ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ

คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ Thumb HealthServ.net
คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ ThumbMobile HealthServ.net

ต่อข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ จึงทำการรวบรวมข้อมูลและคำแนะนำไว้ดังนี้ - ล่าสุด เป็นคำแนะนำสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่ให้นมบุตร และ ผู้ป่วยโรคตับประเภทต่างๆ

คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ HealthServ
อัพเดต 25 พค 64 จากราชราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
คำแนะนำจากสมาคมวิชาชีพต่างๆ

ข้อแนะนำสำหรับสตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่ให้นมบุตร LINK

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ออกประกาศ ที่ 06/2564 เรื่อง การฉีดวัดซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในสตรีตั้งครรภ์หรือสตรีให้นมบุตร

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิต-19 ในประเทศไทย ในช่วงนี้มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากและแพร่กระจายไปหลายพื้นที่อย่างรวดเร็ว สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 อาจหายได้เอง หรือมีอาการรุนแรงถึงชั้นเสียชีวิตได้ จากการทบทวนการศึกษาขนาดใหญ่ของหลายประเทศทั่วโลก พบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงที่โรคจะรุนแรงกว่าคนทั่วไป และมีโอกาสต้องเข้ารักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติ (Intensive care unit, ICU) เพิ่มขึ้น ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (mechanical ventilation) เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ เลือดแข็งตัวผิดปกติ ทารกตายในครรภ์ ทารกเกิดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ทารกติดเชื้อและต้องเข้ารักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤติสูงขึ้น
 
ดังนั้นสตรีตั้งครรภ์จึงถือเป็นกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิต -19 เพื่อลดการติดเชื้อ ลดการเกิดโรคที่รุนแรงและลดการเสียชีวิต แม้ว่าข้อมูลด้านความปลอดภัยของการฉีดวัคซีนในสตรีตั้งครรภ์ยังมีจำกัด แต่ยังไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าวัคซีนจะก่อให้เกิดอันตรายแก่สตรีตั้งครรภ์สูงกว่าคนทั่วไป การฉีดวัคซีนจึงมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดจากผลข้างเคียงของวัคซีน ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยจึงมีข้อแนะนำ ดังนี้
 
1. สตรีตั้งครรภ์สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ ยกเว้นกรณีที่มีข้อห้าม เช่น มีอาการแพ้รุนแรง
จากการฉีดครั้งแรก
 
2. ระยะเวลาที่ควรฉีดวัคซีนคือ หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (3 เดือน)

3. สตรีที่ให้นมบุตรสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้

4. วัคซีนที่มีใช้ในประเทศไทย ในปัจจุบันนี้ มี 2 ชนิด คือ Sinovac และ AstraZeneca จากข้อมูลเบื้องตันสามารถใช้ได้ทั้งสองชนิด แต่มีข้อสังเกตว่าวัคซีน Sinovac มีอัตราการเกิดไข้หลังการฉีดน้อยกว่า AstraZeneca วัคซีนทั้งสองชนิดมีความปลอดภัยในการฉีดให้คนทั่วไปและมีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน ในอนาคตอาจจะมีวัคซึนชนิดอื่นๆ ให้เลือกเพิ่มขึ้น

5. ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นๆ ยกเว้นมีความจำเป็น การฉีดวัคซึนชนิดอื่น ๆ ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
 
การฉีดวัคซีนถือเป็นความสมัครใจ สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับคำปรึกษาถึงประสิทธิภาพและความ
ปลอดภัยของวัคซีนโดยละเอียดก่อนการตัดสินใจ

ประกาศ 21 พค 2564

การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน LINK

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ในผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ดังนี้
 
1. ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนที่มีเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ยาเม็ด ยาฉีดคุมกำเนิดและแผ่นยาปิดผิวหนังคุมกำเนิด มีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดดำอุดตันได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้วิธีการดังกล่าว อย่างไรก็ตามภาวะดังกล่าวพบได้น้อยมากในสตรีไทย และยังพบได้น้อยกว่าในสตรีตั้งครรภ์ซึ่งมีระดับเอสโตรเจนสูงมากตามธรรมชาติ
 
2. ข้อมูล ณ ปัจจุบัน ซึ่งรวบรวมจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการฉีดวัคนป้องกันโรคโควิด-19 ในสตรีทั่วโลกและในประเทศไทย ซึ่งมีผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ไม่พบว่ามีการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดดำอุดตันแต่อย่างใด
 
3. ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนทุกชนิด สามารถรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการใช้
 
4. หากยังมีความกังวลใจ และต้องการหยุดการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ควรใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นๆ มาทดแทนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์

ประกาศราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคตับประเภทต่างๆ LINK

วัคซีน COVID-19 ช่วยลดความรุนแรงและโอกาสเสียชีวิตจากการป่วยด้วยโรค COVID-19 ทั้งในคนทั่วไปแล่ะผู้ป่วยโรคตับทุกชนิด
 
ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลว่าวัคชีน COVID-19 ใดดีกว่ากันทั้งในคนปกติและผู้ป่วยโรคตับ สำหรับวัคซีนของ AstraZeneca ใช้ไวรัสที่ไม่แบ่งตัว จึงไม่นำเกิดข้อเสียจากการฉีดวัคซีน
 
ผู้ที่ลุงอายุ อ้วน และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคปอด หอบหืด ไตวายเรื้อรัง รวมทั้งโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็งตับ ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิ และผู้ป่วยภายหลัง
ปลูกถ่ายตับมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรค COVID-19 ที่รุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนปกติ
 
ผู้ป่วยโรคตับประเภทต่างๆ และโรคตับแข็งระยะต้นควรฉีดวัคซีน COVID-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปวยโรคตับแข็งระยะกลางและระยะท้าย มะเร็งตับ และผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายตับที่มีอาการคงที่ เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรค COVID-19 ที่รุนแรงมากขึ้น ผลข้างเคียงของวัคซีนมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยเมื่อเทียบกับความรุนแรงของโรค ยกเว้นผู้ปวยที่มีประวัติแพ้วัคซีนควรปรึกษาแพทย์ก่อน คนใกล้ชิดในครอบครัวก็ควรฉีดวัคซีน COVID-19 เช่นกัน
 
ผู้ป่วยกายหลังปลูกถ่ายตับควรฉีดวัคซีน COVID-19 หลังปลูกถ่ายตับอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป (หรืออย่างเร็วสุดคือ 1 เดือนหลัง ปลูกถ่ายตับ ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแล)

ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบปีหรือชี ตับอักเสบจากการแพ้ภูมิ มะเร็งตับ และภายหลังปลูกถ่ายตับที่ได้รับยารักษา ไม่จำเป็นต้องหยุดยาต้านไวรัส การรักษาโรคนั้นๆ หรือยากดภูมิ ก่อนและระหว่างฉีดวัคซีน COVID-19
 
ผู้ปวยโรคตับแข็งที่มีเกล็ดเลือดต่ำหรือเลือดแข็งตัวช้า ควรกดตำแหน่งที่ฉีดยาไว้ 1-2 นาที หลังฉีดวัคซีน COVID-19
 
ผู้ป่วยโรคตับที่ฉีดวัคซีน COVID-19 แล้วมีไข้ สามารถรับประทานยาลดไข้พาราเซตามอลตามขนาดยาที่ดูกต้องและเหมาะสมได้
 
ในขณะนี้ ข้อมูลของวัคซีน COVID-19 ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปียังอยู่ระหว่างการศึกษา แต่มีแนวโน้มที่วัคซีนจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และลดความรุนแรงของโรค COVID-19 ได้เช่นเดียวกัน

สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทยสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย
Thai Association for the Study of the Liver (THASL)
24 พฤษภาคม 2564
 

ข้อควรพิจารณาในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด LINK

ข้อควรพิจารณาในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19)
ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
ในกรณีผู้ป่วยเพิ่งมีอาการหรืออาการยังไม่คงที่หรือยังมีอาการที่เป็นอันตรายต่อชีวิต (life-threatening) เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบชนิดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome) หรือภาวะหัวใจล้มเหลวชนิดเฉียบพลัน (Acute decompensated heart failure) ให้รอจนกว่าอาการดีขึ้นและคงที่จึงจะฉีดวัคซีน
 
ทั้งนี้ไม่มีข้อกำหนดเวลาที่ขัดเจน ให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาเป็นรายๆ ไป โดยอาจให้เมื่อผู้ป่วยมีอาการคงที่พร้อมที่จำหน่ายจากโรงพยาบาลหรือช่วงที่ติดตามการรักษาแบบผู้ป่วยนอก
 
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง SBP> 160 mmHg ควรควบคุมความดันโลหิตให้ดีก่อนฉีดวัคซีน
 
ในกรณีที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดวาร์ฟาริน ควรจะต้องมีระดับ INR ที่น้อยกว่า 3
สำหรับผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่ (NOACs) และยาต้านเกล็ดเลือด เช่น aspirin, clopidogrel, ticagrelor หรือ prasugrel สามารถฉีดวัคซีนได้ ควรใช้เข็ม 23G หรือเล็กกว่าและไม่คลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน ควรกดตำแหน่งที่ฉีดหลังการฉีดยานานอย่างน้อย 2 นาที และแน่ใจว่าไม่มีเลือดออกผิดปกติ
 
แนวทางการให้วัคซีนป้องกันโรคโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลรักษาและสภาพของผู้ป่วยตลอดจนปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนั้น แนวทางเวชปฏิบัติฉบับนี้ไม่สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงใดๆ ในทางกฏหมาย

คำแนะนำในผู้ป่วยโรคไต LINK

คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคไต
ชนิดของวัคซีน COVID-19 มีทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่
1. วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated viras) เช่น Sinovac. Sinopharm
2. วัดชีนชนิดไวรัสเวเตอร์ ซึ่งเป็นไร้สที่ยังมีชีวิตแต่ไม่สามารถแบ่งตัวได้ (Non-replicating viral vector) เช่น AsiraZeneca, Johnson & Johnson, Gamaleya (Sputnik)
3. วัดซีนชนิด mRNA เช่น Pfizer. Modera
4. วัคซีนชนิดส่วนประกอบของโปรตีน (Protein-hased vaccine) เช่น Novavax
 
คำแนะนำเรื่องวัดซีน COVID-19 สำหรับผู้ป่วยโรคไต
ผู้ป่วยโรคตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต (ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือ ล้างไตทางช่องท้อง) และผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ COVID-19 และอาจจะมีอาการป่วยรุนแรง จึงเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต่อการได้รับวัคน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีผลการศึกษารายงานถึงประสิทธิภาพของวัคซีน COVID-19 แบบเฉพาะ เจาะจงในกลุ่มผู้ป่วยโรคไต
 
เนื่องจากการฉีดวัดซึนโรคอื่น 1 ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่าคนทั่วไป จึงอาจทำให้การฉีดวัคชื่น COVID- 19 เกิดภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่าเช่นกัน ซึ่งทำให้ป้องกันโรคได้ไม่เต็มที่ แต่อย่างไรก็ตาม การฉีตวัคซีนยังมีประโยชน์คือช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและความรุนแรงของโรคได้ในคนทั่วไป ดังนั้นสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต และผู้ป่วยปลูกถ่ายไต จึงยังคงแนะนำให้ได้รับการฉีดวัคซีน ด้วยเช่นกัน
 
ภายหลังฉีดวัดนแล้วผู้ป่วยทุกคนยังมีโอกาสติดเชื้อได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคเหมือนเดิมเช่น ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น
 
หมายเหตุ
  • Sinovac ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการศึกษาถึงประสิทธิภาพของวัคชนในผู้สูงอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี
  • วัคชีนชนิดเชื้อตาย ชนิด mRNA และชนิดส่วนประกอบของโปรตีน สามารถให้ได้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
  • วัคซีนชนิดไวรัสเวคเตอร์ เช่น AstraZeneca จากข้อมูลในต่างประเทศแนะนำว่าสามารถให้ได้ในผู้ป่วยที่ได้รับ ยากดภูมิคุ้มกัน แต่ผู้เชี่ยวชาญบางท่าน แนะนำให้หลีกเลี่ยงวัคชีนกลุ่มนี้ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก (เช่น ผู้ป่วยที่ใด้รับยากคภูมิคุ้มกันที่ฤทธิ์กดภูมิรุนแรงหรือมีขนาดสูง)

คำแนะนำสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี LINK

คำแนะนำการรับวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี
โดยสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย
 
ผู้ติดเชื้อเอซไอวีควรได้รับวัคซีนโควิด-19

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่รุนแรงได้แม้ว่าไม่มีข้อมูลของประสิทธิภาพในผู้ติดเชื้อเอซไอวีมากพอ

การตอบสนองต่อวัคซีนแตกต่างกันขึ้นกับระดับซีดีสี่และปัจจัยทางสุขภาพของผู้รับวัคซีน
อาการข้างเคียงจากวัคซีนไม่แตกต่างจากประชากรกลุ่มอื่น
 
แนะนำให้ป้องกันด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น ใส่หน้ากาก ล้างมือ และการเว้นระยะห่าง

แนะนำให้รักษาด้วยยาต้านเอซไอวีอย่างต่อเนื่อง
 
กรณีมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสรุนแรงอยู่ควรรักษาจนอาการคงที่ก่อน
 
*ข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 ในผู้ติดเชื้อเอชไอวียังมีข้อจำกัด คำแนะนำนี้เป็นเพียงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจรับวัคซีน

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยจิตเวช LINK

1. รับประทานยาต่อเนื่องและดูแลสุขภาพจิตของตัวเองให้คงที่โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์ก่อน และ 2 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน
2. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อดนอน ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
3. ไม่ควรลดยา เพิ่มยา หรือปรับยาเอง เพราะอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงหรือถอนยาได้
4. ยาจิตเวชส่วนใหญ่ปลอดภัยต่อการฉีดวัคซีน
ยังไม่พบรายงานถึงปฏิกิริยาระหว่างยาจิตเวชกับวัคซีนโควิด 19 (ข้อมูล ณ วันที่ 28 wค 2564)
5. หากผู้ป่วยรู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับการรักษา การรับประทานยาและการฉีดวัคซีน ควรปรึกษาจิตแพทย์ที่ดูแลรักษา

ผู้ป่วยจิตเวชและผู้มีความบกพร่องทางจิต เช่น เชาวน์ปัญญาบกพร่อง ออทิซึม โรคจิตเภท
และโรคทางอารมณ์ เป็นต้น อาจมีความยากลำบาก ในการเข้าถึงวัคซีนและมีความเสี่ยงจากอาการทางจิตที่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการป้องกันการติดเชื้อของตนเอง ครอบครัวและชุมชนควรมีส่วนช่วยผู้ป่วยจิตเวชในการเข้าถึงวัคซีน
 
อ้างอิงจาก คำแนะนำเที่ยวกับการรับวัคซีนโควิด 19 สำหรับผู้ป่วยจิตเวชและญาติ และคำแนะนำการบริหารยาทางจิตเวช และวัคซีนโควิด 19 สำหรับจิตแพทย์และบุคลากรการแพทย์

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคระบบประสาท LINK

คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยโรคระบบประสาท
ผู้ป่วยโรคสมองและระบบประสาทไขสันหลัง ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง หากติดเชื้อไวรัสโคโรน่า จึงควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเป็นกลุ่มแรกๆ โดยผู้ป่วยต้องมีอาการทางระบบประสาทคงที่ หรือไม่อยู่ในภาวะอันตรายต่อชีวิต อย่างน้อย 4 สัปดาห์
 
โรคหลอดเลือดสมอง
ใช้เข็มเล็กกว่า 23G
กิน Warfarin ค่า INR <3
ยาเหล่านี้ฉีดได้
  • Aspirin
  • Clopidogrel
  • Cilostazol
  • NOAC
 
โรคลมชัก
ฉีดได้ แต่ระวังไข้หลังฉีดวัคซีนอาจจะกระตุ้นอาการชักได้
 
โรคอื่น ๆ
พาร์กินสัน สมองเสื่อม โรคเส้นประสาท โรคเซลล์สั่งการเสื่อมตัว หรืออื่น ๆ ฉีดได้ตามปกติ
 
โรคภูมิคุ้มกันระบบประสาทหรือผู้ป่วยกินยากดภูมิคุ้มกัน
ห้าม ฉีดวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Live-attenuated vaccine) ถ้ายังไม่เริ่มยา เข็มแรก ฉีดได้เลย เข็มที่2 ฉีดก่อนเริ่มยา 4 สัปดาห์
 
ผู้ป่วยที่กินยากดภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว
ยาขนาดน้อย: ฉีดวัคซีนได้เลย
ยาขนาดสูง: วางแผนฉีดวัคซีนหลัง 4-12 สัปดาห์
ยา Cladibine หรือ Alemtuzumab: ฉีดวัคชีนหลังให้ยาครั้งสุดท้าย 12-24 สัปดาห์

คำแนะนำในผู้ป่วยมะเร็ง LINK

 คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง
 
หลักการ
1. ผู้ป่วยมะเร็งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนโควิด-19 เป็นกลุ่มแรกๆ
2. แนะนำให้ฉีดวัคซีนในผู้ป่วยมะเร็งทุกคนที่กำลังเข้ารับการรักษา โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนเท่าที่มีการศึกษาวิจัยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีลักษณะคล้ายคลึงหรือเทียบเคียงได้กับผู้ป่วยเหล่านี้
3. ควรให้วัคซีนแก่ผู้ที่ให้การดูแลผู้ป่วยหรือญาติใกล้ชิดด้วย
 
การให้วัคซีนแก่ผู้ป่วยมะเร็งในกรณีจำเพาะ
1. ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือดหรือภูมิคุ้มกันบำบัดโดยวิธี CAR T CELLS ให้เว้นระยะการให้วัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 3 เดือน

2. ผู้ป่วยกลุ่มโรคเลือดที่เป็นมะเร็ง
  • หากได้รับยาเคมีบำบัดที่มีฤทธิ์ทำลายเซลล์ เช่น CYTARABINE/ANTHRACYCLINE-BASED INDUCTION REGIMEN ในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (AML) ให้วัคซีนโควิด-19 เมื่อจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลมีระดับปกติ ( >1,500 เซลล์ต่อมิลลิลิตร)
  • หากผู้ป่วยมีภาวะไขกระดูกบกพร่องหรือได้รับการรักษามาเป็นระยะเวลานาน สามารถให้วัคซีน
    โควิด-19 ได้เมื่อมีความพร้อมของวัคซีน

3. ผู้ป่วยมะเร็งชนิดเป็นก้อน
  • ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่มีฤทธิ์ทำลายเซลล์ ยามะเร็งชนิดมุ่งเป้า ยามะเร็งชนิดภูมิคุ้มกันบำบัดหรือได้รับการฉายรังสี สามารถให้วัคซีนโควิด-19 ได้เมื่อมีความพร้อมของวัคซีน
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัด ให้วัคซีนห่างจากวันผ่าตัดอย่างน้อย 3 วัน
 
หมายเหตุ
ผู้ที่ให้การดูแลผู้ป่วยหรือญาติใกล้ชิด (อายุ 16 ปี ขึ้นไป) สามารถรับวัคซีนได้ตลอดเวลาเมื่อมีความพร้อมของวัคซีน และแม้จะได้รับวัคซีนแล้ว ผู้ที่ให้การดูแลผู้ป่วยหรือญาติใกล้ชิดควรสวมใส่หน้ากากรักษาระยะห่าง และปฏิบัติตนตามคำแนะนำในการป้องกันโรคโควิด-19

คำแนะนำ วัดซีน และ คนไข้มะเร็ง LINK

 คำแนะนำ "วัดซีน" และ "คนไข้มะเร็ง"
เรียบเรียงจากคำแนะนำของสมาคมมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริก Version 2.0 วันที่ 10 มีนาคม 2564
เรียบเรียงโดย ผศ.พญ.เอื้อมแข สุขประเสริฐ
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
1. คนไข้มะเร็งกลุ่มไหนที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ?
คนไข้มะเร็งทุกคน ไม่ว่าจะเพิ่งเป็น กำลังรักษา หรือหายแล้ว ควรได้รับ
 
2. ทำไมถึงต้องได้รับ ?
ผู้ป่วยมะเร็งมีภาวะภูมิต้านทานที่ต่ำกว่าคนทั่วไป ดังนั้นจึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ถ้าติดเชื้อไวรัสแล้วมีโอกาสเป็นโรคที่รุนแรงมากกว่าคนทั่วไป นอกจากนั้นยังมีโอกาสจะมีเชื้อค้างในร่างกายนานและอาจก่อให้เกิดไวรัสที่มีการกลายพันธ์ ดังนั้นคนไข้มะเร็งจึงถือเป็นกลุ่มที่ควรได้รับวัดซีนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
 
3. ควรฉีดเมื่อไหร่
3.1 คนไข้มะเร็งที่ไม่ใช่ระบบเลือด เช่นมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ et
  • ผู้ป่วยทุกคนที่ไม่ว่าจะได้รับการรักษาด้วยยาเคมี ,ยามุ่งเป้า (targeted therapy) , ยากลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) : ควรฉีดทันทีที่มีวัคซีน
  • ผู้ป่วยที่กำลังได้รับการผ่าตัด ; ควรฉีดเมื่อร่างกายฟื้นตัวจากการผ่าตัด
3.2 คนไข้มะเร็งระบบเลือดที่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกควรฉีดหลังจากรักษาครบ 3 เดือนไปแล้ว
 
4. ถ้ากำลังได้รับยาเคมีบำบัดหรือภูมิคุ้มกัน ควรฉีดช่วงไหน ?
ควรฉีดทันทีที่มีวัคซีน และจะฉีดวันเดียวกับที่ให้ยาเคมี หรือยาภูมิคุ้มกันบำบัด และจะฉีดวันไหนก็ได้ที่ได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้า ไม่มีความจำเป็นต้องรอระยะเวลาหรือรอเช็คเม็ดเลือดขาว เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มนี้โอกาสที่จะมีเม็ดเลือดขาวต่ำที่ทำให้กังวลว่าจะทำให้ประสิทธิภาพของวัคชีน
 
5. ควรฉีดวัคซึนตัวไหน หรือวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีใด ?
วัดซีนทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะผลิตด้วยเทคโน โลยี่แบบ ใด ที่ได้รับอนุมัติจาก อย.ไทยสามารถใช้ได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น Sinovac, AstraZeneca ต่อไปถ้าอนุมัติ Moderna, Pizer , Sputnik V ,Sinopharm สามารถใช้ได้ทุกยี่ห้อ
 

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 7 โรค ผู้สูงอายุ และประชาชน LINK

คำแนะนำการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 7 โรค ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป โดยมีข้อควรระวัง ตามแต่ละกลุ่มโรค ดังนี้
  • สำหรับผู้ที่มีประวัติแพ้ยา ความดันโลหิตสูง 160 มม.ปรอท
  • ไม่ควรมีไข้ 37.5 องศา ขึ้นไป 
คำแนะนำสำหรับแต่ละกลุ่มโรค มีดังนี้
1. กลุ่มโรคมะเร็ง
ผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิดสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้
  • ผู้ป่วยรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือด ให้เว้นระยะการให้วัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 3 เดือน
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ให้วัคซีนห่างจากวันผ่าตัดอย่างน้อย 3 วัน
2. กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด
ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้
  • กรณีผู้ป่วยมีอาการหัวใจกำเริบเฉียบพลันที่อาการยังไม่คงที่ และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ให้รอจนกว่าอาการดีขึ้นและคงที่
  • กรณีผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง SEP> 160 mmHg ควรควบคุมความดันโลหิตให้ดีก่อนรับวัคซีน
  • หากรับประทานยาละลายลิ่มเลือดควรแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อพิจารณาเพิ่มความระมัดระวัง
3.กลุ่มโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (โรคปอดอุดกั้น โรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี)
ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรังสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้
ฉีดหลังอาการกำเริบ 2-4 สัปดาห์
 
4.กลุ่มโรคไตเรื้อรัง
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง รวมทั้งผู้ที่ได้รับการฟอกเลือด ล้างไตทางช่องท้อง หรือปลูกถ่ายไต สามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้
ในกรณีกินยากดภูมิกันขนาดสูง ให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลก่อน
 
5. กลุ่มโรคระบบประสาท (โรคหลอดเลือดแดง โรคลมชัก โรคภูมิคุ้มกันระบบประสาท)
ผู้ป่วยโรคระบบประสาท สามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้
  • ผู้ป่วยต้องมีอาการทางระบบประสาทคงที่ หรือไม่อยู่ในภาวะอันตรายต่อชีวิตอย่างน้อย 4 สัปดาห์
  • ในกรณีที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือยากดภูมิคุ้มกัน ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนการรับวัคซีน
6.กลุ่มโรคเบาหวานและโรคอ้วน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ และโรคอ้วน สามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขาดยาหรือควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ต้องฉีดอินซูลิน ให้บรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
 
7.กลุ่มผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ถ้าไม่มีข้อห้ามและข้อพึงระวัง สามารถรับวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าได้
 
8. ประชาชนทั่วไป
ถ้าไม่มีข้อห้ามและข้อพึงระวัง สามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้
 

คำแนะนำในผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยา LINK

คำแนะนำทั่วไป ผู้ป่วยโรคโลหิตวิทยารวมทั้งผู้ดูแลผู้ป่วยทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยสามารถรับชนิดใดก็ได้ที่มีในประเทศไทย

ถาม: ผู้ป่วยที่มีปัญหาเลือดออกง่าย เกล็ดเลือดต่ำหรือเกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ รับประทานยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด สามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่
ตอบ: ได้แนะนำให้รับการฉีดวัคซีน โดยใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็ก (25 หรือ 27) ที่กล้ามเนื้อต้นแขน หลังฉีดวัคซีนให้กดนานประมาณ 5 นาทีด้วยตนเอง จากนั้นอาจใช้น้ำแข็งหรือเจลประคบเย็นช่วยประคบหลังฉีดวัคซีนได้

ถาม: ผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดวอร์ฟาริน มีข้อแนะนำอย่างไรในการฉีดวัคซีน
ตอบ: รับวัคซีนได้แนะนำให้ตรวจ INR ภายใน 1 สัปดาห์ก่อนฉีดวัคซีน หาก INR < 4 สามารถรับการฉีดวัคซีนได้โดยไม่จำเป็นต้องหยุดหรือปรับขนาดยา หากไม่มีผล INR แต่ระดับ INR ก่อนหน้านี้อยู่ในระดับ 2-3 มาโดยตลอด สามารถรับการฉีดวัคซีนได้
 
ถาม: ผู้ป่วยมะเร็งทางโลหิตวิทยา ได้แก่โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอีโลมา (MM) และมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิวคีเมีย ควรรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่
ตอบ: ควร เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีภูมิต้านทานต่ำ หากติดเชื้อไวรัสจะทำให้มีโอกาสเกิดอาการรุนแรงได้
 
ถาม: ผู้ป่วยมะเร็งทางโลหิตวิทยา ควรได้รับวัคซีนโควิด-19 เมื่อใด
ตอบ: สามารถรับวัคซีนได้ตั้งแต่แรกวินิจฉัย ระหว่างรับการรักษา หรือเมื่อรักษาครบแล้ว
* ในระหว่างรับการรักษาให้ขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ผู้ดูแล โดยหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในช่วงที่มีเม็ด เลือดขาวต่ำรุนแรง

** ในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้า การสร้างภูมิคุ้มกันหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาจต่ำกว่าใน คนปกติ 
 
ถาม: ผู้ป่วยโรคไขกระดูกฝ่อ หรือ ไขกระดูกทำงานผิดปกติ(MDS หรือ MPN) ควรรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่
ตอบ: ควร เนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่ำ หากติดเชื้อไวรัสจะทำให้มีโอกาสเกิดอาการรุนแรงได้
 
ถาม: ผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยา ที่รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือภูมิคุ้นกันบำบัด CAR-T cell ควรรับวัคซีนโควิด-19 หรือไม่
ตอบ: ควร โดยรับวัคซีนหลังปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือภูมิคุ้มกันบำบัด CAR-T cell 3 เดือน เพื่อให้วัคซีนสามารถกระตุ้นภูมิต้านทานได้ดี
*ช่วงเวลาที่เหมาะสม ขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ผู้ดูแล
 
ถาม: ผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ควรรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่
ตอบ: ควร โดยขึ้นกับการอนุมัติให้ใช้วัคซีนตามกลุ่มอายุของผู้ป่วย
* วัคซีนโควิด-19 ทุกชนิดในประเทศไทย สามารถฉีดให้แก่ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 18 ปี ขึ้นกับชนิดของวัคซีนที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ได้
 
ถาม: ผู้ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยา ควรรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่
ตอบ: ควร เมื่อมีความพร้อมของวัคซีน เพื่อลดโอกาสติดเชื้อของผู้ดูแล ซึ่งอาจแพร่เชื้อให้แก่ผู้ป่วยได้

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด