ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 2 ปี 2567 - สภาพัฒน์

รายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 2 ปี 2567 - สภาพัฒน์ Thumb HealthServ.net
รายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 2 ปี 2567 - สภาพัฒน์ ThumbMobile HealthServ.net

สภาพัฒน์ รายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 2 ปี 2567 รอบนี้โฟกัสประเด็นสำคัญที่สังคมไทยต้องเตรียมพร้อมในเรื่อง สมรสเท่าเทียมในแง่กฏหมายที่จะตามมา ผลกระทบต่อคู่รักทั้งส่วนบุคคล สังคม เศรษฐกิจ, FestivalEconomy กับการขับเคลื่อนอย่างไรให้ปัง, ภัยร้ายในโลกเสมือนคุกตามทางเพศต่อเด็กและเยาวชนในโลกไซเบอร์ และประเด็นเรื่อง FastFashion ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับสูง

รายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 2 ปี 2567 - สภาพัฒน์ HealthServ


       26 สิงหาคม 2567  สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์  รายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 2 ปี 2567  ประเด็นพื้นฐาน ในรายงาน คือ ด้านการจ้างงาน  หนี้สินครัวเรือน  การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง  การบริโภคเหล้าบุหรี่   ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน และ การคุ้มครองผู้บริโภค 

      ส่วนประเด็นสำคัญ ที่รายงานรอบนี้นำเสนอ ที่สังคมไทยต้องเตรียมพร้อม ได้แก่ ประเด็นสมรสเท่าเทียมในแง่กฏหมายที่จะตามมา ผลกระทบต่อคู่รักทั้งส่วนบุคคล สังคม เศรษฐกิจ,  ประเด็น FestivalEconomy กับการขับเคลื่อนอย่างไรให้ปัง ,  ประเด็น ภัยร้ายในโลกเสมือนคุกตามทางเพศต่อเด็กและเยาวชนในโลกไซเบอร์ และ  ประเด็นเรื่อง FastFashion ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับสูง


รายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 2 ปี 2567 - สภาพัฒน์ HealthServ


สถานการณ์แรงงาน


    การจ้างงานในไตรมาสสอง ปี 2567 ลดลงตามการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่หดตัว ต่อเนื่อง ขณะที่สาขานอกภาคเกษตรกรรมมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในทุกสาขา โดยเฉพาะ สาขาการขนส่งและเก็บสินค้า ทั้งนี้ ต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มทักษะการประยุกต์ใช้ AI และทักษะที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมถึงต้องเฝ้าระวังการขาดสภาพคล่องของ SMEs ซึ่งอาจส่งผลต่อการจ้างงาน  
  • ไตรมาสสอง ปี 2567 ภาพรวมการจ้างงานปรับตัวลดลง โดยผู้มีงานทำมีจ านวนทั้งสิ้น 39.5 ล้านคน
  • จากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมหดตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา จากปัญหาการขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ เช่นเดียวกับกำลังแรงงานรอฤดูกาลที่เพิ่มขึ้น
  • การจ้างงานในสาขานอกภาคการเกษตรยังคงขยายตัวได้ทุกสาขา
          • สาขาการขนส่งและเก็บสินค้าปรับตัว ดีขึ้น
          • สาขาโรงแรมและภัตตาคารยังคงขยายตัวได้ดี มีปัจจัยสำคัญจากการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยในเดือนเมษายน 2567 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย  เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าร้อยละ 26.4
          • สาขาการผลิตที่ปรับตัวดีขึ้น ตามสถานการณ์การส่งออกที่ขยายตัว ดีขึ้น
          • สาขาการค้าส่งและค้าปลีกยังขยายตัวได้ไม่มากนัก
          • สาขาการก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอลงกว่าไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอาจเป็นผลต่อเนื่องจากการหดตัวของอุปสงค์ต่อที่อยู่อาศัย ที่ทำให้อุปทานทั้งใบอนุญาตจัดสรรที่ดินและพื้นที่อนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยลดลงตามไปด้วย
  • ชั่วโมงการทำงานค่อนข้างทรงตัวเฉลี่ย ในภาพรวมอยู่ที่ 42.8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  ขณะที่ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ย ของภาคเอกชนอยู่ที่ 46.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผู้ทำงานล่วงเวลาหรือผู้ที่มีชั่วโมง การท างาน 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ขึ้นไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
  • ค่าจ้างแรงงานภาคเอกชนอยู่ในระดับเดียวกันกับปีก่อน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 14,032 บาทต่อคนต่อเดือน
    ขณะที่ค่าจ้างเฉลี่ยในภาพรวมของกลุ่มแรงงานในระบบ (ตามการจัดเก็บข้อมูลแบบเดิม) อยู่ที่ 15,329 บาทต่อคน ต่อเดือน ลดลงจากไตรมาสสอง ปี 2566 เล็กน้อย 
       หากพิจารณาระดับค่าจ้างของกลุ่มแรงงาน ประกอบอาชีพอิสระร่วมด้วย จะพบว่า ค่าจ้างเฉลี่ยในภาพรวมปรับเพิ่มขึ้นเป็น 16,284 บาทต่อคนต่อเดือน นอกจากนี้ ผลของเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น ส่งผลให้ค่าจ้างที่แท้จริงของแรงงานลดลง
  • ผู้ว่างงาน 4.3 แสนคน คิดเป็นอัตราว่างงานร้อยละ 1.07 ถือเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกนับจากการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อปี 2565 โดยเป็น การเพิ่มขึ้นจากกลุ่มที่เคยทำงานมาก่อน ขณะที่กลุ่มที่ไม่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวนลดลง โดยเฉพาะกลุ่มที่จบ การศึกษาระดับอุดมศึกษา
         สำหรับผู้ว่างงานระยะยาวยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยไตรมาสสอง ปี 2567 มีประมาณ 7 หมื่นคน
         อัตราการว่างงานในระบบ อยู่ที่ร้อยละ 1.92 ของผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยมีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานทั้งสิ้น 2.3 แสนคน ลดลงร้อยละ 7.8 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  

      ประเด็นด้านแรงงานที่ต้องให้ความส าคัญในระยะถัดไป ได้แก่ 

     1. การปรับตัวของแรงงานให้มีทักษะที่สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในอนาคต โดยปัจจุบัน ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการพัฒนาการทำงานเพื่อรักษาความสามารถ ในการแข่งขันทั้งกับคู่แข่งภายในและภายนอกประเทศ คาดว่า ภายในปี 2027 งานในภาคธุรกิจกว่าร้อยละ 42 จะถูกทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติ และจะนำไปสู่การเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก แรงงานจึงต้องปรับตัวให้ทันเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
      ทักษะที่จำเป็นต่อการปรับตัว คือ ทักษะหลัก (Core Skill)  ในด้านการคิด วิเคราะห์ (Analytical Thinking) และทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)  ขณะที่ทักษะด้านความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Technological Literacy) เป็นทักษะที่มี ความสำคัญมากขึ้นเป็นอันดับที่ 3 
     จาการสำรวจความเห็นผู้บริหารในไทยกว่าร้อยละ 74 ไม่ต้องการจ้างพนักงานที่ไม่มีทักษะ ทางด้าน AI และกว่าร้อยละ 90 เลือกที่จะจ้างพนักงานที่มีประสบการณ์น้อยแต่มีทักษะด้านการใช้ AI แทนการเลือกพนักงานที่มีประสบการณ์สูงกว่าแต่ขาดทักษะในด้านนี้

     2. ผลกระทบของการขาดสภาพคล่องของ SMEs และปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นต่อการจ้างงาน  SMEs เป็นกลุ่มธุรกิจที่รองรับแรงงานไว้มาก และในปี 2566 มีสัดส่วน GDP ถึงร้อยละ 35.2 แต่ ปัจจุบัน SMEs กำลังประสบปัญหาด้านสภาพคล่อง สะท้อนจากสัดส่วนหนี้เสีย (NPLs) ต่อสินเชื่อรวมของ SMEs ในไตรมาสสี่ ปี 2566 ที่อยู่ที่ร้อยละ 7.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.6 ในไตรมาสหนึ่ง ปี 25623 โดยเป็นผลมาจาก
  • กำลังซื้อภายในประเทศที่ชะลอตัวลงเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ
  • ระดับหนี้ครัวเรือน ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย
  • สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจมากขึ้น
  • การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังส่งผลต่อต้นทุนและเป็นข้อจำกัดในการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจ
  • นอกจากนี้ โดยดัชนีต้นทุนของธุรกิจรายย่อย (Micro) และธุรกิจขนาดกลาง (Medium) ในปี 2566 เพิ่มขึ้น ทำให้ SMEs ทำกำไรได้ลดลง

      สถานการณ์เช่นนี้อาจส่งผลต่อเนื่องไปสู่การเลิกจ้าง แรงงาน SMEs ได้ จึงอาจต้องมีการดำเนินนโยบายที่สามารถสร้างกำลังซื้อได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการควบคุมต้นทุน ด้านต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการโดยเฉพาะด้านการเงินให้แก่ SMEs


     3. ผลกระทบของอุทกภัยต่อผลผลิตทางการเกษตรและรายได้ของเกษตรกร  สถานการณ์อุทกภัยระหว่างวันที่ 16 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2567 มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบด้านการเกษตรจ านวน 15 จังหวัด ครอบคลุม เกษตรกร 47,944 ราย รวมพื้นที่ 308,238 ไร่ ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ยังได้คาดการณ์ว่าในช่วงกลางเดือน กรกฎาคม – กันยายน 2567 ประเทศไทยอาจมีน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่  เป็นความเสี่ยงที่พื้นที่การเกษตรจะได้รับความเสียหาย โดยจะส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกร รวมถึงต้นทุนในการลงทุนเพาะปลูกใหม่ และอาจกระทบต่อเนื่อง ไปถึงความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกร หน่วยงานจึงต้องมีการเตรียมพร้อมมาตรการป้องกันและบรรเทา สถานการณ์อุทกภัยทั้งที่กำลังเกิดขึ้นและที่จะเกิดในอนาคต 

หนี้สินครัวเรือน

    ในไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 หนี้สินครัวเรือนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทำให้สัดส่วนหนี้สิน ครัวเรือนต่อ GDP ปรับลดลง เช่นเดียวกับความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน ปรับลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ การเร่งปรับโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้บัตรเครดิตที่เริ่มมีปัญหาการชำระหนี้คืน และการกู้นอกระบบที่หลากหลาย และเข้าถึงง่ายอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัว 
  • สถานการณ์หนี้สินครัวเรือนชะลอลง โดย หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 16.37 ล้านล้านบาท ขยายตัวชะลอลง
  • สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 90.8 ลดลงจากร้อยละ 91.4 ของไตรมาสก่อน
  • หนี้ครัวเรือนขยายตัวชะลอลงเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากครัวเรือนมีภาระหนี้ ในระดับสูง และคุณภาพสินเชื่อที่ปรับลดลง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อแก่ครัวเรือน จำแนกได้เป็น 
       • สินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ขยายชะลอลง
       • สินเชื่อเพื่อยานยนต์ ยังคงหดตัวเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน
       • กลุ่มสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลอื่น ทั้งสินเชื่อ ส่วนบุคคล สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การก ากับ และสินเชื่อบัตรเครดิต ขยายตัวชะลอลง
       • สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
  • คุณภาพสินเชื่อของครัวเรือนปรับลดลงต่อเนื่อง โดยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 มูลค่าหนี้เพื่อการอุปโภค บริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของธนาคารพาณิชย์ 1.63 แสนล้านบาท  เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ห้า ติดต่อกัน และสัดส่วนดังกล่าวยังปรับเพิ่มขึ้นในสินเชื่อทุกวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะสินเชื่อบัตรเครดิตที่มีสัดส่วนหนี้เสีย ต่อสินเชื่อรวมสูงกว่าสินเชื่อประเภทอื่น


           ประเด็นหนี้สินครัวเรือนที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่

           1. การเร่งปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้บัตรเครดิตที่เริ่มมีปัญหาการชำระหนี้คืน หลังจากธนาคาร แห่งประเทศไทยมีการปรับอัตราการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 8 นับตั้งแต่รอบบัญชี เดือนมกราคม ปี 2567 ทำให้ลูกหนี้มียอดผ่อนชำระในแต่ละงวดเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะเป็นหนึ่งในนโยบายการแก้ไข ปัญหาหนี้ครัวเรือน แต่ส่งผลให้ลูกหนี้บางส่วนไม่สามารถปรับตัวและมีปัญหาในการชำระคืน สะท้อนจากหนี้เสียและหนี้ที่มีค้างชำระ 1 - 3 เดือน (SMLs) ของสินเชื่อบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาสหนี่ง ปี 2567 โดยสัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่ร้อยละ 4.13 จากร้อยละ 3.57 ของไตรมาสที่ผ่านมา เช่นเดียวกับสัดส่วน หนี้ SMLs ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.25 จากร้อยละ 4.22 อีกทั้ง จากข้อมูลเครดิตบูโร ยังพบว่า ในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวนบัญชีบัตรเครดิตที่เริ่มมีสถานะผิดนัดการชำระหนี้ (1 - 3 เดือน) ยังเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.1 จากร้อยละ 1.1 ของไตรมาสก่อน ดังนั้น สถาบันการเงินจึงอาจต้องเร่งปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้บัตรเครดิต ที่เริ่มผ่อนชำระไม่ไหว รวมถึงลูกหนี้เองก็ควรรีบติดต่อหรือขอคำปรึกษาสถาบันการเงิน ทั้งก่อนที่จะเป็นหนี้เสีย และหลังเป็นหนี้เสีย

           2. รูปแบบการให้กู้ยืมนอกระบบที่หลากหลาย อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัวได้ง่าย ปัจจุบันมักพบเห็นการให้กู้ยืมนอกระบบผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการผ่อนไปใช้ไป หรือ ผ่อนครบรับของ เช่น ผ่อนบัตรคอนเสิร์ตผ่านร้านรับกดบัตรในแอปพลิเคชัน X ผ่อนเครื่องสำอางในแอปพลิเคชัน Line ผ่อนอุปกรณ์ไอที หรือสินค้าแบรนด์เนม ผ่าน Facebook หรือ Instagram ไปจนถึงสัตว์เลี้ยง ทั้งสุนัขหรือแมว ใน TikTok และยังครอบคลุมไปถึงอาร์ตทอยที่กำลังได้รับความนิยม อาทิ ตุ๊กตาลาบูบู้ ครายเบบี้ ซึ่งธุรกิจ การผ่อนรูปแบบนี้เข้าถึงได้ง่าย และส่วนใหญ่ใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียว ทั้งนี้ ช่องทางการกู้ยืมนอกระบบข้างต้น ที่เพิ่มขึ้นและเงื่อนไขการกู้ที่เอื้อต่อการเข้าถึงสินเชื่อได้ง่าย อาจนำไปสู่พฤติกรรมการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและความเคยชินในการก่อหนี้ รวมถึงมีความเสี่ยงการมีหนี้สินพ้นตัวจากอัตราดอกเบี้ยนอกระบบที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กรุ่นใหม

สุขภาพและการเจ็บป่วย

      ผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังในไตรมาสสองเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเพิ่มขึ้น ของผู้ป่วยด้วยโรคที่มากับฤดูฝน นอกจากนี้ ยังต้องให้ความสำคัญกับการเจ็บป่วย ด้วยโรคหอบหืดที่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และการแพร่ระบาดของโรคไข้มาลาเรีย รวมทั้ง โรคหลอดเลือดสมองที่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น
  • ไตรมาสสอง ปี 2567 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 72.1 จาก 117,952 ราย เป็น 202,879 ราย
  • ผู้ป่วยโรคที่มากับ ฤดูฝน โดยโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด 2 ลำดับแรก ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดอักเสบ
  • ผู้ป่วยด้วยโรค ไข้หวัดใหญ่มีจ านวนสูงสุด 99,895 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 3.8 เท่า
  • ปี 2567 โรคไข้หวัดใหญ่เริ่มมีการระบาดตั้งแต่ไตรมาสหนึ่ง และมีแนวโน้มจะระบาดต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤศจิกายน จากข้อมูลของกองระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 1 สิงหาคม 2567 พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 290,396 ราย มีกรณีเสียชีวิต 20 ราย โดยพบการระบาดเป็นกลุ่มในสถานที่ที่คนอยู่รวมกันจำนวนมาก เช่น โรงเรียน เรือนจำ และ วัด ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กเล็กและกลุ่มวัยเรียน อายุแรกเกิด - 4 ปี และอายุ 5 - 14 ปี และพบผู้ป่วยสูงสุด ในพื้นที่ภาคกลาง รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
  • สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของคนไทยดีขึ้น จากข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตของคนไทย (Mental Health Check In: MHCI) พบว่า ในไตรมาสสอง ปี 2567 ซึ่งมีผู้เข้ารับการประเมินจำนวน 3.3 แสนคน พบว่า ลดลงในทุกกลุ่ม ตั้งแต่ กลุ่มผู้ที่เสี่ยงซึมเศร้า  ผู้ที่มีความเครียดสูง และเสี่ยงฆ่าตัวตาย

 

          สำหรับประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ คือ

          1. การเจ็บป่วยด้วยโรคหอบหืดที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก รายงานว่าปี 2564 พบผู้ป่วยโรคหอบหืดทั่วโลกประมาณ 262 ล้านราย และมีการเสียชีวิตราว 461,000 รายต่อปี ซึ่งกรณีของประเทศไทยจากข้อมูล Health Data Center ของกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (1 ตุลาคม 2566 - 1 สิงหาคม 2567) คนไทยป่วยด้วยโรคหอบหืด 555,651 ราย เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่มีผู้ป่วย 452,331 ราย และมีผู้ป่วยที่มีอาการโรคหอบหืดกำเริบเฉียบพลันต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพิ่มขึ้นเป็น 56,209 ราย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จากเดิม 51,664 ราย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เช่นเดียวกับจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคหอบหืดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
         ทั้งนี้ สาเหตุการเกิดโรคและปัจจัยที่ก่อให้เกิด การกระตุ้นอาการหอบหืดเฉียบพลัน ประกอบด้วย1) พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหอบหืด 2) สารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นควัน เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ มลพิษทางอากาศ และอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 3) การติดเชื้อทางเดินหายใจ และ 4) ภาวะอ้วน
         การป้องกันและดูแลรักษาโรคหอบหืด ได้แก่ 1) หมั่นทำความสะอาดบ้าน โดยเฉพาะห้องนอน ห้องทำงาน รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ พัดลม เครื่องปรับอากาศ และ 2) เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
         นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคหอบหืดต้องปรับพฤติกรรมสุขภาพ ดังนี้ 1) งดดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ 2) พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงภาวะเครียด 3) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์  4) ออกก าลังกายตามคำแนะนำของแพทย์อย่างถูกต้อง และ 5) ควรใช้ยารักษาอาการหอบหืดอย่างสม่ำเสมอ โดยผู้ป่วยและครอบครัวควรมียาพ่นบรรเทาอาการพกติดตัวไว้เพื่อใช้ได้ทันท่วงทีเมื่อมีอาการหอบหืดกำเริบ ซึ่งโรคหอบหืดเป็นโรคที่ยังรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถควบคุมโรคได้

          2. การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้มาลาเรีย ปัญหาโรคไข้มาลาเรียยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญในประเทศไทย จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค ปี 2566 พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียจำนวน 16,200 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีจำนวน 10,061 ราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.1 และระบาดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2565 ทั้งนี้ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 1 สิงหาคม 2567 พบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียแล้ว 10,627 ราย ใน 63 จังหวัด โดยพบ ผู้ป่วยสูงสุดในพื้นที่จังหวัดตาก 6,597 ราย รองลงมา ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี 1,524 ราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 1,417 ราย และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1,267 ราย ตามลำดับ ขณะเดียวกัน ยังพบด้วยว่า จังหวัดที่ถูกประกาศ รับรองเป็นจังหวัดปลอดโรคไข้มาลาเรีย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสตูล และ จังหวัดเลย กลับมาพบผู้ป่วยติดเชื้อในพื้นที่ ทั้งนี้ โรคไข้มาลาเรียมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค มีความชุกชุม ตามบริเวณที่เป็นป่าเขา สวนยางพารา แหล่งน้ าธรรมชาติ หากประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว หรือนักท่องเที่ยว ผู้เดินทางไปพักค้างคืนในพื้นที่ป่าเขาถูกยุงกัดเมื่อป่วยจะมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ควรรีบไปพบ แพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อพร้อมแจ้งประวัติการเข้าป่าหรืออยู่ในพื้นที่ระบาดของโรคไข้มาลาเรียให้แพทย์ทราบ 

          3. โรคหลอดเลือดสมองมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น องค์การโรคหลอดเลือดสมองโลก (World Stroke Organization: WSO) รายงานว่าปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลกมากกว่า 101 ล้านราย เสียชีวิต ประมาณ 6.5 ล้านรายต่อปี สำหรับประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ในแต่ละปี จะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง จากข้อมูล Health Data Center ของกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (1 ตุลาคม 2566 – 1 สิงหาคม 2567) พบว่า คนไทยป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 355,213 ราย เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่มีผู้ป่วย 350,934 ราย และจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีจำนวน 47,275 ราย เพิ่มขึ้นมากสุดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563 - 2566) สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (1 ตุลาคม 2566 – 1 สิงหาคม 2567) พบผู้เสียชีวิตแล้ว 35,116 ราย ซึ่งในกลุ่มอายุ 18 – 39 ปี มีจำนวนผู้ป่วยขยายตัว เพิ่มขึ้นมากที่สุด
        ทั้งนี้ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง การออก กำลังกายไม่เพียงพอ การบริโภคอาหารไม่เหมาะสม ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอ้วน และภาวะเครียด
      การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเป็นวิธีที่ดี ที่สุดในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ทำได้โดย 1) การควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด และควบคุมน้ าหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม 2) รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม 3) ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ 4) งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ และงดใช้สารเสพติดทุกชนิด 5) หลีกเลี่ยงความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ และ 6) ตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
        นอกจากนี้ ควรสังเกตอาการตนเอง ตามหลักการ B.E.F.A.S.T ดังนี้ B (Balance) เดินเซ เวียนศีรษะบ้านหมุนฉับพลัน E (Eye) ตามัว มองเห็นภาพซ้อน ฉับพลัน F (Face) ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยวเฉียบพลัน A (Arm) แขน ขา อ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก S (Speech) พูดไม่ชัด เสียงเปลี่ยน ลิ้นแข็ง พูดไม่รู้เรื่อง พูดไม่ออกทันทีทันใด T (Time) หากมีอาการให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว หากไปพบแพทย์ช้า อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรืออาจจะกลายเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้ไม่สามารถ ช่วยเหลือตนเองได้

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่

         การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ไตรมาสสอง ปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยต้องให้ความสำคัญกับการตอบสนองต่อสื่อประชาสัมพันธ์ในการงดเหล้าของเด็กและ เยาวชนที่ลดลง และการเพิ่มขึ้นของการลักลอบนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า 
  • ไตรมาสสอง ปี 2567 การบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์และบุหรี่ ภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.0 โดยเป็นการบริโภคแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ขณะที่การบริโภคบุหรี่ ลดลงร้อยละ 1.9 จากการท่องเที่ยวช่วงเทศกาล ทั้งนักท่องเที่ยว ในประเทศและต่างประเทศ

          ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ คือ 

         1. เด็กและเยาวชนไม่ตระหนักถึง สื่อประชาสัมพันธ์งดการดื่มแอลกอฮอล์ จาก รายงานโครงการประเมินผลการรณรงค์ “งดเหล้า เข้าพรรษา ปี 2566” พบว่า นักดื่มเยาวชนอายุระหว่าง 15 - 19 ปี บริโภคแอลกอฮอล์มีจำนวน 1.2 ล้านคน เพิ่มขึ้น ประมาณ 2 แสนคน จากปี 2565 ที่มีจำนวน 1.0 ล้านคน ทั้งที่มีการประชาสัมพันธ์โครงการงดเหล้าเข้าพรรษาทุกปี ชี้ให้เห็นว่าเด็กมีการรับรู้หรือตอบสนองต่อสื่อประชาสัมพันธ์ลดลง ซึ่งงานศึกษาในประเทศออสเตรเลีย พบว่า การรณรงค์ให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสามารถลดการดื่มแอลกอฮอล์ และเพิ่มการตระหนักรู้เกี่ยวกับอันตราย ของการดื่มแอลกอฮอล์ได้ ขณะเดียวกัน จากรายงานของ YSDN (Youth Strong & Development Network)14 ปี 2567 โดย ข้อมูลการสำรวจเยาวชนที่อายุระหว่าง 12 – 15 ปี จำนวน 10,078 คน ยังพบด้วยว่า เด็กไทยมีค่านิยมทางสังคมที่มองว่า การดื่มในงานบุญประเพณีและในที่สาธารณะเป็นเรื่องปกติ และอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การประชาสัมพันธ์ให้มี การงดเหล้าไม่ประสบผลสำเร็จ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างทัศนคติที่ถูกต้องให้กับเด็ก รวมถึงปรับปรุงแนวทางการรณรงค์ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึง การบังคับใช้กฎหมายกับร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องดื่มให้เด็กที่มีอายุต่ ากว่า 20 ปี

          2. การเพิ่มขึ้นของการลักลอบนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า จากรายงานของกรมศุลกากร ปี 2566 พบว่า กรมศุลกากรสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดลักลอบนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ บุหรี่ไฟฟ้าจำนวน 516,324 ชิ้น มูลค่ารวมถึง 95.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีจำนวน 54,439 ชิ้น มูลค่ารวม 8.8 ล้านบาท สะท้อนการขยายตัวของตลาดบุหรี่ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จากการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา15 ปี 2566 พบว่า คนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีโอกาสที่จะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดสูงกว่าคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ไฟฟ้า แม้ว่าอายุยังน้อย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าระวังสถานการณ์ การลักลอบนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าจากต่างประเทศอย่างจริงจัง รวมถึงดำเนินการตรวจสอบจับกุมร้านค้าที่ลักลอบขาย บุหรี่ไฟฟ้า ทั้งจากช่องทางออนไลน์ และร้านค้าภายในประเทศ รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า



ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

  ไตรมาสสอง ปี 2567 คดีอาญารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งจากคดียาเสพติด คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ และคดีชีวิต ร่างกาย และเพศ ในส่วนการรับแจ้งอุบัติเหตุทางถนน พบผู้ประสบภัยสะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 โดยประเด็นที่ต้องให้ความส าคัญ ได้แก่ การละเมิด สิทธิเด็กและเยาวชน การเฝ้าระวังการเล่นพนันกีฬา และความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ จากการก่อสร้างงานสาธารณะ 
  • คดีอาญาในไตรมาสสอง ปี 2567 มีการรับแจ้งทั้งหมดจำนวน 112,921 คดี เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน ของปี 2566 ร้อยละ 26.7 โดยเป็น
         • การรับแจ้งคดียาเสพติด จำนวน 91,014 คดี เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9
         • คดีประทุษร้าย ต่อทรัพย์ จ านวน 17,007 คดี เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3
         • คดีชีวิต ร่างกาย และเพศ จำนวน 4,900 คดี เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3
  • ด้านการรับแจ้งอุบัติเหตุทางถนน จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรม ความปลอดภัยทางถนน (THAI RSC) ไตรมาสอง ปี 2567 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567) มีการรับแจ้งอุบัติเหตุ ผู้ประสบภัยสะสมรวมจำนวน 201,049 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นผู้บาดเจ็บ สะสมจำนวน 197,736 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ขณะที่ผู้เสียชีวิตสะสมจำนวน 3,272 ราย ลดลงร้อยละ 7.8 และผู้ทุพพลภาพสะสมจำนวน 41 ราย ลดลงร้อยละ 8.9 โดยประเภทยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 90.4 รองลงมาเป็นรถยนต์ ร้อยละ 9.6 และเมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ผู้ประสบภัย ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 30.4 อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 36 – 60 ปี 


           ประเด็นความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่

           1. การละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนโดยบุคลากรในสถานศึกษา จากข้อมูลความไม่ปลอดภัย ของนักเรียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในปี 2566 พบกรณีความไม่ปลอดภัยของนักเรียน จำนวน 2,618 กรณี ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 8.6 เป็นภัยจากการถูกละเมิดสิทธิ อาทิ การลงโทษ นักเรียนเกินกว่าเหตุสมควร บุคลากรครูมีความประพฤติไม่เหมาะสม
          นอกจากนี้ ปัจจุบันยังพบกรณีการเผยแพร่ วิดีโอหรือรูปภาพเด็กและเยาวชน จากพฤติกรรมของบุคลากรครูที่มีการผลิตเนื้อหา (Content) ของตนเองกับ นักเรียนในสถานศึกษา ซึ่งสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 
          1) พฤติกรรมประจำวันในโรงเรียน อาทิ การร้องเพลง การรับประทานข้าว/ขนม
           2) เนื้อหาการเรียน อาทิ การเขียนคำตอบผิดหรือตลก ผลการเรียน และ
          3) พฤติกรรมเชิงลบ อาทิ การทะเลาะรังแก การร้องไห้ (คณาธิป ทองรวีวงศ์, 2567) ซึ่งทำการเผยแพร่ลงบนสื่อโซเชียลมิเดีย (Social Media) โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองและ นักเรียนก่อน ถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) และอาจเข้าข่าย มีความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 หากการเผยแพร่ เนื้อหาวิดีโอหรือรูปภาพของนักเรียนนั้น เป็นการเพิ่มจำนวน ผู้ติดตามและการแสวงหาผลประโยชน์จากการรับโฆษณาสินค้า บนออนไลน์ ทั้งนี้ การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ ชื่อ - นามสกุล ที่อยู่ และชื่อโรงเรียน ยังอาจทำให้เด็กและ เยาวชนเสี่ยงต่อการตกอยู่ในอันตรายจากการถูกคุกคามทางเพศบนออนไลน์หรือการถูกล่อลวงลักพาตัวจากผู้ไม่หวังดี หรือมิจฉาชีพ อีกทั้ง ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องยังอาจกลายเป็น Digital footprint ที่ส่งผลกระทบสร้างความเสียหาย กับเด็กต่อไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ในอนาคต

             2. การเฝ้าระวังการเล่นพนันกีฬา โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลที่มีฤดูการแข่งขันตลอดทั้งปี โดยข้อมูลของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในไตรมาสสอง ปี 2567 พบการเล่นพนันกีฬาฟุตบอล จำนวน 2,391 คดี เพิ่มขึ้นสูงจาก ไตรมาสก่อนหน้าถึงร้อยละ 449.718 สะท้อนได้จากช่วงการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 17 (UEFA European Football Championship 2024: EURO 2024)19 ซึ่งมีผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 รวมทั้งสิ้นจำนวน 4,078 คน แบ่งเป็นผู้เล่นจำนวน 3,842 คน ผู้จัดให้เล่น (เจ้ามือ) จำนวน 203 คน และผู้เดินโพย จำนวน 33 คน ทั้งในรูปแบบบ่อนพนันและเว็บไซต์พนันออนไลน์จำนวน 224 เว็บไซต์
          ขณะเดียวกัน จากผลการสำรวจเรื่องพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงการแข่งขันฟุตบอล EURO 2024 ของมหาวิทยาลัย หอการค้าไทย ในปี 2567 ยังพบมูลค่าการใช้จ่ายนอกระบบเศรษฐกิจ (การพนันฟุตบอล) จำนวนกว่า 67,044 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 46.3 จากรอบการแข่งขัน ปี 2562 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุจูงใจในการเล่นพนัน พบว่า ร้อยละ 44.7 คาดหวังเงินรางวัล รองลงมา ร้อยละ 47.1 เพื่อความสนุกสนาน ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 51.8 มีแหล่งที่มาของเงินในการเล่นพนันมาจากเงินเดือนประจำ/รายได้ปกติ รองลงมา ร้อยละ 38.7 มาจากเงินออม อาจส่งผลกระทบ ก่อให้เกิดปัญหาหลากหลายด้าน อาทิ ปัญหาการเงินหรือการก่อหนี้สิน ปัญหาความเครียดและความวิตกกังวล และ ปัญหาสุขภาพร่างกายจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงปัญหาอาชญากรรม

               3. ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการก่อสร้างงานสาธารณะ โดยในระหว่างปี 2561 - 256621 พบการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนสะสมจากการก่อสร้างทางสาธารณะขนาดใหญ่หลายโครงการรวมกันจำนวนกว่า 2,249 ครั้ง โดยมีผู้บาดเจ็บจำนวน 1,327 ราย และผู้เสียชีวิตจำนวน 134 ราย ซึ่งมีแนวโน้มเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุสำคัญ อาทิ วัสดุก่อสร้างร่วงหล่นทับ รถยนต์ตกร่องถนนที่กำลัง ก่อสร้างเนื่องจากไม่มีป้ายแจ้งเตือน ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน
             ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการยกระดับมาตรการป้องกันและความปลอดภัยจากการก่อสร้าง โดยเฉพาะ การตรวจสอบวัสดุ เครื่องจักรกล เศษชิ้นส่วน ให้ยึดเกาะกับส่วนวัสดุที่มั่นคงได้มาตรฐาน รวมถึงสนับสนุนการมี ส่วนร่วมในกระบวนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินการทำงานของผู้รับจ้างก่อสร้างอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้าง ความปลอดภัยและความมั่นใจแก่ผู้สัญจรใช้รถบนท้องถนนมากยิ่งขึ้น

การคุ้มครองผู้บริโภค

        ไตรมาสสอง ปี 2567 การร้องเรียนผ่าน สคบ. และสำนักงาน กสทช. ลดลงร้อยละ 26.5 และ 8.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามและให้ความสำคัญกับประเด็น การเคลมสินค้าที่บังคับผู้บริโภคจะต้องถ่ายวิดีโอขณะเปิดพัสดุฝ่ายเดียว ตลอดจน ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจมาจากการใช้บริการจำนำ iCloud
  • การรับร้องเรียนสินค้าและบริการในไตรมาสสอง ปี 2567 ของ สคบ. มีจ านวน 5,517 เรื่อง ลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 26.5 โดยประเด็นด้านขายตรงและตลาดแบบตรง22 มีการร้องเรียนเข้ามามากที่สุด รองลงมาเป็น ด้านฉลาก ด้านสัญญา และด้านโฆษณา ตามลำดับ ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าและบริการที่ได้รับร้องเรียนสูงสุด คือ สินค้า ออนไลน์ 2,022 เรื่อง ส่วนใหญ่มาจากการขอเงินคืนและการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากร้านค้า รองลงมาเป็นสินค้า กลุ่มรถยนต์ 395 เรื่อง โดยการร้องเรียนส่วนมากเป็นเรื่องการชำรุด
  • ขณะที่การร้องเรียนในกิจการโทรคมนาคมของสำนักงาน กสทช. มีการร้องเรียนทั้งสิ้น 340 เรื่อง ลดลง จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.4 โดยด้านที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดยังคงเป็นด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่  จำนวน 228 เรื่อง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตามประเด็นปัญหา พบว่า ส่วนใหญ่มาจากการให้บริการ อาทิ การให้บริการ ที่ไม่เป็นไปตามโฆษณา การถูกเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการให้บริการโดยไม่ได้รับความยินยอมหรือไม่แจ้งให้ทราบ ล่วงหน้า รองลงมาเป็นคุณภาพสัญญาณ และการไม่สามารถยกเลิกบริการได้หรือยกเลิกได้แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียม อย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น

       ประเด็นที่ต้องติดตามและให้ความสำคัญ ดังนี้  

       1. การผลักภาระให้กับผู้บริโภคกรณีซื้อสินค้าออนไลน์ที่ผู้ซื้อต้องถ่าย วิดีโอขณะเปิดพัสดุ จากสถิติร้องทุกข์ของสภาองค์กรของผู้บริโภค ปี 2567 พบว่า กว่าร้อยละ 42.4 ของเรื่องร้องเรียนด้านสินค้าและบริการทั่วไป เป็นปัญหาจาก การซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งมีการร้องเรียนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับสินค้าประเภทอื่น โดยมี มูลค่าความเสียหายอยู่ที่ 27.8 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2567) ทั้งนี้ หนึ่งในปัญหาที่ผู้บริโภคต้องเผชิญ คือ ปัญหาสินค้าชำรุด/ไม่ตรงปก/ไม่มีคุณภาพ ซึ่งร้านค้ามักไม่รับผิดชอบหากผู้บริโภคไม่มีคลิปวิดีโอขณะเปิดพัสดุ ตลอดจนมีการเก็บค่าบริการเพิ่มเติม ทั้งที่สินค้า ดังกล่าวอาจชำรุด/เสียหายก่อนถึงมือผู้บริโภค โดยปัจจุบัน สคบ. ได้ออก ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าโดยเรียกเก็บเงินปลายทางเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2567 หรือที่เรียกว่า “มาตรการส่งดี” (Dee-Delivery) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อคุ้มครองการซื้อสินค้าแบบเก็บเงินปลายทางให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น โดยผู้บริโภคสามารถเปิดดูสินค้าก่อนชำระเงิน และสามารถขอคืนสินค้า/ขอเงินคืนได้ หากสินค้าชำรุด/เสียหาย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสินค้าไม่ตรงปก ตลอดจนการหลอกลวงที่มาในรูปแบบเรียกเก็บปลายทางได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวครอบคลุม เฉพาะกรณีเก็บเงินปลายทางที่เป็นขนส่งของเอกชนเท่านั้น และไม่รวมถึงช่องทางการชำระเงินแบบอื่นที่ต้องชำระก่อนตั้งแต่มีการสั่งสินค้า ดังนั้น ผู้บริโภคควรพิจารณาเลือกซื้อสินค้าจากร้านที่มีความน่าเชื่อถือ โดยหากสินค้ามีมูลค่าสูงอาจเลือกชำระแบบปลายทาง ขณะเดียวกัน ร้านค้าเองอาจต้องมีการบันทึกหลักฐานการบรรจุสินค้า เช่นกันเพื่อการป้องกันการเคลมสินค้าที่ไม่เป็นธรรมและเพื่อไม่เป็นการผลักภาระมาที่ผู้บริโภคฝ่ายเดียว ทั้งนี้ หากไม่สามารถหาข้อยุติได้สามารถยื่นเรื่องมาที่สายด่วน สคบ. 1166

       2. ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลจากการใช้บริการจำนำ iCloud ซึ่งเป็นบริการกู้ยืมเงินนอกระบบที่กำลังได้รับความนิยมในโลกออนไลน์ โดยผู้ใช้บริการ ไม่ต้องฝากเครื่องไว้กับผู้ให้บริการ เพียงแค่ยืนยันตัวตนด้วยบัตรประจำตัวประชาชน และนำบัญชี iCloud ของผู้ให้บริการมาใส่ไว้ในเครื่องเพื่อเป็นการค้ำประกัน ซึ่งผู้ให้บริการ สามารถล็อกเครื่องและเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลผ่านบัญชี iCloud ที่ลงชื่อเข้าใช้ไว้ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่ตั้ง รูปภาพ วิดีโอ เบอร์โทรศัพท์ หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่มีการบันทึกไว้ภายหลังการจำนำ ซึ่งอาจถูกนำไปใช้ในการหลอกลวง เอาเปรียบ หรือ หาผลประโยชน์อื่นได้ เช่น ให้ลงชื่อเข้าใช้บัญชี iCloud ของผู้ให้บริการก่อน แต่ไม่ยอมให้เงิน หรือจ่ายคืนครบแล้ว แต่ยังมีการล็อกเครื่องเพื่อเรียกค่าไถ่ในการปลดล็อกต่อไป นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการยังเสี่ยงต้องจ่ายดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยอัตราดอกเบี้ยของบริการจำนำ iCloud ส่วนใหญ่อยู่ที่ร้อยละ 7–25 ต่อเดือน สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยการทำสัญญาเงินกู้โดยทั่วไปตามกฎหมายที่อยู่ที่ร้อยละ 7.5–15 ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 1.25 ต่อเดือน เท่านั้น ดังนั้น ประชาชนควรหลีกเลี่ยงการใช้บริการรูปแบบดังกล่าว ซึ่งมีความเสี่ยงถูกหลอกลวงหรือเอาเปรียบได้ 


    อ่านเพิ่มเติม 4 ประเด็นสำคัญ ที่รายงานรอบนี้นำเสนอ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด