ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รพ.บำรุงราษฎร์ เปิด ศูนย์เต้านม มาตรฐานระดับนานาชาติขั้นสูง

รพ.บำรุงราษฎร์ เปิด ศูนย์เต้านม มาตรฐานระดับนานาชาติขั้นสูง Thumb HealthServ.net
รพ.บำรุงราษฎร์ เปิด ศูนย์เต้านม มาตรฐานระดับนานาชาติขั้นสูง ThumbMobile HealthServ.net

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกระบุว่าในปี 2563 มีผู้หญิง 2.3 ล้านคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม 684,996 คนทั่วโลก ขณะที่ประเทศไทย ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่ามีผู้เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในปี 2563 อยู่ที่ 39.8% สูงเป็นอันดับแรกของเพศหญิง ส่วนใหญ่จะมีอายุ 45-55 ปี ซึ่งอาการของโรค ส่วนใหญ่จะตรวจพบอยู่ในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ตามลำดับ

 
รศ.นพ. วิชัย วาสนสิริ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์เต้านม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวถึงความสำคัญที่ต้องใส่ใจและเข้าใจโรคมะเร็งเต้านมว่า  "จากสถิติต่างๆ จะเห็นได้ว่า เรายังคงต้องรณรงค์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญและตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมในวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากหากตรวจพบในระยะเริ่มต้น ก็มีโอกาสรักษาหายและอัตราการรอดชีวิตสูง"

 

สาเหตุและหลายปัจจัยเสี่ยง

รศ.นพ. วิชัย วาสนสิริ ให้ข้อมูลถึงสาเหตุของความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมว่า  มีหลายสาเหตุและปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยง ได้แก่
  • เมื่อมีอายุมากขึ้น ในวัย 40 ปีขึ้นไป
  • พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสัตว์สูงและสัตว์เนื้อแดง
  • การใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ทั้งโรคอ้วน สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ระยะเวลาที่ร่างกายสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน คือในผู้หญิงที่เริ่มมีรอบเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี
  • รับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่เคยได้รับรังสีบริเวณหน้าอกบ่อยๆ
  • มารดาที่มีบุตรคนแรกหลังอายุได้ 35 ปี
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น แม่ หรือพี่น้อง มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 40 ปี ก็ยิ่งมีแนวโน้มเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากยิ่งขึ้น
  • รวมถึงการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 ก็มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม


ซึ่งปัจจุบัน รพ.บำรุงราษฎร์ มีบริการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนได้
 
 
รพ.บำรุงราษฎร์ เปิด ศูนย์เต้านม มาตรฐานระดับนานาชาติขั้นสูง HealthServ
 

ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ล่าสุดในเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้เปิด "ศูนย์เต้านม" โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ซึ่งเป็นการยกระดับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการแพทย์ (Center of Excellence) ที่พร้อมให้บริการในทุกมิติ ทั้งการดูแลรักษาอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับปัญหาของเต้านมในเพศหญิงและเพศชาย


ศักยภาพของศูนย์เต้านมแห่งใหม่นี้ ครอบคลุมด้าน ตั้งแต่การป้องกัน การตรวจวินิจฉัยและการรักษาโดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญการและประสบการณ์ในการดูแลรักษาโรคทางเต้านมโดยเฉพาะ ครอบคลุมทุกการรักษา อาทิ
  • การผ่าตัดแบบสงวนเต้า
  • การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล (Sentinel lymph node biopsy)
  • การใช้ไอโซโทปรังสี (Radio isotope)
  • การใช้สารเรืองแสงเพื่อดูตำแหน่งของก้อนเนื้อ (ICG: Indocyanine green)
  • กำจัดเนื้องอกในเต้านมชนิดไม่ร้ายแรงด้วยความเย็นจัด (Ice cure) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางการแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา


ด้วยเทคนิควิธีและเทคโนโลยีที่พร้อมและหลากหลาย เหล่านี้ เพื่อเป้าหมายที่สำคัญคือ การต้องช่วยให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรักษา ด้วยความรู้ความชำนาญของบุคลากร เทคโนโลยีที่ทันสมัยและการบริการที่รวดเร็วไร้รอยต่อโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
 
 
 
 
รพ.บำรุงราษฎร์ เปิด ศูนย์เต้านม มาตรฐานระดับนานาชาติขั้นสูง HealthServ


หัวใจสำคัญของการรักษา

 การตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ ถือเป็นหัวใจสำคัญของโรคมะเร็งเต้านม เพราะจะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยเบื้องต้นสามารถตรวจคัดกรองได้หลายวิธี คือ

1. การคลำเต้านมด้วยตนเอง (BSE, Breast Self-Examination)
2. การตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรม (Mammogram)
3. การตรวจอัลตราซาวด์เต้านม สำหรับผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีคำแนะนำให้เข้ารับการตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี 
4. การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI) วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่ผลของแมมโมแกรมตรวจพบความผิดปกติ และต้องการตรวจหาเพื่อให้แน่ชัดยิ่งขึ้น


ปัจจุบันบำรุงราษฎร์ ได้มีการนำเทคโนโลยี AI Lunit มาใช้ร่วมกับการทำ Mammogram ช่วยให้รังสีแพทย์และแพทย์ผู้รักษา อ่านข้อมูลได้ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น และช่วยให้การวางแผนการรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด
 
 
 
รศ.นพ. วิชัย วาสนสิริ กล่าวปิดท้ายว่า "ปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมอยู่หลายประการ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วโรคมะเร็งเต้านมไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้หญิงเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นกับผู้ชายได้ ซึ่งมีโอกาสพบได้น้อยกว่า 1% โดยจะมีสาเหตุและอาการของโรคคล้ายกับมะเร็งเต้านมในผู้หญิง นอกจากนี้ ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเสี่ยงเท่าๆ กันไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของหน้าอก สำหรับเครื่องดื่ม เช่น นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ น้ำมันมะพร้าว ไม่ได้เพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งเต้านม ถึงแม้จะมีส่วนประกอบบางอย่างที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงก็ตาม รวมถึงการทำแมมโมแกรมก็ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการมะเร็งเต้านมเช่นกัน เพราะด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันจึงมีการใช้ปริมาณรังสีที่ค่อนข้างน้อย" 
 
 
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์เต้านม
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ชั้น 16 อาคาร A (คลินิก)
หรือโทร. 02-011 3694 หรือโทร. 1378
รพ.บำรุงราษฎร์ เปิด ศูนย์เต้านม มาตรฐานระดับนานาชาติขั้นสูง HealthServ
รพ.บำรุงราษฎร์ เปิด ศูนย์เต้านม มาตรฐานระดับนานาชาติขั้นสูง HealthServ
รพ.บำรุงราษฎร์ เปิด ศูนย์เต้านม มาตรฐานระดับนานาชาติขั้นสูง HealthServ

เรื่องจริงของมะเร็งเต้านมที่เข้าใจกันผิด LINK

เรื่องจริงของมะเร็งเต้านมที่เข้าใจกันผิด รพ.บำรุงราษฎร์ เปิด ศูนย์เต้านม มาตรฐานระดับนานาชาติขั้นสูง
เรื่องจริงของมะเร็งเต้านมที่เข้าใจกันผิด รพ.บำรุงราษฎร์ เปิด ศูนย์เต้านม มาตรฐานระดับนานาชาติขั้นสูง
ปัจจุบันยังพบว่ามีหลายประเด็นเรื่องมะเร็งเต้านม ที่ยังเข้าใจกันผิดกันอยู่

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด