ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แคนาดาเปิดรายงานประสิทธิผลวัคซีนโควิด mRNA เมื่อใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3)

แคนาดาเปิดรายงานประสิทธิผลวัคซีนโควิด mRNA เมื่อใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3) Thumb HealthServ.net
แคนาดาเปิดรายงานประสิทธิผลวัคซีนโควิด mRNA เมื่อใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3) ThumbMobile HealthServ.net

ผลการศึกษาจากแคนาดาถึงประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ทั้งสองยี่ห้อเมื่อใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3) ต่อการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนเมื่อเทียบกับการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า

 
 
สำหรับข้อมูลจากการศึกษาในรัฐ Ontario ประเทศแคนาดา ที่เพิ่งลงใน MedRxiv Preprint server เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2564 มีการแสดงประสิทธิผลของวัคซีนเข็มกระตุ้น mRNA ในการป้องกันเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน


โดยจากการศึกษาผู้ป่วยโควิด-19 จากสายพันธุ์โอไมครอน จำนวน 3,442 ราย ผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าจำนวน 9,201 ราย และประชากรที่ไม่ได้มีการติดเชื้อในกลุ่มควบคุมจำนวน 471,546 ราย ระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน – 19 ธันวาคม 2564 นั้นพบว่า
 
  • ประสิทธิผลของการได้รับวัคซีนโควิด-19 สูตรหลักจำนวน 2 เข็ม (โดยวัคซีนสูตรหลักที่ได้รับต้องมีวัคซีน mRNA อย่างน้อย 1 เข็ม) ต่อการป้องกันการติดเชื้อโอไมครอนนั้นต่ำกว่าประสิทธิผลต่อการป้องกันการติดเชื้อเดลต้าอย่างมาก กล่าวคือ
  • ประสิทธิผลของการใช้วัคซีนสูตรหลักจำนวน 2 เข็มต่อการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า (จากกราฟ, ชุดข้อมูลสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีดำ) อยู่ในระดับที่สูงกว่า 80%
  • และมีการลดระดับลงของประสิทธิผลเพียงเล็กน้อยเมื่อเวลาผ่านไป 6 เดือน

อย่างไรก็ดีหลังจากที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น mRNA ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าจะถูกกระตุ้นให้กลับมาสูงเช่นเดิม คือที่ระดับ 93%
แคนาดาเปิดรายงานประสิทธิผลวัคซีนโควิด mRNA เมื่อใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3) HealthServ
 



ในทางกลับกัน การได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น mRNA เป็นวัคซีนเข็มที่ 3 ไปแล้วตั้งแต่ 7 วันขึ้นไป จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนให้ดีขึ้นกว่าเดิมเพียงเล็กน้อย (จากกราฟ, ชุดข้อมูลวงกลมสีเทา) กล่าวคือ ประสิทธิผลของวัคซีนเข็มกระตุ้นโมเดอร์น่า (ลูกศรสีแดง) อยู่ที่ 59%  และวัคซีนเข็มกระตุ้นไฟเซอร์ (ลูกศรสีน้ำเงิน) อยู่ที่ 34%


แหล่งที่มาของข้อมูล

ผลการศึกษาจากแคนาดา ที่ลงใน MedRxiv Preprint server (ออก ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2564) 
Buchan, S. A., Chung, H., Brown, K. A., et al. (2021). Effectiveness of COVID-19 vaccines against Omicron or Delta infection. medRxiv. doi:10.1101/2021.12.30.21268565.
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด