ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

พบสารพัดสารเสพติด ในซองคอลลาเจน ที่ขายในโซเชี่ยล

พบสารพัดสารเสพติด ในซองคอลลาเจน ที่ขายในโซเชี่ยล HealthServ.net
พบสารพัดสารเสพติด ในซองคอลลาเจน ที่ขายในโซเชี่ยล ThumbMobile HealthServ.net

กรมการแพทย์ ตรวจสอบสารเสพติดในซองคอลลาเจน ที่วางขายในช่องทาง สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) พบว่ามี ยาอี ยาไอซ์ ยาเค ยานอนหลับ คาเฟอีน

นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า  จากการตรวจสอบสารเสพติดที่ถูกบรรจุในซองคอลลาเจนที่วางขายในช่องทาง สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) พบว่ามีสารเสพติด ได้แก่ ยาอี ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทและหลอนประสาท ยาไอซ์ ที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้รู้สึกตื่นตัว ยาเค ออกฤทธิ์หลอนประสาท ทำให้เห็นภาพลวงตา นอกจากนี้ยังมียานอนหลับ และคาเฟอีนผสมอยู่ด้วย เมื่อเสพรวมกันจะเสริมฤทธิ์ให้รุนแรง
ผู้เสพแต่ละคนจะมีอาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณ และระยะเวลา และส่วนประกอบของสารเสพติดแต่ละชนิดที่ได้รับด้วย ประกอบกับร่างกายแต่ละคนมีความแข็งแรงไม่เท่ากัน บางคนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
 
พบสารพัดสารเสพติด ในซองคอลลาเจน ที่ขายในโซเชี่ยล HealthServ
 
                นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า สารเสพติดที่ถูกพบในซองคอลลาเจนที่วางขายในช่องทาง สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ในปัจจุบันมาจากสารเสพติดหลายชนิดที่ออกฤทธิ์แตกต่างกัน เช่น ยาอี ยาไอซ์ ยาเค
ยานอนหลับ และคาเฟอีน เป็นต้น หากเสพสารเสพติดรวมกันในปริมาณมาก หรือเสพร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ จะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง อาจมีอาการทางจิตประสาท หูแว่ว หวาดระแวง เกิดพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าว อาจเกิดอาการหัวใจวาย หรือกดการหายใจ จนทำให้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ค้ายาเสพติดในปัจจุบันมักจะหาช่องทางการลักลอบจำหน่ายโดยใช้ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ซึ่งตรวจสอบได้ยาก ร่วมกับการโฆษณาชวนเชื่อ อวดอ้างสรรพคุณต่าง ๆ ทำให้มีคนหลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อของความอยากรู้อยากลอง และกลายเป็นเหยื่อของผู้ค้ายาเสพติด


                หากคนใกล้ตัวมีพฤติกรรมเสี่ยง ต้องรีบเข้าไปพูดคุย ซักถามด้วยเหตุผล และบอกกล่าวถึงโทษพิษภัยของยาเสพติด ที่ส่งผลต่อสภาพร่างกาย จิตใจ รวมถึงความผิดทางกฎหมาย และรีบพาไปพบแพทย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา โดยสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนบำบัดยาเสพติด 1165  หรือเข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดได้ที่ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น โรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pmnidat.go.th
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด