ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เตรียมยกเลิกโควิดจากผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน (UCEP) รัฐบาลรักษาตามสิทธิ เข้ารพ.เอกชนจ่ายเอง

เตรียมยกเลิกโควิดจากผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน (UCEP) รัฐบาลรักษาตามสิทธิ เข้ารพ.เอกชนจ่ายเอง Thumb HealthServ.net
เตรียมยกเลิกโควิดจากผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน (UCEP) รัฐบาลรักษาตามสิทธิ เข้ารพ.เอกชนจ่ายเอง ThumbMobile HealthServ.net

รมว.สธ.เผยเตรียมยกเลิกโควิดออกจากการรักษาตามนโยบายยูเซป หรือผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน เริ่ม 1 มี.ค.65 แต่ยังรักษาได้ตามสิทธิ เว้นหากเข้ารพ.เอกชน ต้องจ่ายเอง พร้อมปรับค่าตรวจ RT-PCR และค่าตรวจ ATK รวมทั้งปรับค่าใช้จ่ายการเข้ารับดูแลในฮอสพิเทล

 
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเตรียมดำเนินการโรคโควิด สู่โรคประจำถิ่น จนมีคำถามว่า ในเรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดต้องปรับเปลี่ยนหรือไม่ จากปัจจุบันเป็นโรคที่เข้าข่ายอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน หรือยูเซป (UCEP COVID-19)เป็นรูปแบบการรักษาตามสิทธิรักษาหรือไม่
 
 
เมื่อวันที่ 10 ก.พ.2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ ว่า  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ได้จัดทำรายละเอียดเข้ามาแล้ว คาดว่าจะลงนามในเร็วๆ นี้ และมีผลเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 มี.ค.2565 นี้ เป็นต้นไป โดยรายละเอียดเ มื่อโควิดปรับมาเป็นการให้บริการตามระบบปกติแล้วจะมีการปรับอัตราค่าตรวจ RT- PCR สำหรับการตรวจ 2 ยีนอัตรา 900 บาท ตรวจ 3 ยีน อัตราค่าตรวจ 1,100 บาท ปรับอัตราการจ่ายค่าตรวจ ATK 2 ชนิด อัตรา 250 บาท และ 350 บาท รวมถึงปรับค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้ารับการดูแลในฮอสพิเทล (hospital) เป็น 1,000 บาทต่อวัน
 
 
“การปรับจากระบบฉุกเฉินมาเป็นระบบปกตินั้น ไม่ได้เกิดลกระทบกับประชาชน รัฐยังให้การดูแลตามสิทธิรักษาของแต่ละคน ดังนั้น ค่าใช้จ่ายต่างๆ นี้รัฐเป็นผู้จ่ายให้ ยกเว้นว่าประชาชนต้องการรับบริการที่นอกเหนือจากนี้ จะเข้ารพ.เอกชนก็จะต้องจ่ายเอง” นายอนุทิน กล่าว
 
 
เมื่อถามว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อยังสูงขึ้น นายอนุทิน กล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยอาการรุนแรง และเสียชีวิตยังไม่เพิ่มขึ้น ถ้าเทียบอัตราส่วนกับปีที่แล้ว แต่การติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเด็กไปโรงเรียน สมาชิกในบ้านทำงาน ประชุมข้างนอก กินข้าวข้างนอก ในทางการแพทย์เชื้อโอมิครอนติดง่าย แต่ยังดีที่ไม่รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น  ทั้งนี้ เราก็ยังเข้มมาตรการและยังขอให้ใช้หลัก Covid Free Setting  และเร่งฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ ตอนนี้เราพร้อมวัคซีนมาก ประกอบกับขณะนี้ก็เริ่มฉีดในเด็กที่ไปโรงเรียน ซึ่งน่าจะใช้เวลาประมาณเดือนครึ่ง ก็น่าจะเข้าสู่ภาวะที่ควบคุมอาการเจ็บหนัก และเสียชีวิตได้ เพื่อให้พวกเราสามารถอยู่กับโรคได้ 

Hfocus

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด