เชื่อหรือไม่ แมลงคือแหล่งอาหารโปรตีนของโลกอนาคต
เชื่อไม่เชื่อไม่เป็นไร แต่วันนี้ผู้เชี่ยวชาญระดับโลก อย่าง องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ฟันธงไปแล้ว ว่าแมลงจะกลายเป็นแหล่งโปรตีนแห่งโลกอนาคตอย่างแน่นอน ขณะที่ล่าสุดรายงานของ World Bank ชี้ว่า ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ได้ปลุกความกังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหารของโลก และเป็นปัจจัยเร่งให้ อาหารโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) จากแมลงได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น
โปรตีนทางเลือก (Alternative Protein)
แต่ดั้งเดิมมา อาหารโปรตีนของมนุษย์มาจากสองแหล่ง ได้แก่ โปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากพืช โปรตีนจากสัตว์ มาจาการทำปศุสัตว์ ที่คุ้นเคยกัน คือเนื้อวัว เนื้อสัตว์ปีก เนื้อหมู ส่วนโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่วต่างๆ เต้าหู้ จน ณ ปัจจุบันที่โลกเดินหน้ามาสู่ยุคแห่งตระหนักรู้ถึงภาวะโลกร้อน และเริ่มได้รับผลกรรมจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่รุนแรงกว่าที่เคยเป็นมาทั่วโลก ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจที่ผกผันเปราะบาง ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ สังคมการเมืองระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย การปิดกั้นกีดกันทางการค้า ความขาดแคลนในประเทศ และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เหล่านี้เป็นปัจจัยขับเคลื่อนการมาถึงของมุ่งแสวงหาความมั่นคงทางอาหารแบบใหม่ๆ ให้กับโลกและประชากร นั่นคือโอกาสและความท้าทายของโปรตีนทางเลือก
โปรตีนทางเลือกมีอะไรบ้าง
อาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือก จำแนกได้ 5 กลุ่มหลักๆ ได้แก่
1) Plant-based Food หรือโปรตีนจากพืช
2) Mycoprotein ที่เป็นการใช้ราที่ได้จากการเพาะเลี้ยงสำหรับการทำโปรตีน
3) Insect Protein ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำจากแมลง
4) Algal Protein เป็นโปรตีนจากสาหร่าย
5) Cultured Meat ที่เป็นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสัตว์จากห้อง Lab
มีการคาดการณ์ถึงมูลค่าตลาดโปรตีนทางเลือกของโลกไว้ว่าจะมีมูลค่าราว 43,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในจำนวนนี้ Plant-based Food หรือโปรตีนจากพืช มีสัดส่วน 96.7% ของมูลค่าทั้งหมด ที่เหลืออีกประมาณ 3.3% จะเป็นโปรตีนทางเลือกอื่นๆ
แม้ว่าปัจจุบัน โปรตีนจากแมลง จะยังคงมีสัดส่วนที่น้อย เมื่อเทียบกับโปรตีนพืช แต่สำหรับอนาคตนั่นคือโอกาสของการเติบโต ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า จะมีโอกาสเพิ่มสัดส่วนได้ถึง 26.5%CAGR อีกทั้งเริ่มมีผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งในและนอกอุตสาหกรรมอาหาร มีแผนลงทุนในสินค้า Segment นี้เพิ่มขึ้น
รูปแบบผลิตภัณฑ์จากแมลง
ผลิตภัณฑ์จากแมลงสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ 3 ระดับ
ระดับ 1. ผลิตภัณฑ์จากแมลงสด
ผลิตภัณฑ์สภาพเดิมของแมลง เช่น แมลงสด แมลงตากแห้ง/อบแห้ง เป็นต้น เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่จะมีมูลค่าเพิ่มต่ำ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีการผลิตไม่ซับซ้อนมากนัก
ระดับ 2. ผลิตภัณฑ์จากแมลงแปรรูป
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากการแปรสภาพแมลง ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การบด การปั่น รวมถึงการใช้สารละลายในการสกัดเพื่อให้ได้โปรตีนทั้งในรูปแบบผง หรือน้ำมัน ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม อาหารสัตว์ เครื่องสำอางและยา เป็นต้น
ระดับ 3. ผลิตภัณฑ์จากแมลงในรูแแบบสารสกัด
เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและอาศัยเทคโนโลยีสูง ผลิตภัณฑ์จำพวกสารสกัดต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ มูลค่าสูง เช่น กรดอะมิโน วิตามิน และแรธ่าตุ เป็นต้น สร้างมูลค่าเพิ่มได้ราว 10-11 เท่า เมื่อเทียบกับรูปแบบด้ังเดิม
ต่อยอดไปหลายอุตสาหกรรม
ผลิตภัณฑ์จากแมลงสามารถต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่อุตสาหกรรมอาหารไปจนถึงอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์และเวชสำอางต่างๆ ดังตัวอย่างที่ Krungthai COMPASS ได้รวบรวมไว้ อาทิ
อาหารและเครื่องดื่ม
- บริษัท Crow Bar บริษัทสตาร์ทอัพจาก Iceland ผลิตขนมช็อกโกแลตบาร์ยี่ห้อ Jungle Bar ซึ่งมีส่วนผสมจากผงแมลง ผสมกับช็อกโกแลต และธัญพืชต่างๆ อาทิ อินทผลัม ผลแครนเบอร์รี่ งา เมล็ดทานตะวัน และเมล็ดฟักทอง
- บริษัท Gourmet Grubb บริษัทสตาร์ทอัพ สัญชาติแอฟริกาใต้ ผลิตนมยี่ห้อ Ento Milk ที่ผลิตจากตัวอ่อนหนอนแมลงวันลาย ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น โปรตีนที่มีปริมาณสูงกว่านมวัวถึง 5 เท่า โดยสามารถนำมาต่อยอดได้ในผลิตที่หลากหลาย เช่น ไอศกรีม
- บริษัท Damhert Nutrition บริษัท สัญชาติ เบลเยี่ยม ผลิตนักเก็ตยี่ห้อ Insecta ที่ผลิตจากหนอนควาย ผสมกับเกลือและพริกไทยขาวเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง
อาหารสัตว์
- บริษัท Orgafeed บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ร่วมมือกับบริษัท Thai Union โปรตีนจากแมลงมาผลิตเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงเหมาะสมกับสัตว์ที่มีอาการแพ้โปรตีนดั้งเดิม
- บริษัท Multibox บริษัทสัญชาติอังกฤษ ทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารสัตว์เลี้ยงจากแมลง ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ โอเมก้า 3 และ 6
ยาและเครื่องสำอาง
- บริษัท Oricga บริษัท สัญชาติไทย ที่นำน้ำมันจากตัวอ่อนของแมลงมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ความงาม เช่น ครมี ยกกระชับใบหน้ำ ครมี ลดรวิ้ รอย เป็นต้น
- บริษัท The Himalayan (Sea Buckthorn) บริษัท สัญชาติสหรัฐฯ พัฒนาผลิตภัณฑ์ชื่อว่า Point 68 ซึ่งมีส่วนผสมของสารสกัดบริสุทธิจากตัวอ่อนแมลงวันทหารดำ (BSFL) ซึ่งมีคุณสมบัติชะลอวัย ผสมกับน้ำมันจากผลซีบัคธอร์น น้ำมันอาร์แกน และน้ำมันดอกทานตะวัน
อาหารเสริม
- บริษัท Global Bugs Asia บริษัทสัญชาติไทย ผลิตผงเวย์โปรตีนจากจิ้งหรีด ซึ่งมีโปรตีนไขมัน และไฟเบอร์ในปริมาณสูง
- บริษัท Nutribug บริษัทสัญชาติอังกฤษ ผลิตอาหารสุขภาพที่ทำมาจากโปรตีนจากแมลงรวมทั้งผงโปรตีนที่ใช้รับประทานซึ่งมีสารอาหารจำพวกโปรตีน รวมทั้งโอเมก้า 3 และวิตามินบี 12 เหมาะสำหรับผู้ที่รักษาสุขภาพ
ผู้บริโภคสนใจ มูลค่าตลาดยังเติบโตได้อีก
พฤติกรรมผู้บริโภคสนใจที่จะบริโภคโปรตีนแมลง มากขึ้น ส่งผลดีต่อการเติบโตตลาดโปรตีนแมลง โดย Globenewswire คาดว่ามูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์จากแมลงของโลกจะมีมูลค่าอยู่ที่ 2,847.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 9.9 หมื่นล้านบาท ในปี 2030 ขยายตัวปีละ 26.5% CAGR ซึ่งเรามองว่าตลาดสหรัฐและตลาดสหภาพยุโรปเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก โดยจากผลสำรวจของ Yougovamerica ซึ่งเป็นบริษัทที่วิจัยตลาดจากสหรัฐ ชี้ว่า 1 ใน 4 ของผู้บริโภคชาวสหรัฐ ตั้งใจที่จะบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของแมลงทั้งในรูปแบบผงและเครื่องดื่มเป็นส่วนหนึ่งของมื้ออาหารเป็นประจำ สอดคล้องกับผลสำรวจของ University of Pennsylvania มหาวิทยาลัยจากสหรัฐฯ ที่ทำการสำรวจการยอมรับอาหารที่ทำจากแมลงของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ซึ่งพบว่า 3 ใน 4 ของผู้บริโภคชาวสหรัฐฯ อยากที่จะลองบริโภค Insect Protein ส่วนผลการสำรวจของ ValuSect ชี้ว่า 30% ของผู้บริโภคสหภาพยุโรปต้ังใจที่จะบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากแมลง ขณะที่ IPFF คาดว่าในปี 2030 ผู้บริโภคในสหภาพยุโรปประมาณ 390 ล้านคนจะบริโภคโปรตีนจากแมลง เพิ่มขึ้นจากปี 2019 ซึ่งอยู่ที่ 9 ล้านคน หรือขยายตัวถึงปีละ 40.9% CAGR ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้บริโภคในสหภาพยุโรปยอมรับการบริโภคโปรตีนจากแมลงมากขึ้น
จากพฤติกรรมการผู้บริโภค Insect Protein ในประเทศสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป จะเป็นโอกาสของไทยในการขยายตลาดดังกล่าว โดยคาดว่ามูลค่าตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์จากแมลงของไทยจะมีมูลค่า 314.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท ในปี 2573 คิดเป็นอัตราเติบโตปีละ 30.5% CAGR ส่วนตลาดในประเทศแม้ตลาดจะไม่ใหญ่เท่าตลาดส่งออก แต่คาดว่าจะมีแนวโน้มเติบโตเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการไทยหลายรายเรม่ิเข้ามาทำการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแมลงให้มีความหลากหลายมากกว่าแต่ก่อนที่ตลาดในประเทศส่วนใหญ่จะมาจากผลิตภัณฑ์แมลงที่แปรรูปขั้นต้น เช่น แมลงสด แมลงอบแห้ง ส่งผลดีทำให้ผู้บริโภคชาวไทยรับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Insect Protein มากขึ้น โดยคาดว่าตลาด Insect Protein ในประเทศจะอยู่ที่ 110.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 3,871 ล้านบาท ในปี 2573 ขยายตัวปีละ 22.6% CAGR