วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า คิดค้นโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในกว่า 125 ประเทศ และจากการขึ้นทะเบียนสำหรับการใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลกในครั้งนี้จะช่วยเร่งให้มีการเข้าถึงวัคซีนใน 144 ประเทศผ่านกลไกการจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนของโครงการโคแวกซ์ (COVAX)
ภายใต้ข้อสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วง (sub-license agreement) กับแอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ถูกผลิตและส่งมอบโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย โดยใช้ชื่อวัคซีนว่า COVISHIELD
เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า
แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ และมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมยาต่างๆ จากแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์ astrazeneca.co และช่องทางทวิตเตอร์ @AstraZeneca
*ค่าพิสัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบ 3 เข็ม (รวมวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า) มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 น้อยกว่าประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีน ในช่วงกว้าง 84.8% - 89.2% ซึ่งหมายความว่าในจำนวนผู้ป่วย 100 คน ที่ไม่ได้รับวัคซีน และมีการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิต จะพบผู้ป่วยน้อยกว่า 16 คน ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม และวัคซีนเข็มกระตุ้น
อ้างอิง
1. Solante R, Alvarez-Moreno C, Burhan E et al. Expert Review of Global Real-World Data on COVID-19 Vaccine Booster Effectiveness & Safety during the Omicron-dominant phase of the pandemic. 6 September 2022, REPRINT (Version 1) available at Research Square. https://www.researchsquare.com/article/rs-2015733/v1. Accessed September 2022.
2. Intawong K, et al. Heterologous third and fourth dose vaccine to reduce severity and mortality in COVID-19 patients during delta and omicron predominance: A cohort study in Chiang Mai, Thailand. Research Square 2022. Preprint published online, not peer reviewed, https://www.researchsquare.com/article/rs-1973470/v1. Accessed August 2022.
3. Sai V Vemula & Suresh K Mittal (2010). Production of adenovirus vectors and their use as a delivery system for influenza vaccines. Expert Opinion on Biological Therapy, 10:10, 1469-1487, DOI: 10.1517/14712598.2010.519332.
4. Data on file.