Sensor for All ตรวจวัดความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 PM10 และ AQI รอบบริเวณพื้นที่ด้วยเซนเซอร์ตรวจวัดฝุ่น ที่พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สามารถแสดงผลแบบ Real-time ผ่าน Dashboard ที่แสดงผลความเข้มข้นฝุ่นแบบ Real-time พร้อมทั้งคำนวณ AQI ทั้งแบบ Real-time และแบบเฉลี่ย 24 ชั่วโมงตามมาตรฐานประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา
เช็คข้อมูลสภาพอากาศ ได้จาก
ร่วมสนับสนุนโครงการ Sensor for All ปีที่ 3
ท่านสามารถมีส่วนร่วมกับโครงการได้ โดย
สนับสนุน 10,000 บาท ได้ที่บัญชี
กองทุนนวัตกรรมวิศวฯ จุฬาฯ
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย
เลขที่บัญชี 405-4-13788-7
โดยทุกการสนับสนุน 10,000 บาท ท่านจะได้รับ box set
เซนเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 และ PM 10 จำนวน 1 ตัว
หนังสือ “ยุทธการดับฝุ่น”
บอร์ดเกม “JUST DUST”
*สนับสนุนสามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
ข้อมูลจากเซนเซอร์ของท่าน จะร่วมอยู่ใน
ฐานข้อมูลเปิดด้านสภาพอากาศ
ซึ่งท่านสามารถติดตามข้อมูลของเซนเซอร์ของท่าน
รวมถึงเซนเซอร์ในบริเวณอื่นๆ
ได้จากแอพพลิเคชั่น Sensor for All หรือ
การเลือกจุดติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 และ PM 10
ท่านสามารถเลือกติดตั้ง โดย
1) ให้คณะวิศว จุฬาฯ จัดหาพื้นที่ติดตั้งให้ หรือ
2) ดำเนินการติดตั้งที่บ้าน หรือบริษัทของท่าน
แจ้งโอนพร้อมกรอกรายละเอียดสำหรับออกใบกำกับภาษีและสถานที่ที่ต้องการติดตั้งการ
หากเป็นสถานที่ส่วนบุคคล ทางทีมงาน Sensor for All จะติดต่อกลับไป
เพื่อประสานงานเรื่องการติดตั้ง
ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ในกรุงเทพและทั่วประเทศไทยเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะเมื่อเริ่มเข้าหน้าหนาวอากาศเย็น ภาวะฝุ่นพิษ PM2.5 จะปรากฏชัดและรุนแรงขึ้นทุกปี การมีเครื่องมือตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 ที่แม่นยำ ใช้ข้อมูลทางวิชาการที่เชื่อถือได้ เพื่อเตรียมพร้อมให้ประชาชนเฝ้าระวังฝุ่น PM2.5 เป็นสิ่งจำเป็น
จึงเป็นที่มาของโครงการ Sensor for All คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นนวัตกรรมจากคณาจารย์จุฬาฯ ผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขา เพื่อใช้สำหรับการติดตามข้อมูลด้านคุณภาพอากาศ และปริมาณฝุ่น PM2.5
โครงการ Sensor for All ริเริ่มมานานกว่า 10 ปี แล้ว ระยะแรกเป็นชื่อโครงการอื่น มาเริ่มเป็นโครงการ Sensor for All ปีแรกเมื่อปี 2562 เริ่มจากการพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM2.5 และทดลองติดตั้งในพื้นที่รอบจุฬาฯ โครงการปีที่ 2 มุ่งพัฒนาระบบการส่งและแสดงผลข้อมูล รวมทั้งขยายการตรวจวัดปริมาณฝุ่นให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่าย คือการเคหะแห่งชาติ และ True Corporation นอกจากเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่นแล้ว ยังมีการเผยแพร่องค์ความรู้ โดยจัดทำเป็น Pocketbook “ยุทธการดับฝุ่น” เพื่อปลูกฝังความรู้เรื่องฝุ่นให้กับเยาวชน สำหรับโครงการปีที่ 3 ซึ่งเปิดตัวโครงการเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายวางแผนติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM2.5 ทั้งหมด 1,000 จุดทั่วประเทศ
ตั้งแต่ปีที่ 2 โครงการก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีหน่วยงานอีกหลายแห่งเริ่มเข้ามาร่วมและให้การสนับสนุนมากขึ้น ได้แก่ การเคหะแห่งชาติ, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, สภาวิศวกร, บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
“คณะวิศวฯ จุฬาฯ จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลสภาพอากาศ นำมาใช้ประโยชน์ด้านการวิจัย ผนึกพลังพันธมิตรเพิ่มพื้นที่การติดตั้งเซนเซอร์เพิ่มศักยภาพโครงการ วิเคราะห์ถึงผลกระทบ เสนอแนะแนวทางแก้ไข และพร้อมที่จะส่งมอบองค์ความรู้ต่างๆ แก่ ภาครัฐ เพื่อนำไปใช้พัฒนากลยุทธ์แก้ปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก และประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญต้องการนำองค์ความรู้ที่ได้มามอบให้แก่คนไทยเพื่อนำประโยชน์ดังกล่าวไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตในมิติต่างๆ สอดคล้องกับปณิธานในการดำเนินงานของคณะฯ CHULA INNOVATION ENGINEERING”
ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูล