ทนพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์ นายกสภาเทคนิคการแพทย์ กล่าวถึงกรณีชุดตรวจโควิดเบื้องต้น หรือชุดตรวจ ATK ที่องค์การอนามัยโลกรับรอง ว่า มาตรฐานในการจัดหาจุดตรวจ ATK นั้น ในต่างประเทศ ไม่ได้มองเรื่องของมาตรฐานองค์การอนามัยโลกเป็นเกณฑ์ เพราะการจะนำไปใช้ในประเทศนั้นๆ ต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานของประเทศของตนเอง ไม่มีประเทศไหนในโลกที่มายึดเกณฑ์ของประเทศอื่น อย่างของไทย ก็มีมาตรฐานอย. ซึ่งผ่านเกณฑ์ถึงจะนำเข้าได้ การตรวจสอบก็ไม่ได้แค่เอกสารแต่ยังมาตรฐานสอบกับแล็บของรร.แพทย์ด้วย เพื่อดูว่าตรงตามที่เอกสารหลักฐานของบริษัทอ้างอิงมาจริงหรือไม่ ในบรรดาชุดตรวจทั้งหมด ชุดที่ต้องการความแม่นยำมากที่สุด คือ ชุดตรวจเชื้อ HIV ไม่ใช่ชุดตรวจโควิด
ทนพ.สมชัย กล่าวว่า ชุดตรวจ ATK นั้น ได้มีการกำหนดไว้แล้ว ว่า ต้องมีความไว 90% ความไวจำเพาะ 98% ซึ่งหมายถึงเกิดความผิดพลาดหรือบวกลวง แค่ 2 เท่านั้น ถือว่าเป็นมาตรฐานแล้ว ไม่มีมาตรฐาน ATK ไหน แม่นยำ 100% และการที่ไม่ได้จำเพาะว่าต้องเป็นมาตรฐานองค์การอนามัยโลก ก็เพื่อการเปิดกว้างทางการค้า ในการซื้อหา ทำให้ปัจจุบัน มีชุดตรวจ ATK เข้า มาในไทย มากถึง 30 กว่ายี่ห้อ หากจำกัดแค่ ต้องมีการรับรองของ องค์การอนามัยโลก คงทำให้เหลือเพียงไม่กี่ยี่ห้อในท้องตลาด ไม่เกิดกการแข่งขันทางราคา อย่างงี้ก็ไม่ต้องมีขายกันแล้ว เดิมเคยมีการหารือกันถึงการควบคุมราคา ATK เพราะไม่อยากให้ราคาแพงมาก เนื่องจากสถานการณ์ตอนแรก ระบาดหนัก ราคาอยู่ที่ 200-300 บาท แต่เมื่อเวลานี้ กลับเริ่มมีราคาถูกลง เพราะมีราคายี่ห้อ โดยอาศัยเรื่องกลไกการตลาด
ทนพ.สมชัย กล่าวว่า มาตรฐานที่ระบุเรื่องการรับรอง องค์การอนามัยโลกของ ATK ก็เพื่อใช้ในการซื้อขายเพื่อบริจาคใช้ในประเทศห่างไกลทุรกันดาน และไม่ได้เป็นการการันตี ว่า ชุดตรวจนี้ดีที่สุดกว่าชุดอื่น การตรวจ ATK ใช้ในการตรวจคนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ 1 คน ต้องตรวจมากถึง 2-3 ครั้ง เริ่มจาก 0 วัน , วันที่ 5 และวันที่ 14 เพื่อความมั่นใจ ว่าไม่ติดเชื้อ เพราะต้องตรวจบ่อย ในอนาคตจะมีการเปิดประเทศ ATK ที่ใช้ตรวจสำหรับประชาชนมีความสำคัญ เพราะภาคอุตสาหกรรมจะต้องนำมาใช้เพื่อการ บับเบิลแอนด์ซิล หากมีราคาแพงก็คงไม่ต้องซื้อกัน ธุรกิจและเศรษฐกิจก็ไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้ ฉะนั้นคุณภาพและราคาต้องมีความเหมาะสม
Hfocus
24 สิงหาคม 2564