วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563
สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19
- ผู้ป่วยรายใหม่ 28 ราย
- ผู้ป่วยยืนยันสะสม 4,237 ราย
- หายป่วยแล้ว 3,940 ราย
- เสียชีวิตสะสม 60 ราย
ประวัติเสี่ยง
ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ จาก
- สหราชอาณาจักร 3 ราย
- ฝรั่งเศส 2 ราย , ?? ปากีสถาน 1 ราย
- อินโดนีเซีย 1 ราย
- อาเซอร์ไบจาน 1 ราย
- เยอรมนี 1 ราย
- เมียนมา 6 ราย
- สวีเดน 1 ราย
- ยูเครน 1 ราย
- โปแลนด์ 2 ราย
- บาห์เรน 7 ราย
- จอร์แดน 1 ราย
ส่วนผู้ติดเชื้อในประเทศ เป็นคนไทย 1 ราย (บุคลากรทางการแพทย์)
สรุปการใช้งานแพลตฟอร์ม "ไทยชนะ"
ยอดสะสม ตั้งแต่เริ่มโครงการ
- ผู้ใช้งาน 49,399,782 คน
- ผ่านแพลตฟอร์มไทยชนะ : 48,372,002 คน
- ผ่านแอปพลิเคชันไทยชนะ : 1,027,780 คน
- กิจการ/ร้านค้า ลงทะเบียน 298,222 แห่ง
- ดาวน์โหลดใช้แอปพลิเคชัน "ไทยชนะ" 1,014,381 คน
ร้อยละการเช็คอิน
- ผ่านแพลตฟอร์มไทยชนะ 92.3%
- ผ่านแอปพลิเคชันไทยชนะ 7.7%
เปรูระงับการทดลองวัคซีน บ. จีน Sinopharm ชั่วคราว
สนข.South China Morning Post รายงานว่า ทางการเปรูระงับการทดลองวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ของบริษัท Sinopharm ของจีนชั่วคราวภายหลังตรวจพบว่าเกิดผลข้างเคียงรุนแรงหลายอาการกับอาสาสมัครรายหนึ่ง รวมถึงอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดย สธ.เปรูอยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าเป็นผลข้างเคียงจากวัคซีนดังกล่าวหรือสาเหตุอื่น ๆการระงับการทดลองวัคซีน มีขึ้นขณะบริษัท Sinopharm กำลังทดลองฉีดวัคซีนในเปรูกับอาสาสมัคร 12,000 ราย โดยในขณะนี้เปรูมีผู้ติดเชื้อ COVID-19 กว่า 980,000 รายและเสียชีวิตกว่า 36,000 ราย
รองผู้ว่ากทม.ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการ 4 ประเภท
รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการ 4 ประเภท ซึ่งเคยพบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งประกอบด้วยสนามมวยผับ บาร์และคาราโอเกะระหว่างวันที่ 9-15 ธันวาคม 2563 เพื่อสร้างความเข้าใจและขอความร่วมมือเจ้าของสถานประกอบการ ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด
ตรวจโควิดเข้ม แรงงานชาวเมียนมา 100,000 คน เข้ามาไทยไม่ได้
สนข.Eleven Myanmar ว่า แรงงานชาวเมียนมาประมาณ 100,000 คน ที่ทำงานในไทยอย่างถูกกฎหมายตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างไทย-เมียนมา ประสบปัญหาไม่สามารถเดินทางกลับไทยได้เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดย Myo Myint Naing ทูตแรงงาน สอท.เมียนมา/กรุงเทพฯ ชี้แจงว่าไทยไม่ได้ห้ามแรงงานเมียนมากลับเข้าไทย แต่ปัญหาเกิดจากขั้นตอนที่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายสูง เช่น ต้องมีใบรับรองการตรวจโรค COVID-19 ภายใน 72 ชั่วโมง แสดงผลเป็นลบ ต้องตรวจสอบประวัติการเดินทาง และต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วัน