ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

4 วิธีเปลี่ยน รพ.ประกันสังคม ง่ายสุดคือทำผ่าน Line หรือผ่านแอป SSO

4 วิธีเปลี่ยน รพ.ประกันสังคม ง่ายสุดคือทำผ่าน Line หรือผ่านแอป SSO HealthServ.net

ผู้ประกันตนสามารถขอเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ 4 วิธี ได้แก่ 1) ยื่นเรื่องด้วยเอกสาร ที่สำนักงานในพื้นที่ กทม / จังหวัดต่างๆ 2) ทำรายการผ่านเว็บไซต์ ประกันสังคม www.sso.go.th 3) ทำรายการผ่านแอป SSO Connect 4) ทำรายการผ่านไลน์ Line official sso โดยเพิ่มเพื่อน @ssothai

4 วิธีเปลี่ยน รพ.ประกันสังคม ง่ายสุดคือทำผ่าน Line หรือผ่านแอป SSO ThumbMobile HealthServ.net

การเปลี่ยนสถานพยาบาลประกันสังคม 

  1. สถานพยาบาลประกันสังคมเปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้ง โดยต้องดำเนินการในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคมของทุกปี และผู้ที่สามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ จะต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 และต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ในกรณีที่ผู้ประกันตนสิ้นสภาพแล้ว จะยังสามารถใช้สิทธิต่อไปได้อีก 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพ
  2. การเปลี่ยนระหว่างปี กรณีมีเหตุจำเป็น เช่น ย้ายที่พักอาศัย ย้ายสถานที่ประจำทำงาน หรือพิสูจน์ ทราบว่าผู้ประกันตนมิได้มีการเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเอง ให้ยื่นเปลี่ยนสถานพยาบาลภายในระยะเวลาสามสิบวัน 


การเปลี่ยนสถานพยาบาลประกันสังคม สามารถทำได้ด้วยกัน 4 วิธี

1. ยื่นเรื่องด้วยเอกสาร ที่สำนักงานในพื้นที่ กทม / จังหวัดต่างๆ

2. ทำรายการผ่านเว็บไซต์ ประกันสังคม www.sso.go.th

3. ทำรายการผ่านแอป SSO Connect 

4. ทำรายการผ่านไลน์ Line official  sso โดยเพิ่มเพื่อน @ssothai 


ผู้ประกันตนมาตรา 40
เพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับ สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน ม.40 และ การสมัคร ม.40

 

หลักเกณฑ์การเลือกสถานพยาบาลประกันสังคม

ต้องเลือกสถานพยาบาลซึ่งตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่ประจำทำงานอยู่หรือ พักอาศัยอยู่จริง หรือเขตจังหวัดรอยต่อเท่านั้น

วิธีที่ 1 - ยื่นด้วยแบบฟอร์ม สปส. 9-02

สำหรับการลงทะเบียนขอเปลี่ยนสถานพยาบาลของประกันสังคม ผู้ประกันตนต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
  • กรอกแบบขอบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล สปส. 9-02
  • บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลฉบับเดิม
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • กรณีย้ายที่อยู่ควรเตรียมหลักฐานการย้ายที่อยู่ด้วย
 
กรณียื่นเอกสารระหว่างวันที่ 1 ถึง 15 (ก่อน 16.30 น.ของวันที่ 15) ผู้ประกันตนจะสามารถใช้สิทธิของโรงพยาบาลแห่งใหม่ได้ในวันที่ 16 ของเดือนนั้น ส่วนกรณียื่นเอกสารระหว่างวันที่ระหว่างวันที่ 16 ถึงวันทำการสุดท้ายของเดือน (ก่อน 16.30 น.ของวันสุดท้ายของเดือน) ผู้ประกันตนจะสามารถใช้สิทธิของโรงพยาบาลแห่งใหม่ได้ในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป
 

วิธีที่ 2 - ทำเรื่องผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th

ตามขั้นตอนดังนี้ (ดูภาพประกอบ)
  • เข้าไปที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ไปที่ ส่วนผู้ประกันตน และ ล็อกอินเข้าระบบ
  • เลือกเมนู ยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล
  • เลือกโรงพยาบาลที่ต้องการ
  • กดยอมรับข้อตกลงและบันทึก
(ภาพจากรพ.เกษมราษฎร์)

วิธีที่ 3 - ทำรายการผ่านแอปพลิเคชัน SSO Connect

ขั้นตอนการทำผ่านแอพ SSO Connect ของประกันสังคม
  1. โหลดแอพ SSO Connect มาก่อน โหลดได้ที่ แอพสโตร์ Google  หรือ iOS ไอโฟน
  2. เปิดแอพ > เข้าระบบ
  3. เลือกเมนู "เปลี่ยนโรงพยาบาล"
  4. เลือกโรงพยาบาลที่ต้องการ กดยืนยัน รอผลตรวจสอบการเปลี่ยนสิทธิ์ใน 2-3 วันทำการ
 (ภาพจากรพ.เกษมราษฎร์)

ทำรายการผ่านไลน์ Line official sso โดยเพิ่มเพื่อน @ssothai

 ทำรายการผ่านไลน์ Line official  sso โดยเพิ่มเพื่อน @ssothai หรือ ลิงค์ https://line.me/R/ti/p/%40ssothai

Line Account สำนักงานประกันสังคม ต้อง @ssothai เท่านั้น

 

ผู้ประกันตนตรวจสอบข้อมูลเองได้ 2 รูปแบบ

 ตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกันตนได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
 
 ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว 
เพียงลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประชาชน
- เงินสมทบผู้ประกันตน
- เงินสมทบชราภาพ
- การเบิกสิทธิประโยชน์
- แจ้งเปลี่ยนโรงพยาบาล
- ประวัติการเปลี่ยนโรงพยาบาล
 
 ตรวจสอบข้อมูลทั่วไป
- สิทธิประโยชน์มาตรา 33, 39, 40
- การลงทะเบียน
- การเบิกสิทธิประโยชน์
- การชำระเงินสมทบ
- งานทะเบียนและเงินสมทบ
- มาตรการเร่งด่วน
 
ง่ายๆ! เพียงสแกนคิวอาร์ โค้ดหรือแอด @ssothai แล้วมาเป็นเพื่อนกันเลย  เพียงเท่านี้ก็จะได้อัปเดตสิทธิประโยชน์ แล้วยังมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกลุ้นของรางวัลสุดปังทุกเดือน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

สิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตนมาตรา 40

สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนมาตรา 40
 
คุณสมบัติของผู้สมัครมาตรา 40 
- บุคคลทั่วไป อายุ 15-65 ปี
- ไม่มีนายจ้างประจำ เช่น อาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ค้าขาย
 
ทางเลือก เงินสมทบที่ต้องจ่ายทุกเดือน
ทางเลือก 1 : จ่าย 70 บาท/เดือน (ช่วงเดือน ส.ค. 64-ม.ค. 65​ ลดเงินสมทบเหลือ 42 บาท )
ทางเลือก 2 : จ่าย 100 บาท/เดือน (ช่วงเดือน ส.ค. 64-ม.ค. 65​​ ลดเงินสมทบเหลือ 60 บาท)
ทางเลือก 3 : จ่าย 300 บาท/เดือน (ช่วงเดือน ส.ค. 64-ม.ค. 65​​ ลดเงินสมทบเหลือ 80 บาท )
* BangkokBizNews
 
 
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ 5 กรณี 
แต่ละกรณีขึ้นกับทางเลือกการจ่ายเงินสมทบ 
1) กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
2) กรณีทุพพลภาพ
3) กรณีตาย
4) กรณีชราภาพ
5) กรณีสงเคราะห์บุตร
 
**หมายเหตุ **
มาตรา 40 ไม่คุ้มครองด้านรักษาพยาบาล แต่จะคุ้มครองด้านการขาดรายได้ ผู้ประกันตนต้องใช้สิทธิอื่นในการรักษา เช่น สิทธิรักษาของบัตรทอง [sso]
 
รายละเอียดแต่ละกรณี
 

1) กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
 
ทางเลือกที่ 1 (70/ด) และ ทางเลือกที่ 2 (100/ด) 
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้
(1) นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
(2) ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท
(3) ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว หรือ ให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (มีใบรับรองแพทย์มาแสดง) ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง ต่อปี
*ภายใน 1 ปี ได้รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี
 
ทางเลือกที่ 3 (300/ด)
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้
(1) นอนพักรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท
(2) ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท
 
*ภายใน 1 ปี รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 90 วัน
 
หมายเหตุ : สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่
 

2) กรณีทุพพลภาพ

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ : 
จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือนใน  10 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 500 บาท
จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 12 เดือนใน 20 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 650 บาท
จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 24 เดือนใน 40 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาท
จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 36 เดือนใน 60 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาท
 
ทางเลือกที่ 1 (70/ด) และ ทางเลือกที่ 2 (100/ด) 
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี
*เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท
 
ทางเลือกที่ 3 (300/ด)
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน ตลอดชีวิต
*เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท
 
 

3) กรณีตาย

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ : 
จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ยกเว้น กรณีตายเพราะอุบัติเหตุ
หากจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 ใน 12 เดือน แต่มีการจ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย
 
ทางเลือกที่ 1 (70/ด) และ ทางเลือกที่ 2 (100/ด) 
ได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท จ่ายให้กับผู้จัดการศพ
ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 8,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 60 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย
 
ทางเลือกที่ 3 (300/ด)
ได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท ก่อนเดือนที่ตาย  จ่ายให้กับผู้จัดการศพ
 
 

4) กรณีชราภาพ

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ : เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
 
ทางเลือกที่ 1 (70/ด) 
-ไม่คุ้มครอง-
 
ทางเลือกที่ 2 (100/ด) 
ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินสมทบ 50 บาท คูณ จำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ บวกเงินออมเพิ่ม) พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
 
ทางเลือกที่ 3 (300/ด)
ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินสมทบ 150 บาท คูณ จำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ บวก  เงินออมเพิ่ม) พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
 
*ผู้ประกันตนทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม (ออมเพิ่ม) ได้ไม่เกิน 1,000 บาท ต่อเดือน
 
 

5) กรณีสงเคราะห์บุตร

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ : 
จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 24 ใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
*ขณะรับเงินสงเคราะห์บุตร ต้องจ่ายเงินสมทบทุกเดือน
 
ทางเลือกที่ 1 (70/ด) และ ทางเลือกที่ 2 (100/ด) 
-ไม่คุ้มครอง-
 
ทางเลือกที่ 3 (300/ด)
ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน บุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดแต่ไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์
 

ระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 LINK

ระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 4 วิธีเปลี่ยน รพ.ประกันสังคม ง่ายสุดคือทำผ่าน Line หรือผ่านแอป SSO
ระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 4 วิธีเปลี่ยน รพ.ประกันสังคม ง่ายสุดคือทำผ่าน Line หรือผ่านแอป SSO

การสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40

สมัครขึ้นทะเบียน

ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561 และพระราชกฤษฎีกากำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งอาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2561 นั้น
 

1. คุณสมบัติของผู้สมัคร

1.1 มีสัญชาติไทย
1.2 เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งอพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย โดยมีมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 6 หรือ เลข 7
1.3 เป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว   เพื่อรอการส่งกลับ ที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 0 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยแต่มีเลขประจำตัวหลักแรกและหลักที่สองเป็นเลข 0 (00)
1.4 ผู้สมัครต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบุูรณ์
1.5 ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39
1.6 ไม่เป็นสมาชิกของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น หรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญของส่วนราชการ รวมทั้งไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร หรือกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น
1.7 หากเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้พิการ ให้ระบุลักษณะหรืออาการของผู้พิการโดยละเอียด (ยกเว้น  ผู้พิการทางสติปัญญาและผู้พิการที่ไม่อาจรับรู้สิทธิที่พึงจะได้รับจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่สามารถสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้)
 

2. หลักฐานการสมัคร

 
2.1 บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
2.2 แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40) กรณีไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ใช้การประทับลายนิ้วมือแทนการลงชื่อและให้มีผู้รับรองลายมือชื่อจำนวน 2 คน
 

3. สถานที่ในการสมัคร

 
3.1 สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา  ทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
3.2 อินเตอร์เน็ต WWW.sso.go.th/section40_regist
3.3 บริษัทเคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่น อีเลฟเว่น (7-11)
 

4. ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40

มี 3 ทางเลือก ดังนี้
  • ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
    สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  3  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย
  • ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
    สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  4  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ
  • ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน
    สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  5  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร
หมายเหตุ :
1)  ผู้ประกันตนทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม (ออมเพิ่ม) ได้ไม่เกิน 1,000 บาท ต่อเดือน
2)  กำหนดให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน
 

5. ช่องทางการชำระเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40

5.1 เคาน์เตอร์บริการ 
5.2 หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร
ชำระงวดปัจจุบัน  ได้ที่
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (มหาชน)
4. ธนาคารออมสิน
5. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
6. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
7. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
8. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
9. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
 
5.3 ช่องทางอื่น
 
ชำระงวดปัจจุบัน งวดล่วงหน้า 12 เดือน และออมเพิ่มไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน ได้ที่ ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)
เสียค่าธรรมเนียมตามที่ไปรษณีย์กำหนด
 
หมายเหตุ
1. การจ่ายเงินสมทบผ่านทางเคาน์เตอร์เซอร์วิส โปรดแจ้งพนักงานให้ชัดเจนว่าจะจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าหรือจ่ายเงินออมเพิ่ม เพื่อไม่ให้จ่ายเงินผิดพลาด
2. จ่ายเงินสมทบผ่านการหักบัญชีธนาคาร ธนาคารจะหักเงินในบัญชีของผู้ประกันตน ทุกวันที่ 20 ของเดือน
3. ลืมหรือขาดส่งเงินสมทบ ไม่สามารถส่งเงินสมทบย้อนหลังได้ แต่ไม่ถือเป็นการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน สามารถส่งเงินสมทบงวดปัจจุบันและส่งเงินล่วงหน้าได้ไม่เกิน 12 เดือน
4. เงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จ่าย สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
5. ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่ถูกตัดสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
 

6. การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล

 6.1 เมื่อเป็นผู้ประกันตนแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนคำนำหน้านามชื่อ - สกุล ที่อยู่ที่ติดต่อ เปลี่ยนแปลงสำนักงานประกันสังคมรับผิดชอบ หรือเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ เป็นต้น ให้ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหรือทางเลือกการจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/1) พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
6.2 กรณีขอเปลี่ยนทางเลือกการจ่ายเงินสมทบจะทำได้ปีละ 1 ครั้ง โดยเมื่อยื่นขอเปลี่ยนแปลงทางเลือกแล้ว  จะมีผลในเดือนถัดไป
6.3 หากไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ต่อไป (ลาออก) ให้ยื่นแบบแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/2)
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด