ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

พม.เห็นชอบ ปรับเบี้ยผู้สูงอายุ-เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เป็นถ้วนหน้า เพิ่มเบี้ยคนพิการ

พม.เห็นชอบ ปรับเบี้ยผู้สูงอายุ-เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เป็นถ้วนหน้า เพิ่มเบี้ยคนพิการ HealthServ.net
พม.เห็นชอบ ปรับเบี้ยผู้สูงอายุ-เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เป็นถ้วนหน้า เพิ่มเบี้ยคนพิการ ThumbMobile HealthServ.net

ที่ประชุมอนุฯขับเคลื่อนสวัสดิการรัฐ พม. เห็นชอบ 4 ประเด็นสำคัญ คือ ปรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เป็นถ้วนหน้า ขยายการรับเลี้ยงดูเด็กเป็น 3 เดือน - 3 ปี ปรับเบี้ยผู้สูงอายุเป็นถ้วนหน้าเดือนละ 1,000 บาท และ ปรับเบี้ยคนพิการเป็นเดือนละ 1,000 และเพิ่มค่าตอบแทนให้ผู้ช่วยคนพิการ

 21 กุมภาพันธ์ 2567 ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ  นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ในฐานะประธานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ เปิดเผยว่า การประชุมในวันนี้ ที่ประชุมได้มีการเห็นชอบในวาระสำคัญหลายประเด็น โดยมีประเด็นที่สำคัญ 4 ประเด็น ประกอบด้วย


 ประเด็นที่หนึ่ง คือเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี ที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน ซึ่งตอนแรกการให้เงิน สนับสนุน 600 บาทต่อคนต่อเดือนนั้น จะเป็นไปตามเส้นความยากจน ซึ่งมีประมาณ 4 ล้านกว่าคน ในขณะนี้ ได้รับเงินอุดหนุนอยู่ประมาณ 2 ล้านกว่าคน แต่จากการประชุมในวันนี้ ได้เปลี่ยนวิธีการให้เงินสนับสนุนเป็นแบบถ้วนหน้าเพื่อที่ว่าเด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี ทุกคนในประเทศไทย จะได้รับเงินอุดหนุนจำนวนนี้
 
 
ประเด็นที่สอง ได้มีการขอให้ปรับศูนย์เลี้ยงดูเด็กและส่งเสริมการพัฒนาเด็ก ให้มีการเลี้ยงดูซึ่งในตอนแรก เป็นเด็กตั้งแต่ 6 เดือน จนถึง 3 ปี ซึ่งตนได้ขอให้ปรับเป็น 3 เดือน จนถึง 3 ปี เพราะจะได้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานที่อนุญาตให้ผู้เป็นแม่สามารถลาคลอดได้ 98 วัน หรือประมาณ 3 เดือนกว่าๆ ก็โดยจะขอให้ศูนย์เลี้ยงดูเด็กได้ตั้งแต่ 3 เดือน จนถึง 3 ปี
 
 
ประเด็นที่สาม เรื่องเบี้ยผู้สูงอายุ จากที่ก่อนหน้านี้ มีการจ่ายแบบขั้นบันได คือ 600 700 800 และ 1,000 บาทต่อเดือน ซึ่งจะขอเป็นแบบถ้วนหน้า และจะปรับเป็น 1,000 บาททุกคน ดังนั้น พี่น้องผู้สูงอายุจากเดิมที่ได้แบบขั้นบันไดและไม่ถ้วนหน้า แต่จากนี้ไป จะได้เป็นเดือนละ 1,000 บาทแบบถ้วนหน้า ทั้งนี้ เป็นการเห็นชอบของคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งจะต้องนำเสนอเข้าคณะกรรมการใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
 
 
นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า และในประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับเรื่องเบี้ยความพิการ จาก 800 บาทต่อคนต่อเดือน เราปรับเป็น 1,000 บาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ช่วยคนพิการ จากที่เมื่อก่อนได้รับค่าตอบแทนชั่วโมงละ 50 บาท ตอนแรกคณะทำงานเสนอปรับจาก 50 บาท เป็น 80 บาทต่อชั่วโมง ซึ่งทางตนเองและที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่าควรจะปรับขึ้นเป็น 100 บาทต่อชั่วโมง รวมถึงการจัดหาการบริการกายอุปกรณ์ให้กับคนพิการทุก ๆ คน ดังนั้น 4 ประเด็นนี้ เป็นข้อสรุปที่ทางคณะอนุกรรมการได้เห็นชอบเกี่ยวกับการดูแลพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ และผู้สูงอายุ แต่อย่างที่เรียนว่า เป็นการเห็นชอบของคณะอนุกรรมการที่ทางคณะทำงานนำเสนอมา ซึ่งขั้นตอนต่อไป คณะอนุกรรมการจะต้องนำเสนอข้อเสนอทั้งหมดที่เห็นชอบเข้าคณะกรรมการใหญ่ แล้วจะมีการดำเนินการต่อไปเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณและนโยบายต่างๆ

การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุปัจจุบัน

ข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์ ระบุว่า ปัจจุบันการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นแบบขั้นไดตามช่วงอายุ คือ
  • อายุ 60 - 69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท
  • อายุ 70 - 79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 700 บาท
  • อายุ 80 - 89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 800 บาท
  • อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 1,000 บาท
 
         การคำนวณอายุของผู้สูงอายุรายเดิม จะคำนวณตามปีงบประมาณ (การเลื่อนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายเดิมแบบขั้นบันไดจะเลื่อนตามปีงบประมาณ ไม่มีการเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในระหว่างปีงบประมาณ)
 
        หากผู้สูงอายุมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ทางหน่วยงานที่ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไว้ โดยในกรุงเทพมหานครสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเขต ส่วนต่างจังหวัดสอบถามได้ที่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในท้องถิ่น หรือติดต่อ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เบอร์ 02-2419000 ต่อ 4131 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด