3 เสาหลักเป้าหมาย
เป็น 3 เสาหลัก ที่สปสช. กำหนดเป้าหมายที่จะประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนและดำเนินการให้บรรลุผล
- ประชาชน เข้าถึงบริการสาธารณสุข อย่างครอบคลุมตามความจำเป็น
- เป้าหมาย กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน
- กลไกการบริหารจัดการ ดำรงไว้ซึ่งธรรมาภิบาล
ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3
สปสช.ประกาศเป้าประสิทธิผลที่มุ่งหวังจะทำให้สำเร็จสำหรับทศวรรษใหม่ข้างหน้าอย่างท้าทาย ดังนี้
- ประสิทธิผลความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพ (Effective coverage) มากกว่า 80% ในปี 2570
- การใช้สิทธิเมื่อไปใช้บริการผู้ป่วยใน (Compliance rate-IP) มากกว่า 89% ในปี 2570
- รายจ่ายสุขภาพเมื่อเทียบกับ GDP ไม่เกิน 5%
- รายจ่ายสุขภาพเทียบกับรายจ่ายรัฐบาล ไม่เกิน 20%
- ครัวเรือนที่ต้องยากจนจากค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 0.25%
ปณิธานแห่งอนาคตข้างหน้าของสปสช.ต่อประชาชนไทย
สปสช.ตั้งปณิธานขั้นสูงที่ต้องบรรลุให้ได้ในทศวรรษที่แสนท้าทายข้างหน้าดังนี้
- ทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย ได้รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้าด้วยความมั่นใจ
- มุ่งเน้นสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับคนไทยทุกคน คุ้มครองโรคที่สำคัญ /ปัญหาสุขภาพ โรคที่ทำให้เกิดภาวะ ล้มละลายจากการเจ็บป่วย โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มเฉพะต่างๆ
- เพิ่มความเข้มแข็งการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
- มุ่งสร้างดุลยภาพการมีส่วนร่วมของภาคียุทธศาสตร์
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนและความยั่งยืนด้านการเงินการคลัง
- สนับสนุนนโยบายรัฐบาล โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Model) ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เพื่อคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพ การเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
- เพิ่มศักยภาพสู่การเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูง