บ่อยขึ้นกลับแสดงออกถึงความรุนแรงของภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming ที่กําลังเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในปัจจุบัน อีกทั้งนําเสนอการพัฒนาของย่านผ่านความจริง ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี เช่น การนํา AI เข้ามาวิเคราะห์ในสิ่งที่เราไม่เคยเห็น เพื่อเข้ามาเติมเต็มให้คุณภาพชีวิตของผู้คนในย่านนี้ดีขึ้นไปด้วยกัน
ร่วมงานฟรี จำนวน 20 คน
* สงวนสิทธิ์เฉพาะผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ลงทะเบียนล่วงหน้า / ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องส่งผลตรวจ ATK / ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดการทํากิจกรรม / ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม
เสาร์ 04 ก.พ. 2566 11:00 - 17:00
เสาร์ 11 ก.พ. 2566 11:00 - 17:00
โมเดลทดลองการจัดการสตรีทฟู้ดริมทางย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซอยเจริญกรุง 32 LINK
Re-Vendor เจริญกรุง 32
Rethinking / Redesign / Reorganize street vendor community
โมเดลทดลองการจัดการสตรีทฟู้ดริมทางย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซอยเจริญกรุง 32
แม้ว่าสตรีทฟู้ด (Street food) จะถือเป็นเสน่ห์ของกรุงเทพฯ ที่ใครๆ ต่างก็หลงใหล เพราะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มาเดินชมเมืองพร้อมชิมอาหารรสเด็ด กระตุ้นให้เมืองคึกคัก มีชีวิตชีวาตลอดวัน แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงในด้านการบริหารจัดการพื้นที่ระหว่างร้านค้า คนกิน และคนเดิน รวมถึงการจัดการของเสียและความสะอาดที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและเมือง
โปรเจ็กต์เล็กๆ กึ่งทดลองครั้งนี้ จึงอยากใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ความคิดสร้างสรรค์ และงานออกแบบ มาร่วมสร้างความเป็นไปได้ใหม่ให้กับสตรีทฟู้ดริมทาง โดยเฉพาะร้านค้าแผงลอย ให้เป็นมิตรกับเมืองมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่สิ่งแวดล้อม ธุรกิจ ชุมชน และผู้คนที่หลากหลายในเมือง
มาร่วมค้นหาแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตรกับเมืองของร้านค้าริมทางไปด้วยกัน
ซอยเจริญกรุง 32 ถนนเจริญกรุง บางรัก กรุงเทพฯ 10500
4 - 12 ก.พ.08:00 - 21:00
ทัวร์ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในชุมชนบริเวณย่านเยาวพานิช LINK
Yaowapanich’s Historical Walking Tour ทัวร์ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในชุมชนบริเวณย่านเยาวพานิช - Satarana และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ชวนคุณย้อนอดีตไปเดินเท้าตามหาเรื่องราวและขุดคุ้ยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในย่านเยาวพานิช กับ Yaowapanich’s Historical Walking Tour เพราะ "ถนนเยาวพานิช" ถนนสายเล็กๆ ที่เชื่อมถนนเยาวราชและถนนทรงวาดเอาไว้ด้วยกัน ถือเป็นเส้นทางการคมนาคมที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ในวันที่เคยเป็นคลองลำเลียงสินค้าจากแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นฝั่ง จนถึงปัจจุบันซึ่งถูกถมจนกลายเป็นถนนเยาวพานิชที่เต็มไปด้วยร้านค้าเก่าแก่ สถาปัตยกรรมย้อนยุค และเรื่องราวในประวัติศาสตร์มากมายที่รอให้ทุกคนมาค้นหา
นำกิจกรรมโดยเหล่านักศึกษาจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ได้ลงพื้นที่ค้นคว้าเรื่องราวและจัดทำข้อมูลประวัติศาสตร์ย่านเยาวพานิชเอาไว้อย่างละเอียด พร้อมนำคุณไปเดินลัดเลาะสำรวจทุกซอกทุกมุมของย่านไปด้วยกัน
ร่วมฟรี รับจำนวน 60 คน
วันเวลา
เสาร์ 04 ก.พ. 2566 10:30 - 16:00
อาทิตย์ 05 ก.พ. 2566 10:30 - 16:00
เสาร์ 11 ก.พ. 2566 10:30 - 16:00
อาทิตย์ 12 ก.พ. 2566 10:30 - 16:00
Street Performance LINK
ชวนทุกท่านมาพบกับกิจกรรม ‘Street Performance’ ชมศิลปะหลากหลายแขนง ทั้งวงดนตรีสด สตรีทแฟชั่นโชว์ และศิลปะวัฒนธรรมแบบจีน อย่างการเชิดสิงโต รำพัด และอื่นๆ อีกมากมาย เต็มอิ่มไปกับความน่าตื่นตาตื่นใจและบรรยากาศดีๆ ของถนนเยาวราช
แสดง 4 - 12 ก.พ. 17:00 - 22:00
สอบถามโทร. 0928561155
THEROOTSROUTES The Lives of Orchards LINK
The Lives of Orchards
เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่บอกเล่าเรื่องราวของกรุงเทพฯ ในอดีต ผ่านรูปแบบการเดินทางที่แตกต่างกัน นำไปสู่ประสบการณ์การเปลี่ยนผ่านพื้นที่ที่แตกต่างกัน จากตรอกซอกซอย ไปสู่วัดที่เงียบสงบสวยงาม จนถึงสวนลิ้นจี่ที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ
พาผู้เข้าร่วมย้อนเวลากลับไปค้นหารากเหง้าของกรุงเทพฯ ในอดีต เมื่อแม่น้ำและลำคลองยังคงเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชุมชนเกษตรกรและชาวสวนริมน้ำ เราจะพาผู้เข้าร่วมเดินสำรวจตรอกซอกซอยเล็กใหญ่ เริ่มจากขึ้นรถไฟ ล่องเรือผ่านคลองเล็กๆ สัมผัสบรรยากาศบ้านเรือนและชุมชนริมน้ำ จากนั้นร่วมสำรวจสวนผลไม้ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวสวนกรุงธนบุรีผ่านมรดกวัฒนธรรมอาหารและระบบการจัดการน้ำสำหรับการเพาะปลูกที่เกือบจะสูญหายไปในทุกวันนี้เนื่องจากการพัฒนาและกระจายตัวของพื้นที่เมือง
สถานที่บางส่วนที่ผู้เข้าร่วมจะได้ร่วมสัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้และวิถีชีวิตชาวสวนกรุงธนบุรี ได้แก่
วัดราชาอรสารราชวรวิหาร
สวนภูมิใจ / Natura คาเฟ่
ระบบการเกษตรแบบดั้งเดิม
ตลาดพลู
ตารางเวลา
เสาร์ 04 ก.พ. 2566 09:00 - 12:30
อาทิตย์ 05 ก.พ. 2566 14:00 - 17:30
พฤหัสบดี 09 ก.พ. 2566 14:00 - 17:30
อาทิตย์ 12 ก.พ. 2566 09:00 - 12:30
ค่าใช้จ่าย (บาท): 1500
จำนวนที่รับ (คน): 15
สอบถาม โทร.0896643895
Flour Lab เสวนาและเวิร์กช็อป
Flour Lab จัดเสวนาและเวิร์กช็อปภายใต้หัวข้อ ‘Urban - rice - zation’ เพื่อค้นหาที่มาของแป้งจากต้นข้าวสาลีและเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ในปีนี้ Lab สนุกสนานกับการทำโซบะจากเมล็ดบัควีต จากส่วนผสมที่มีเมล็ดบัควีตอยู่มากถึง 80% จนถึง 100% เราจึงอยากชวนคุณมาร่วมกิจกรรมโอมากาเสะ Soba Night และเวิร์กช็อปทำเส้นโซบะด้วยกัน
4 - 12 ก.พ. 11:00 - 22:00
ค่าใช้จ่าย (บาท): 1500
จำนวนที่รับ (คน): 40
ทั้ง 2 กิจกรรม มีค่าใช้จ่าย และ ลงทะเบียนจองล่วงหน้า (จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วม)
โทร.0972671808
KUSU เวิร์คช็อปผลิตงานเทียนหอม LINK
ผลิตงานเทียนหอมในรูปทรงต่างๆ เน้นไปทางรูปทรงธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน ต้นกระบองเพชร นอกจากเป็นเทียนหอมที่ใช้ได้จริงแล้ว ยังสามารถเป็นของตกแต่งบ้านได้ด้วย
4 - 12 ก.พ.11:00 - 22:00
สอบถามโทร. 0959633444
BANGPHO WOOD STREET Balance in Space LINK
การพัฒนาสวนสาธารณะขนาดเล็กจากพื้นที่จอดรถมาทำเป็นพื้นที่สาธารณะให้คนที่เข้ามาใช้งานในพื้นที่ โดยการนำวัสดุเหลือใช้ภายในย่านมาใช้งาน และช่วยสนับสนุนงานฝีมือของคนในย่านไปพร้อมกัน
ย่านบางโพ แหล่งธุรกิจค้าไม้ขนาดใหญ่ใจกลางเมืองกำลังพัฒนาย่านให้เป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในอนาคตย่านนี้จะมีคนเข้ามาใช้บริการ ทั้งจับจ่ายใช้สอยและท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย แนวคิดการพัฒนาสวนสาธารณะขนาดเล็กอย่าง "Pocket Park" ภายใต้รูปแบบการนำพื้นที่จอดรถมาพลิกโฉมเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับคนที่เข้ามาใช้งานในพื้นที่ (Parklet) จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เนื่องจากภายในย่านค่อนข้างแออัดและมีพื้นที่ที่พัฒนาต่อยอดได้น้อย จึงทำให้การใช้งานพื้นที่ที่มีอยู่เดิมมาพัฒนาต่อเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นแล้วยังได้มีการนำวัสดุเหลือใช้ภายในย่านมาใช้งาน เกิดการยืม-คืน เพื่อลดการสร้างสิ่งของเหลือใช้ และช่วยสนับสนุนงานฝีมือของคนในย่าน เป็นการนำองค์ความรู้และความสามารถของคนภายในชุมชนมาใช้ต่อยอดอีกด้วย
นักออกแบบ
WePark SHMA
แสดง 4 - 12 ก.พ.11:00 - 22:00
NUI SASAMON X HUMANS OF FLOWER MARKET BY ARCH SU Street Photo Exhibition: Human Craft Market LINK
Street Photo Exhibition: Human Craft Market -
นุ้ย ศศมน รัตนาลังการ
นิทรรศการภาพถ่ายที่บอกเล่าเรื่องราวของปากคลองตลาดที่เต็มไปด้วยเรื่องราวและทักษะของผู้คน โดยช่างภาพ นุ้ย-ศศมน รัตนาลังการ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Facebook Page: Humans of Flower Market หรือ มนุษย์ปากคลอง ซึ่งสนับสนุนโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพจมนุษย์ปากคลองนี้ ก่อตั้งในปี 2559 จากคลาสเรียนในหลักสูตรระดับ ปริญญาโท-เอก สาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่งเป็นปีที่ทางกรุงเทพมหานครมีการจัดระเบียบทางเท้าในย่านปากคลองตลาด
4 - 12 ก.พ.11:00 - 20:00