ประเด็นสำคัญของ ศบค.และราชกิจจาฯ 3 ประเด็น ได้แก่
1. ปรับปรุงพื้นที่จังหวัดตามสถานการณ์
2. การห้ามออกนอกเคหสถาน สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
3. การขยายเวลาบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค
ราชกิจจาฯ 3 ฉบับ
- ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 38) [ดูรายละเอียด]
- คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 22/2564 เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพิ่มเติม (ฉบับที่ 9) [ดูรายละเอียด]
- คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิ-19) ที่ ๒๑/๒๕๖๔ เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 [ดูรายละเอียด]
รายละเอียด
1. ปรับปรุงพื้นที่จังหวัดตามสถานการณ์
ศบค.ได้สรุปการปรับพื้นที่สถานการณ์ใหม่ ดังนี้
1.1 พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 6 จังหวัด
ตาก นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา
โดยในพื้นที่นี้ จะมีคำสั่งตามประกาศในราชกิจจาฯ อีก 2 ฉบับ คือ
- การห้ามออกนอกเคหสถาน คงไว้ ณ ช่วงเวลาเดิม คือ 5 ทุ่ม - ตี 3 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564
- การขยายการควบคุมโรค ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป
1.2 พื้นที่ควบคุมสูงสุด 39 จังหวัด
กาญจนบุรี ขอนแก่น จันทบุรี (ย้ายมาจาก 1.1) ชลบุรี ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา ตรัง ตราด นครปฐม นครนายก นครราชสีมา นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สระแก้ว สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี อ่างทอง อุดรธานี อุบลราชธานี
1.3 พื้นที่ควบคุม 23 จังหวัด
กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ชัยนาท ชัยภูมิ บุรีรัมย์ พะเยา แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ลำปาง ลำพูน เลย สิงห์บุรี สุโขทัย สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุตรดิตถ์ อุทัยธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ
1.4 พื้นที่เฝ้าระวังสูง 5 จังหวัด
นครพนม น่าน บึงกาฬ มุกดาหาร สกลนคร
1.5 พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว 4 จังหวัด
กรุงเทพมหานคร กระบี่ พังงา ภูเก็ต
(จังหวัดอื่นดำเนินการบางพื้นที่)