ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ปรมาณูฯ เปิดรายงานผลตรวจวัดระดับปริมาณรังสีซีเซียม ในพื้นที่โรงงานหลอมโลหะ

ปรมาณูฯ เปิดรายงานผลตรวจวัดระดับปริมาณรังสีซีเซียม ในพื้นที่โรงงานหลอมโลหะ Thumb HealthServ.net
ปรมาณูฯ เปิดรายงานผลตรวจวัดระดับปริมาณรังสีซีเซียม ในพื้นที่โรงงานหลอมโลหะ ThumbMobile HealthServ.net

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เปิดรายงานสถานการณ์และการปฏิบัติงานกรณีการปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในโรงงานหลอมโลหะ จังหวัดปราจีนบุรี ดำเนินการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ(ปส.) ได้ข้อสรุปดังนี้

 รายงานสถานการณ์และการปฏิบัติงานกรณีการปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137
ในโรงงานหลอมโลหะ จังหวัดปราจีนบุรี โดยการดำเนินการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
 
1. กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137
 
2. สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ(ปส.) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจในการเฝ้าระวังและตอบสนองกรณีวัสดุ
กัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในพื้นที่เกิดเหตุ ณ จังหวัดปราจีนบุรี

 

การตรวจสอบและการตรวจวัดระดับปริมาณรังสีในพื้นที่โรงงานหลอมโลหะที่เกิดเหตุ


ได้ข้อสรุปดังนี้
 
1. เจ้าหน้าที่ ปส. ได้ตรวจสอบเตาหลอมเหล็กและระบบการจัดการฝุ่นเหล็กมีผลการตรวจสอบ ดังนี้

1.1) พบการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในเตาหลอมโลหะจำนวน 1 เตา จากเตาหลอมทั้งหมด 3
เตา ซึ่งผลการตรวจสอบพบการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในระดับต่ำ (ระดับรังสี 0.07- 0.10 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง) ในขณะที่เตาหลอมโลหะหมายเลข 1 และหมายเลข 2 ไม่พบการปนเปื้อนของวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137
 
1.2) ไม่พบการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในชิ้นส่วนอุปกรณ์ถ่ายเทน้ำเหล็ก (ระดับรังสี
0.03-0.05 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง)
 
1.3) พบการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในระบบการดูดฝุ่น (Dust Filter) และระบบกรอง
ฝุ่น (อัตราปริมาณรังสีเท่ากับ 1.2-1.7 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง) และมีฝุ่นจำนวนหนึ่งที่อยู่ในระบบกรองฝุ่นโลหะ
ปนเปื้อนซีเซียม-137 จากการหลอมโลหะเมื่อวันที่ 18-19 มีนาคม 2566 ซึ่งขณะนี้รอให้ฝุ่นปนเปื้อนดังกล่าวเย็นลงและเตรียมบรรจุลงในถุงขนาดใหญ่ จากนั้นจะนำไปจัดเก็บในอาคารเก็บฝุ่นแดงปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม137 รวมกับ 24 ถุงที่ตรวจสอบพบการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ก่อนหน้านี้


2. เจ้าหน้าที่ ปส. ได้ทำการตรวจวัดระดับปริมาณรังสีโดยใช้เครื่องสำรวจและระบุชนิดสารกัมมันตรังสีบริเวณหน้าดินในพื้นที่โรงงานพบว่าระดับปริมาณรังสีอยู่ในระดับเท่ากับระดับปริมาณรังสีในธรรมชาติ (0.03 – 0.05 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง)
ปรมาณูฯ เปิดรายงานผลตรวจวัดระดับปริมาณรังสีซีเซียม ในพื้นที่โรงงานหลอมโลหะ HealthServ

 

การตรวจวัดปริมาณรังสีรอบในสิ่งแวดล้อม


ดำเนินการดังนี้
1. ตรวจวัดระดับปริมาณรังสีโดยใช้เครื่องมือวัดทางรังสีและติดตั้งในรถยนต์ โดยตรวจวัดระดับปริมาณรังสีในพื้นที่
โรงงานที่เกิดเหตุ ผลการตรวจสอบพบว่า ระดับรังสีที่ตรวจวัดได้อยูในระดับรังสีในธรรมชาติ

2. ตรวจวัดระดับปริมาณรังสีโดยรอบพื้นที่โรงงานที่เกิดเหตุ ผลการตรวจสอบพบว่าระดับรังสีที่ตรวจวัดได้อยูใน
ระดับรังสีในธรรมชาติ


3. ตรวจวัดปริมาณรังสีในสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่รอบบริเวณโรงงาน ในรัศมีระยะทางประมาณ 3 กม.
3.1) พื้นที่บริเวณหมู่บ้านโคกกระท้อน ม.10 ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
3.2) พื้นที่บริเวณหมู่บ้านซ่ง ม.3 ต.หาดนางแก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
3.3) พื้นที่บริเวณบ้านหาดสูง ม.2 ต.หาดนางแก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
3.4) พื้นที่บริเวณ อบต.หาดนางแก้ว ต.หาดนางแก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี


 

 
ปรมาณูฯ เปิดรายงานผลตรวจวัดระดับปริมาณรังสีซีเซียม ในพื้นที่โรงงานหลอมโลหะ HealthServ

แนวทางการตรวจวัดและประเมินค่า CS-137 ที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย


ดังนี้

1. การคัดเลือกผู้เข้ารับการตรวจวัดและประเมินค่าปริมาณรังสีจากภายในร่างกาย โดยพิจารณาจากความเสี่ยงที่
ได้รับด้วยการบันทึกข้อมูลรายละเอียดการได้รับรังสี


 2. การตรวจวัดและประเมินค่าปริมาณรังสีเบื้องต้น ณ บริเวณจุดเกิดเหตุ แบ่งเป็น
 2.1) การตรวจสอบการเปรอะเปื้อนจากภายนอกร่างกาย
 2.2) การตรวจวัดรังสีแกมมาด้วยเครื่องวัดรังสีที่อวัยวะแบบเคลื่อนย้ายได้

3. การยืนยันการได้รับรังสี โดยดำเนินการเก็บตัวอย่างจากปัสสาวะของกลุ่มเสี่ยงตามแนวทางการเก็บโดยกำหนดเวลา 24 ชม. แล้วนำมาตรวจวัดที่ห้องปฏิบัติการ ปส. ด้วยเครื่องวัดรังสีแกมมา

4. หากการได้รับรังสีปริมาณสูง ปส. จะประสานงานกับหน่วยงานด้าน Biodose เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี ในการการส่งต่อผู้ป่วยและวิเคราะห์ความผิดปกติของเซลล์ร่วมกัน

5. การติดตามผลกระทบที่เกิดจากการได้รับสารรังสีเป็นระยะ



รายงานสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 
21 มีนาคม 2566

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด