ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คลินิกโรคจากการทำงาน โรงพยาบาลระยอง

คลินิกโรคจากการทำงาน โรงพยาบาลระยอง Thumb HealthServ.net
คลินิกโรคจากการทำงาน โรงพยาบาลระยอง ThumbMobile HealthServ.net

คลินิกอาชีวเวชกรรม หรือ คลินิกโรคจากการทำงาน โรงพยาบาลระยอง เปิดบริการ จันทร์–ศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น.


คลินิกอาชีวเวชกรรม หรือ คลินิกโรคจากการทำงาน โรงพยาบาลระยอง
 
1.คลินิกอาชีวเวชกรรม(คลินิกโรคจากการทำงาน)
 
  • ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม
  •  ตรวจสุขภาพก่อนจ้างงาน (Pre-employment examination)
  • ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน (Pre-placement examination)
  • ตรวจสุขภาพประจำปี (Annually health examination)
  • ตรวจประเมินความพร้อมในการทำงาน (Fitness for work examination)
  • ตรวจสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงาน (Return to work examination)
 
2. ประเมินสมรรถภาพคนทำงานโดยการตรวจพิเศษด้วยเครื่องมือทางอาชีวเวชศาสตร์
ได้แก่ สมรรถภาพการได้ยิน สมรรถภาพการมองเห็น และสมรรถภาพปอด โดยพยาบาลอาชีวอนามัย
 
 
 


งานเวชกรรมสิ่งแวดล้อม คลินิกอาชีวเวชกรรม  โรงพยาบาลระยอง
  • ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมของประชาชนในพื้นที่เสี่ยง
  • ออกแบบและพัฒนาระบบเฝ้าระวังสุขภาพตามความเสี่ยงของชุมชน
  • จัดบริการเฝ้าระวังสุขภาพ ตรวจสุขภาพทั้งเชิงรุกละเชิงรับ
  • สื่อสารความเสี่ยงต่อสุขภาพให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยง
  • สร้างภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม
  • สอบสวนโรคจากสิ่งแวดล้อมทั้งเชิงรุกและเชิงรับ
  • ให้ความเห็นด้านวิชาการในกระบวนการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (EHIA)
  • จัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลความเสี่ยงและข้อมูลสุขภาพ
 

บริการของคลินิกโรคจากการทำงาน โรงพยาบาลระยอง

บริการตรวจสุขภาพ
3 ประเภท ได้แก่
 • ตรวจสุขภาพแรงงานข้ามชาติ
 • ตรวจสุขภาพในโรงพยาบาล
 • ตรวจสุขภาพเคลื่อนที่
  
 
สร้างเสริมสุขภาพ
 • ประเมินความสามารถในการทำงาน
 • ประเมินก่อนกลับเข้าทำงาน
 • สร้างเสริมสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงาน


วินิจฉัยโรคจากการทำงาน
    การเตรียมตัวก่อนมาวินิจฉัยโรคจากการทำงาน
    1.ข้อมูลประวัติการเจ็บป่วยที่ได้รับการรักษา (โรงพยาบาลอื่น)
    2.ข้อมูลลักษณะงานที่สงสัยว่าทำให้เกิดโรคจากการทำงาน (ภาพถ่ายหรือวีดีโอ)
    3.ข้อมูลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม
    4.บริษัทเขียนใบส่งตัว กท.44
    5.เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยหรือหัวหน้างาน มาพร้อมกับพนักงานด้วย


การเดินสำรวจสถานประกอบการ
 • ประเมินความเสี่ยง/ สอบสวนโรค/ จัดโปรแกรมตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง
 • สื่อสารความเสี่ยงแกนนำ/ประชาชน

บริการตรวจสุขภาพแรงงานข้ามชาติ

 

การตรวจสมรรถภาพปอด การได้ยิน การมองเห็น

การตรวจทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ 


การตรวจสมรรถภาพปอด (Lung function test หรือ Pulmonary function test)

ตรวจเพื่อดูความสามารถในการทำหน้าที่ของปอด เช่น ดูว่าปริมาตรและความจุของปอดเป็นปกติดีหรือไม่ อากาศสามารถผ่านเข้าและออกจากปอดได้ดีเพียงใด ปอดมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ดีเพียงใด

การเตรียมตัวก่อนตรวจ
  • สภาพร่างกายปกติ ในกรณีที่เคยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดหลอดลมอักเสบ ปอดบวม ต้องได้รับการรักษาหายมาแล้วอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และไม่อยู่ในระยะหลังการผ่าตัดใหม่ ๆ เช่น ผ่าตัดช่องอก ช่องท้อง เป็นต้น
  • ควรสวมใส่เสื่อผ้าที่สบาย ไม่รัดทรวงอกและท้อง
  • ห้ามออกกำลังกายอย่างหนักก่อนตรวจอย่างน้อย 30 นาที
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนตรวจอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  • หยุดสูบบุหรี่ก่อนตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจนอิ่มจัดก่อนตรวจอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  • หยุดใช้ยาขยายหลอดลมก่อนตรวจ
  • ถ้าใส่ฟันปลอมชนิดที่ถอดได้ ต้องถอดออก
 
 
การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry)
เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองและป้องกันโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดัง (Noise-induced hearing loss; NIHL)

การเตรียมตัวก่อนตรวจ
  • สภาพร่างกายปกติ ไม่เป็นไข้หวัดหรือหูอื้อ
  • หยุดรับฟังเสียงดัง ก่อนตรวจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ในทางปฏิบัติมักจะทำการตรวจในวันจันทร์ที่เป็นวันแรกของสัปดาห์การทำงาน เพื่อให้พนักงานได้หยุดรับฟังเสียงดังในวันหยุดประจำสัปดาห์
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังที่บ้าน
  • มาถึงห้องตรวจสมรรถภาพการได้ยินก่อนรับการตรวจอย่างน้อย 5 นาทีเพื่อป้องกันการหอบเหนื่อยขณะทำการตรวจ
  • ก่อนเข้าห้องตรวจให้ปิดโทรศัพท์มือถือ ถอดที่คาดผมตุ้มหูใหญ่ หรือแว่นตาออก (ถ้าสวมใส่อยู่)
 
 
 
การตรวจสมรรถภาพการมองเห็น (Vision test)
เป็นการตรวจคัดกรองโรคหรือความผิดปกติที่เกี่ยวกับการมองเห็นให้กับคนทำงาน และใช้ในการพิจารณาว่าคนทำงานนั้นมีความพร้อมในการทำงาน (Fitness to work)หรือไม่

การเตรียมตัวก่อนตรวจ
  • สภาพดวงตาไม่เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น เช่น ตาเจ็บตาแดง เป็นต้น
  • สายตาเมื่อยล้าหรือพร่ามัวจากงานที่กำลังทำอยู่
  • ผู้ที่สวมแว่นตาให้นำแว่นมาด้วยเพื่อทำการตรวจสอบแว่นตาที่ใช้อยู่ว่ามีความเหมาะสมกับการทำงานหรือไม่

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด