กรอบการสำรวจ
ระหว่างวันที่ 5–31 มีนาคม 2565 มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 113,847 คน อายุเฉลี่ยระหว่าง 25 - 26 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง
ผลการสำรวจ
พบว่า มากกว่าร้อยละ 30 ของประชาชนคนไทยทั่วประเทศมีความตระหนักรู้ต่อการป้องกันโรคโควิด 19 ที่ส่งผลต่อการมีพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ตามลำดับ ดังนี้
- ไม่ได้แยกกินอาหารกับครอบครัวหรือเพื่อน ร้อยละ 36.1
- รู้สึกเบื่อหน่ายกับข้อห้ามการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทำกิจกรรม ร้อยละ 35.1
- รู้สึกกลัวต่อการใช้ ATK ตรวจหาเชื้อโควิด 19 ร้อยละ 30.5
- ไม่รู้ว่าผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันสูง เป็นกลุ่มเสี่ยงหากติดโควิดจะเกิดความรุนแรงถึงชีวิต ร้อยละ 22.6
- ไม่ได้ทำความสะอาดพื้นผิวที่ถูกสัมผัสร่วมกัน เช่น ลูกบิด ราวบันได้ ร้อยละ 12.4
- ไม่รู้สึกว่าการสวมหน้ากากอนามัยและทับด้วยหน้ากากผ้าอีกชั้นเป็นเรื่องสำคัญ ร้อยละ 12
- ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านได้ ร้อยละ 5.3
- ไม่รู้ว่าโควิดเป็นโรคที่สามารถแพร่กระจายง่ายและติดเชื้อกันได้อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 3.9
- ไม่พร้อมที่จะตรวจ ATK แม้รู้ตัวว่ามีความเสี่ยง ร้อยละ 2.3
- ไม่ได้ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์หลังสัมผัสสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรค ร้อยละ 1.6
ดังนั้น ขอความร่วมมือจากประชาชนทุกคนร่วมกันรณรงค์สร้างพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention : UP) เพื่อเป็นเกราะป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในขณะนี้ เมื่อสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยง ควรตรวจด้วยชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 ด้วยตนเอง (ATK) หรือไปรับบริการตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน พร้อมกับย้ำเตือนตัวเองและทุกคนในครอบครัวทุกกลุ่มวัย ปฏิบัติตามคำแนะนำตามมาตรการป้องกันการติดโรคโควิด 19 ขั้นสูงสุดแบบครอบจักรวาลอย่างเคร่งครัด
UP D-M-H-T-T คือ เว้นระยะห่าง-สวมหน้ากากทุกครั้ง-ล้างมือบ่อยๆ-ตรวจเร็วควบคุมไว-ไปไหนสแกนไทยชนะ
แหล่งข้อมูล : กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข